ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รำลึก 50 ปี "นีล อาร์มสตรอง" มนุษย์คนแรกเหยียบดวงจันทร์

Logo Thai PBS
 รำลึก 50 ปี "นีล อาร์มสตรอง" มนุษย์คนแรกเหยียบดวงจันทร์
Google ทำคำค้นเพื่อรำลึกวันครบรอบ 50 ปีของการเหยียบดวงจันทร์ โดยทำคลิปความยาว 4.37 นาที พร้อมกับข้อความภาษาไทย อธิบายถึงภารกิจที่ยานอะพอลโล 11 ของสหรัฐอเมริกา ที่นำนีล อาร์มสตรอง และบัซ อัลดริน เหยียบดวงจันทร์ครั้งแรกในประวัติ ศาสตร์มนุษยชาติ

วันนี้ (20 ก.ค.2562) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า Google ได้เปลี่ยนรูปภาพหน้าโฮมเพจประเทศไทย ทำคำค้นเพื่อรำลึกวันครบรอบ 50 ปีของการเหยียบดวงจันทร์ โดยทำคลิปความยาว 4.37 นาที เป็นภาพจรวดที่ถูกปล่อยไปเป็นภาพการ์ตูนสีสันสวยงาม เคลื่อนไหว พร้อมกับข้อความภาษาไทย

อธิบายถึงภารกิจที่ยานอะพอลโล 11 ของสหรัฐอเมริกา นำนีล อาร์มสตรอง และบัซ อัลดริน ขึ้นไปเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์  นี่เป็นคำบรรยายที่ทาง Google จัดทำขึ้นในโอกาสรำลึก 50 ปี 

เริ่มติดเครื่องยนต์ ...6,5,4,3,2,1,0 ...เครื่องยนต์ทุกเครื่องทำงานแล้ว ปล่อยยานได้! เราปล่อยยานแล้ว โดยเป็นภาพจรวดค่อยๆทยานขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ

ภาพ :Google

ภาพ :Google

ภาพ :Google

สวัสดีครับผมชื่อไมค์ คอลลินส์ เป็นนักบินในยานอะพอลโล 11

เมื่อ 50 ปีที่แล้ว ผมเข้าร่วมการเดินทางทีน่าตื่นเต้นซึ่งนำนีล อาร์มสตรอง และบัซ อัลดริน ขึ้นไปเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ในขณะที่ผมอยู่บนยานบังคับการในวงโคจรสูงเหนือขึ้นไป 96.5 กิโลเมตร ซึ่งเป็นยานที่พาพวกเราทุกคนกลับบ้านเมื่อเสร็จภารกิจ

หลังจากที่ทานมื้อเช้ากันอย่างอิ่มหนำแล้ว ยานอวกาศของเราก็ทะยานขึ้นในเช้าวันที่ 16 ก.ค.1969
นีล บัซ และผมต่างก็รู้สึกถึงภาระที่เราต้องแบกรับไว้

ภาพ :Google

ภาพ :Google

ภาพ :Google

การนำพามนุษยชาติไปเหยียบดวงจันทร์ ต้องใช้คนราว 400,000 คนไม่ว่าจะเป็นวิศวกร นักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงช่างตัดเย็บชุดอวกาศ

เราเคยคิดว่าคอมพิวเตอร์ในยาน มีความซับซ้อนมากๆ แต่ความจริงแล้วมันมีความสามารถในการคำนวณน้อยกว่าอุปกรณ์ ที่เราพกติดตัวกันทุกวันนี้เสียอีก

เราต้องอยู่กลางแดดตลอดเวลา ที่เดินทางระหว่างโลกกับดวงจันทร์ จึงต้องควบคุมอุณหภูมิยานด้านกลยุทธ์แบบ “ไก่ย่าง” เป็นการหมุนไปเรื่อยๆเหมือนกับไก่เสียบไม้ย่างนั่นเอง

ครั้งแรกที่เราเห็นในระยะใกล้ ดวงจันทร์สวยงามน่าทึ่งมาก และมีขนาดมหึมาทีเดียว

ดวงอาทิตย์เคลื่อนมาอยู่ด้านหลังดวงจันทร์ ทอแสงสีทองเป็นรัศมีไล่ระดับ เรามองเห็นวิวนี้ได้เต็มตาจากหน้าต่างของยาน

การเห็นวิวดวงจันทร์จากระยะใกล้ในอวกาศก็ว่าน่าประทับใจแล้ว แต่เทียบไม่ได้เลยกับการเห็นโลกใบจิ๋ว
ภาพ :Google

ภาพ :Google

ภาพ :Google

 

โลกเป็นวิวที่เด่นที่สุดเลย น่ามหัศจรรย์จริงๆหลังการลดระดับอย่างทุกลักทุเล ซึ่งใช้เชื้อเพลิงไปเกือบหมด นีล อาร์มสตรองและบัซ อัลดริน ก็ลงจอดบนดวงจันทร์ในวันที่ 20 ก.ค.1969 (พ.ศ.2512) 

ถึงศูนย์บัญชาการฮูสตัน เรียกจากฐานทรานควิลิตี ยานอีเกิลลงจอดแล้ว นี่คือก้าวเล็กๆของมนุษย์(คนหนึ่ง) แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ 

นีล และบัช ปักธงชาติอเมริกา และตั้งแผ่นโลหะที่สลักว่า “มนุษย์จากดาวเคราะห์โลกได้ย่างเท้าเหยียบบนดวงจันทร์ครั้งแรก ที่นี่ในเดือนก.ค.1969 เรามาโดยสันติเพื่อมวลมนุษยชาติ”

ผมอยู่ด้านหลังของดวงจันทร์คนเดียว ถึงจะอยู่คนเดียวแต่ไม่ได้รู้สึกโดดเดียว ถ้าลองนับดูนะ มีคน 3 พันล้านกับอีก 2 คนอยู่ด้านหนึ่ง และผมอยู่อีกด้านหนึ่ง ผมรู้สึกสบายใจทีเดียวที่ได้อยู่ตรงนั้น สบายใจนั่งจิบกาแฟร้อนเลยแหละ

เราเดินทางกลับถึงโลกวันที่ 24 ก.ค.1969 โดยลงจอดในมหาสมุทรแปซิฟิก เราได้รับเชิญให้เดินทางไปทั่วโลก และในทุกที่ที่ไป ผมรู้สึกทึ่งที่ใครๆต่างพูดว่า

“เราทำได้แล้ว เราหมายถึงคุณและฉัน ทุกคนที่อยู่บนโลกอันสวยงามใบนี้ เราได้ไปเหยียบดวงจันทร์"

สดร.จัดรำลึกมนุษย์เหยียบดวงจันทร์  

โดยวันนี้ เวลา 13.30-16.00 น. สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) เตรียมจัดกิจกรรมเชิญชวนผู้สนใจร่วมงานเสวนาดาราศาสตร์ “50 years - First man on the moon : ครบรอบ 50 ปี มนุษย์คนแรกเหยียบดวงจันทร์" ล้วงลึกภารกิจอะพอลโล 11 ประวัติศาสตร์ก้าวสำคัญของมวลมนุษยชาติ ที่ ห้องประชุมดร.ถาวร พรประภา ออดิธอเรียม ชั้น 5 อาคารสยามกลการ (BTS สนามกีฬาแห่งชาติ) โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง