ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

กรีนพีช จี้คำตอบ "ขยะ" ในท้องวาฬหัวทุย

Logo Thai PBS
กรีนพีช จี้คำตอบ "ขยะ" ในท้องวาฬหัวทุย
กรีนพีซ ออกแถลงการณ์กรณีพบขยะพลาสติกในกระเพาะอาหารของวาฬหัวทุย ตายกลางทะเลแถบเกาะลันตา จ.กระบี่ ชี้ถึงไม่ใช่สาเหตุตายโดยตรง แต่สะท้อนวิกฤตขยะทะเล สอดคล้องกับรายงานของทช.ที่เจอสัตว์ทะเลหายากเกยตื้นตายจากขยะร้อยละ 20-40

จากกรณีที่วาฬหัวทุย ตัวผู้วัยรุ่น ขนาดลำตัวยาว 11.33 เมตร ลอยตายอยู่กลางทะเลระหว่างเกาะหม้อกับเกาะห้า จ.กระบี่ เมื่อวันที่ 2 ก.คที่ผ่านมา โดยที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ระบุสาเหตุการตายว่าเกิดจากการป่วยตามธรรมชาติจากระบบหายใจล้มเหลวร่วมกับการติดเชื้อทั่วร่างกาย ภายในกระเพาะอาหารพบขยะเป็นขวดพลาสติก 3 ใบและถ้วยพลาสติก 1 ใบ

วันนี้ ( 5 ก.ค.2562) น.ส.พิชามญช์ุ รักรอด หัวหน้าโครงการรณรงค์ยุติมลพิษพลาสติก กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้  กล่าวว่า ถึงแม้ว่าขยะพลาสติกจะไม่ใช่สาเหตุการตายของวาฬหัวทุยในครั้งนี้ แต่หากยังปล่อยให้มีขยะพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง เพิ่มปริมาณมากขึ้นในสิ่งแวดล้อมทางทะเล มลพิษพลาสติกจะยังคงเป็นหนึ่งในภัยคุกคามของความอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตและสัตว์ทะเลหายากอยู่ต่อไป

รายงานสถานภาพสัตว์ทะเลหายาก พ.ศ.2560 ระบุว่า จากการช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายากกลุ่มโลมาและวาฬที่เกยตื้นระหว่างปี พ.ศ.2549-2559 รวมระยะเวลา 11 ปี โลมาและวาฬส่วนใหญ่เสียชีวิตมาก่อนแล้ว ความสำเร็จในการช่วยเหลือโลมาและวาฬยังมีค่อนข้างต่ำเนื่องจากจากโลมาและวาฬที่เกยตื้นส่วนใหญ่มีอาการป่วยที่ค่อนข้างรุนแรง

รายงานยังระบุอีกว่า ขยะเป็นสาเหตุการเกยตื้นซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ค่าเฉลี่ยของเต่าทะเลและโลมาท่ีกลืนขยะและเข้าไปสะสมอยู่ในระบบทางเดินอาหารมีร้อยละ 2-3 แต่เมื่อรวมการเกยตื้นที่มีขยะทะเลเกี่ยวพันภายนอก โดยเฉพาะขยะจำพวกอวน พบมากในเต่าทะเล สัดส่วนการเกยตื้นจากสาเหตุขยะจะสูงถึงร้อยละ 20-40

ข้อมูลปริมาณขยะทะเลในประเทศไทยประจำปี 2561 ของ ทช.ระบุถุงพลาสติก กล่องโฟม และบรรจุภัณฑ์พลาสติกคือขยะทะเล 3 อันดับแรก พบมากที่สุด และมีจำนวนรวมกันมากกว่าหนึ่งแสนชิ้น ขยะพลาสติกในทะเล สะท้อนวิกฤตแห่งความสะดวกสบายของมนุษย์ คือมลพิษพลาสติกที่เป็นภัยคุกคามหลักของระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล  

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง ทช.สรุปขยะไม่ใช่ต้นเหตุตาย "วาฬหัวทุย" คาดป่วย-รอยฉลามกัด

หนุนเก็บภาษีถุงพลาสติก


น.ส.พิชามญชุ์ กล่าวว่า  หากต้องรับมือวิกฤตมลพิษพลาสติก รัฐบาลจะต้องดำเนินนโยบาย มาตรการและแผนงานโดยเฉพาะการยกเลิกพลาสติกใช้ครั้งเดียว 7 ชนิด ให้เป็นรูปธรรมมากกว่าที่เป็นอยู่ เช่น ออกประกาศเก็บค่าธรรมเนียมถุงพลาสติกและบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทั่วประเทศโดยไม่เลือกปฏิบัติ เพื่อตั้งกองทุนที่ทำงานเป็นอิสระเพื่อฟื้นฟูทะเลไทย

รวมทั้งเน้นการใช้งบประมาณที่มาจากภาษีของประชาชน เพื่อเปิดกว้างให้กับกระบวนการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากสาธารณชน แทนการรณรงค์สร้างจิตสำนึกอย่างฉาบฉวย ขณะเดียวกัน บริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำหน่ายเร็ว ต้องมีนโยบายและคำมั่นที่ชัดเจนในการลงมือปฏิบัติเพื่อยกเลิกพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

สำหรับวาฬหัวทุย (Spermwhale) เป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลไทย (Cetaceans of Thailand) ที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ที่พบในทะเลเขตน้ำลึกบริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต สตูล  ขณะที่การศึกษาสถานภาพและการเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากรโลมาและวาฬในธรรมชาติยังจำกัดเฉพาะในกลุ่มประชากรจำถิ่นใกล้ฝั่ง

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

สูญเสีย "วาฬหัวทุย" สัตว์คุ้มครองเกยตื้นตายอีก 1 ตัวถูกตัดกราม

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง