ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"ศรีสุวรรณ" ตั้งคำถาม ทบ.ซื้อ "สไตรเกอร์" แพงกว่าปกติ

การเมือง
15 พ.ค. 62
09:56
2,032
Logo Thai PBS
"ศรีสุวรรณ" ตั้งคำถาม ทบ.ซื้อ "สไตรเกอร์" แพงกว่าปกติ
เลขาธิการ สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ออกแถลงการณ์ ครั้งที่ 2 ตั้งคำถามถึงกรณีที่ ทบ.อนุมัติจัดซื้อรถเกราะล้อยาง M1126 STRYKER งบประมาณกว่า 2,960 ล้านบาท ซึ่งราคาอาจแพงกว่าปกติ

วันนี้ (15 พ.ค.62) นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ออกแถลงการณ์ ครั้งที่ 2 โดยตั้งคำถามถึงกรณีที่ ทบ.อนุมัติรถเกราะล้อยาง M1126 STRYKER จากกองทัพสหรัฐอเมริกาจำนวน 37 คัน (แถม 23 คัน) มูลค่าประมาณคันละ 80 ล้านบาท โดยใช้งบทั้งสิ้นประมาณ 2,960 ล้านบาท ซึ่งราคาอาจแพงกว่าปกติ โดยมีเนื้อหาดังนี้

แถลงการณ์สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ครั้งที่ 2
เรื่อง สงสัย ทบ.อนุมัติซื้อ "สไตรเกอร์" ทำไมแพงกว่าปกติ

ตามที่ปรากฎมีรายงานว่า กองทัพบกได้อนุมัติจัดหารถเกราะล้อยาง M1126 STRYKER จากอัตราสำรองคลังของกองทัพสหรัฐอเมริกาจำนวน 37 คัน (แถม 23 คัน) มูลค่าประมาณคันละ 80 ล้านบาท โดยใช้งบทั้งสิ้นประมาณ 2,960 ล้านบาท เพื่อบรรจุในกองพลทหารราบที่ 11 จังหวัดฉะเชิงเทรา ตามแผนการเสริมสร้างศักยภาพของหน่วยทหารราบ พร้อมยังจะนำเข้าประจำการในหน่วยทหารหน่วยอื่นอีกด้วย ความดังทราบแล้วนั้น

สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้ตรวจสอบราคาที่มีการโฆษณาซื้อขายกันผ่านเวปไซต์ที่เป็นแหล่งข้อมูลด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีการซื้อขายกันโดยทั่วไป พบว่าราคาของรถเกราะล้อยาง M1126 STRYKER ถูกกำหนดราคาไว้ที่ 1,411,000 เหรียญสหรัฐหรือประมาณ 47 ล้านบาทต่อคันเท่านั้น และรถเกราะล้อยางรุ่นดังกล่าวไม่ได้เป็นรถรุ่นใหม่แต่อย่างใด มีการผลิตและนำมาใช้ประจำการมาแล้วเกือบ 20 ปี และการที่กองทับพกไทยอนุมัติซื้อมานั้นเป็นรถที่อยู่ในคลังสำรองของกองทัพสหรัฐ หมายถึงเป็นรถมือสองใช่หรือไม่ ? แต่อาจจะนำไปพ่นสีให้ดูใหม่ขึ้น เปลี่ยนอะไหล่เล็กๆ น้อยๆ เพื่อทำให้ดูดีมีราคาขึ้นมาใช่หรือไม่ ? (Refurbishment)

ดังนั้น จึงเป็นที่น่าสงสัยว่า ทำไมราคารถดังกล่าวที่กองทัพบกอนุมัติซื้อหามา จึงมีราคาที่แพงกว่าปกติทั่วไป และต่อให้ราคาจะขึ้นมาตามภาวะตลาดก็ไม่น่าจะแพงถึงขนาดนี้ คำถามก็คือ กองทัพบกไทยจัดซื้อ เกราะล้อยาง M1126 STRYKER มาในราคาประมาณ 80 ล้านบาทต่อคันในขณะที่ราคาขายรถมือใหม่อยู่ที่ 47 ล้านบาทต่อคัน หากซื้อมา 37 คัน จะเกิดส่วนต่างประมาณ 1,220 ล้านบาทนั้นจริงหรือไม่ ในฐานะประชาชนผู้เสียภาษีทั่วไปคงต้องการที่จะได้รับคำตอบหรือคำชี้แจงจากกองทัพบกในเรื่องดังกล่าว หากกองทัพบกยังยึดมั่นในคำว่า “มีธรรมาภิบาล” ที่แท้จริง และหากเรื่องดังกล่าวไม่มีคำตอบที่ชัดแจ้งสมาคมฯจะนำความไปร้องให้ สตง. และ ป.ป.ช. ตรวจสอบต่อไป

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง