ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

9 ปี เส้นทาง “แก่งกระจาน” สู่มรดกโลกทางธรรมชาติแห่งใหม่

สิ่งแวดล้อม
7 ก.ค. 62
20:20
1,939
Logo Thai PBS
9 ปี เส้นทาง “แก่งกระจาน” สู่มรดกโลกทางธรรมชาติแห่งใหม่
ไทยพีบีเอสออนไลน์ รวบรวมเส้นทางการขึ้นทะเบียนมรดกโลก "กลุ่มป่าแก่งกระจาน" ลุ้นเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ แห่งที่ 3 ของไทย ปี 2563

กลุ่มป่าแก่งกระจาน ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จ.ราชบุรี เพชรบุรี และ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ครอบคลุมอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน และเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าแม่น้ำภาชี รวมพื้นที่ 2,938,909.84 ไร่

จุดเริ่มต้น การเสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลก ของคณะกรรมการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก มีมติรับทราบเรื่องการนำเสนอพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็น มรดกโลก โดยกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชพิจารณาจัดทำเอกสาร การนำเสนอพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก

 

เหตุผลในการเสนอกลุ่มป่าแก่งกระจานได้นำเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็น มรดกโลกภายใต้เกณฑ์ข้อ 10 ซึ่งระบุไว้ใน Operational Guidelines for World Heritage (2005) ด้วยเหตุผล ที่ว่า กลุ่มป่าแก่งกระจานประกอบด้วยถิ่นที่อาศัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการอนุรักษ์ในถิ่นของความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงพบชนิดพันธ์ุพืชและพันธุ์สัตว์ที่มีคุณค่ายิ่งด้านการอนุรักษ์และวิทยาศาสตร์

ภาพ : Kaeng Krachan National Park

ภาพ : Kaeng Krachan National Park

ภาพ : Kaeng Krachan National Park

สัตว์ที่หายาก เช่น จระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทย สมเสร็จ เสือโคร่ง ช้าง กระทิงรวมทั้งพื้นที่สำคัญเพื่อการอนุรักษ์นก มากกว่า 490 ชนิด ป่าผืนนี้ยังเป็นแหล่งต้นน้ำของพื้นที่ชุ่มน้ำเขาสามร้อยยอด และพื้นท่ีเกษตรกรรมใน จ.ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

การประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 2/2553 เห็นชอบการนำเสนอพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน เพื่อบรรจุไว้ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการ เสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.)

โดยเมื่อวันที่ 4 ม.ค.2554 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการเสนอพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน ต่อศูนย์มรดกโลก ณ กรุงปารีส ฝรั่งเศส เพื่อบรรจุในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น

ต่อมา พ.ศ.2556 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 35 ณ องค์การยูเนสโก กรุงปารีส ฝรั่งเศส มีมติเห็นชอบให้บรรจุพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน ในชื่อ Kaeng Krachan Forest Complex (KKFC) ในบัญชรีายชื่อเบื้องต้น ตามที่ประเทศไทยเสนอ

ภาพ : Kaeng Krachan National Park

ภาพ : Kaeng Krachan National Park

ภาพ : Kaeng Krachan National Park

 

และเมื่อวันที่ 19 ธ.ค.2556 คณะกรรมการของกรมอุทยานฯได้ร่วมกันประชุมแก้ไขเอกสารแนวทางการอนุรักษ์ตามอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เพื่อส่งให้ทางศูนย์มรดกโลก ณ กรุงปารีส โดยหากไม่มีปัญหาประการจะได้รับการตรวจสอบและขึ้นทะเบียนในปี พ.ศ.2558

ปี 2559 คณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 40 ที่ กรุงอิสตันบลู ประเทศตุรกี ไทยขอเลื่อนวาระกลุ่มป่าแก่งกระจาน เข้าพิจารณาขึ้นทะเบียนมรดกโลก เพื่อรอความชัดเจนไทยการปักปันเขตแดนกับเมียนมา

ส่วนกลุ่มป่าแก่งกระจาน ที่ไทยเสนอเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งที่ 3 คาดว่า จะมีการพิจารณาใหม่ในปี 2560 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 41 และมีไอยูซีเอ็นเป็นหน่วยงานติดตาม

5 ก.ค.2562 ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโก ครั้งที่ 43 ณ กรุงบากู สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน ยังไม่สามารถพิจารณากลุ่มป่าแก่งกระจานเข้าสู่ที่ประชุมคณะเป็นมรดกโลก จนคณะทำงาน 6 ชาติจาก 21 ชาติสมาชิกต้องไปหาข้อสรุปกลับมาพิจารณาว่าจะขึ้น หรือไม่ขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางธรรมชาติ

7 ก.ค.2562  ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโก ครั้งที่ 43 ณ ยังไม่รับรองขึ้นทะเบียนกลุ่มป่าแก่งกระจานของไทยเป็นมรดกโลกปีนี้ และให้กลับไปทำเอกสารเพิ่มเติมและส่งกลับมาพิจารณาใหม่ปี 2563 ปมปัญหากลุ่มชาติพันธุ์

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ด่วน!“ยูเนสโก” เลื่อนรับรองแก่งกระจานมรดกโลกปี 63

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง