โสดมากจับจ่ายมาก
สถิติกำลังบ่งชี้ว่า คนไทยเป็นโสดกันมากขึ้น และเป็นประโยชน์กับการนำมาวิเคราะห์ เพื่อหาแนวทางออกนโยบายทั้งสังคมและเศรษฐกิจให้ถูกที่ถูกจุด
จำนวนการสมรสและหย่าร้าง
สถิติที่ว่า มาจากข้อมูลการจดทะเบียนสมรสและจดทะเบียนหย่าของกรมการปกครอง ที่ทางศูนย์ EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ นำมาวิเคราะห์ พบว่า จำนวนการจดทะเบียนสมรสของคนไทยย้อนไปสิบกว่าปี ปี 2550 ได้ปรับลดลงจาก 3.13 แสน น้อยลงร้อยละ 5.1 มาอยู่ที่ 2.98 แสนในปี 2560
สวนทางกับการจดทะเบียนหย่าที่เพิ่มขึ้นจาก 1 แสน มาเป็นแสนสองหมื่น หรือเพิ่มร้อยละ 19.7 ในช่วงเวลาเดียวกัน
อัตราการเปลี่ยนแปลงของการสมรสและหย่าร้าง
การใช้จ่ายกับสินทรัพย์ไม่เหมือนกัน คนโสดมีรายจ่ายเพื่อการบริโภคมากกว่าคนมีครอบครัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ 11
การเป็นเจ้าของบ้านและรถ
หนี้พวกนี้คือบ้านและรถ คนมีครอบครัวก่อหนี้เพื่อซื้อสินทรัพย์พวกนี้ แต่สำหรับคนโสด เป็นเจ้าของบ้านและรถสัดส่วนน้อยกว่า ถ้าเทียบกับคนอายุเท่ากัน อย่างช่วงอายุ 31-35 ปี มีคนโสดแค่ร้อยละ 18 ที่มีที่อยู่ของตัวเอง ส่วนคนมีครอบครัวเป็นเจ้าของที่อยู่ถึงร้อยละ 51
แต่เมื่อแก่ตัวไปก็จะเป็นเจ้าของบ้านและรถเพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่ม อย่างไรก็ตามคนมีครอบครัวภาระบริโภคและหนี้จะมากกว่าคนโสด
รายจ่ายของคนโสด
หากนึกเปรียบเทียบตาม รายจ่ายเหล่านี้ต่อหัวมีมากน้อยอย่างไร
- คนโสดกินอาหารนอกบ้านครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายอาหารทั้งหมด ส่วนคนมีครอบครัวค่าใช้จ่ายตรงนี้ เป็น 1 ใน 3
- คนโสดเดินทางบ่อย เสียค่าน้ำมัน ค่าโดยสารรถเยอะกว่า
- คนโสด เที่ยวทั้งในทั้งต่างประเทศมากกว่าคนโสดใช้จ่ายด้านบันเทิง ดูหนังฟังเพลง มากกว่า
- แต่รายจ่ายด้านสุขภาพเป็นหมวดเดียวที่คนมีครอบครัวจ่ายเรื่องนี้มากกว่าทุกช่วงอายุ
ถ้าแยกย่อยไปกว่านั้น คนโสดมีแนวโน้มใช้เงินกับความสวยความงามมากกว่า เพราะออกงานบ่อย ซื้อเครื่องสำอาง ซื้อเสื้อผ้าบ่อยกว่า เข้าสปา เข้าฟิตเนสมากกว่า บัตรเครดิตจะมีหลายธนาคาร รวมถึงเงินกู้ส่วนบุคคลที่มีโอกาสใช้บริการ เพราะตัดสินใจเอง ไม่ต้องรอคู่สมรสและ ไม่ต้องห่วงค่าเลี้ยงดูลูก
หากภาครัฐมีฐานข้อมูลในลักษณะนี้ ว่าคนไทยมีแนวโน้มโสดมากขึ้น และพฤติกรรมการจับจ่ายมากตาม การอัดฉีดเงินเข้าระบบ หรือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในบางช่วงเวลา อาจเจาะจงรองรับบุคคลกลุ่มนี้ และในทางกลับกัน เชิงสังคมต้องทำมาตรการรองรับอนาคต คือสูงวัยไม่มีคนดูแล ต้องวางแนวทางระยะยาวป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา ส่วนกลุ่มคนมีครอบครัว ข้อมูลนี้ ชี้ให้เห็นว่า ต้องกระตุ้นการซื้อที่อยู่อาศัย ค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาล ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ เป็นหลัก
จากที่รัฐบาลเคยใช้เกณฑ์รายได้ เกณฑ์พื้นที่ คนเมือง คนต่างจังหวัด อาจต้องเพิ่มข้อมูลว่า เป็นโสด หรือไม่โสดมากน้อยแค่ไหน เพื่อให้มาตรการด้านเศรษฐกิจที่ออกมา สอดรับกับความต้องการของคนในสังคมที่กำลังมีโครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลงไป เท่าที่สำรวจเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ยังไม่มีพรรคไหนเสนอนโยบายเพื่อคนโสดกันเลย