ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รถมินิบัส "ทางเลือก-ทางรอด" ผู้โดยสาร (รถตู้)

สังคม
19 ส.ค. 62
17:08
6,122
Logo Thai PBS
รถมินิบัส "ทางเลือก-ทางรอด" ผู้โดยสาร (รถตู้)
กว่า 10 ปี ที่มีการศึกษาวิจัยรถตู้มินิบัส (ไมโครบัส) เหมาะสมจะเปลี่ยนมาทำเป็นรถตู้โดยสารสาธารณะ รับ-ส่งผู้โดยสารหรือไม่ ซึ่งนักวิชาการยืนยันว่ามีการศึกษาและรับฟังความเห็นมายาวนานถึงนโยบายเปลี่ยนรถตู้เป็นรถมินิบัสซึ่งจะเพิ่มความปลอดภัยได้ดีขึ้น

การศึกษาวิจัยรถตู้มินิบัส (ไมโครบัส) เหมาะสมจะเปลี่ยนมาทำเป็นรถตู้โดยสารสาธารณะ รับ-ส่งผู้โดยสารหรือไม่ นั้นมีการศึกษามานานกว่า 10 ปี คือ โดย ผศ.ทวีศักดิ์ แตะกระโทก ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยนเรศวร หรือนักวิชาการความปลอดภัยทางถนน ยืนยันกับไทยพีบีเอสว่า นโยบายเปลี่ยนรถตู้เป็นรถมินิบัสไม่ได้เพิ่งมี และต้องการให้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดใจรับฟังเนื่องจากการการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แม้จะไม่ได้บอกว่า รถมินิบัสจะไม่เกิดอุบัติเหตุแต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุกับรถตู้ 13 ที่นั่ง ทีมกู้ชีพกู้ภัยสะท้อนว่า มีความยากลำบากในการช่วยเหลือผู้โดยสารในรถออกมาและปัญหาตัวรถติดตั้งแก๊สเป็นเชื้อเพลิงทีมกู้ชีพกู้ภัยก็มีความกังวลว่าอาจจะเกิดระเบิดหรือเกิดเพลิงไหม้ขึ้นมา

 

แต่ถึงอย่างไรทีมกู้ภัยก็พยายามเต็มที่ในการช่วยเหลือ แม้การดึงผู้โดยสารออกมาจากตัวรถจะทำได้อย่างยากลำบาก เพราะติดปัญหาประตูเข้า-ออก ได้ทางเดียว แต่รถมินิบัสมีทางขึ้น-ลง หรือเข้า-ออกได้ 2 ทาง กระจกรถก็สามารถเปิดออกได้กว้างเพียงพอที่นำตัวผู้โดยสารออกมาได้ ดังนั้นจึงเป็น "ทางเลือก-ทางรอด" ของรถตู้ จึงมีการตกลงกันว่าจะนำรถมินิบัสมาใช้เป็นรถตู้รับ-ส่งผู้โดยสาร เพื่อช่วยชีวิตคนจึงเป็นเหตุผลที่เสนอให้มีมินิบัสในประเทศไทย

ต้นทุนสูงทำให้รถมินิบัสถูกคัดค้าน ?

 

ผศ.ทวีศักดิ์ แตะกระโทก ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก

ผศ.ทวีศักดิ์ แตะกระโทก ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก

ผศ.ทวีศักดิ์ แตะกระโทก ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก

ผศ.ทวีศักดิ์  ระบุว่า เหตุผลที่ให้ใช้มินิบัส 20 ที่นั่งเนื่องจากเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถรับผู้โดยสารได้จำนวนมากขึ้น จากเดิมรถตู้มีจำนวน 13 ที่นั่งผู้ประกอบการก็จะผู้โดยสารเพิ่มอีก 7 ที่นั่งรวมทั้งหมด 20 ที่นั่ง ขณะที่ข้อมูลของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พบว่ารถตู้หากอายุเกินการใช้งาน 10 ปีขึ้นไป ค่าซ่อมบำรุงจะเพิ่มตามไปด้วยและแพงมากจนไม่คุ้มกับการลงทุนเพราะฉะนั้นหากผู้ประกอบการเปลี่ยนรถมินิบัสอายุรถของมินิบัสจะยาวกว่าทำให้คุ้มทุนกว่า

ถ้าจำเป็นจะต้องมีรถตู้ 13 ที่นั่งอาจจะจำกัดเฉพาะหมวด 1 ที่วิ่งเฉพาะใน กทม.และปริมณฑลได้หรือไม่ ไม่ใช่เพราะมันจะปลอดภัยนะ แต่เพราะ กทม.ขับรถเร็วไม่ได้แต่เพราะจราจรติดขัด ส่วนหมวด 2 หมวด 3 ที่วิ่งระหว่างจังหวัดระยะทางไกล ไม่ควรขยายยืดเวลาออกไปอีกเพราะมีความเสี่ยงสูงกว่า ถ้าเราจะยอมก็ให้เฉพาะหมวด 1

รถตู้หากเกินอายุ 10 ปีขึ้นไปค่าซ่อมบำรุงจะสูงและต้องหมั่นตรวจสอบจากเดิมปีละ 1 - 2 ครั้ง อาจจะต้องเพิ่มการตรวจสอบทุก 3 เดือน เพื่อให้ผู้ใช้บริการมั่นใจว่าปลอดภัย และอยากจะเข้าไปบอกท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมว่า เรื่องนี้เริ่มต้นศึกษาตั้งแต่ปี 2009 ตอนนี้ 2019 ดังนั้นเรื่องนี้มีการศึกษามาแล้ว 10 ปี และไม่ใช่ว่าผู้ประกอบการไม่ทราบ ซึ่งทุกครั้งจะมีผู้ประกอบการมาแลกเปลี่ยนความเห็นด้วย ซึ่งมีการขอเวลาอีก 10 ปี พวกเขาก็จะได้คืนทุนและสามารถเปลี่ยนรถใหม่เมื่อตกลงกันได้ก็ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว ซึ่งจุดนี้ต้องการให้รัฐมนตรีรับฟังซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เพิ่งมาดำเนินการ

 

ไม่ควรเอาความปลอดภัยมาเป็นข้อต่อรอง

 

นพ.ธนะพงษ์ จินวงศ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน

นพ.ธนะพงษ์ จินวงศ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน

นพ.ธนะพงษ์ จินวงศ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน

 

นพ.ธนะพงษ์ จินวงศ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน ระบุว่า เป็นอันตรายอย่างมากที่กระทรวงคมนาคมมีแนวคิดนี้ที่จะปลดล็อครถตู้ เพราะที่ผ่านมาอุบัติเหตุในรถตู้โดยสาร เมื่อเกิดเหตุครั้งใดก็มักที่จะมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก 2 ปีที่ผ่านมากรมการขนส่งทางบก เข้มงวดกับรถตู้โดยสารสาธารณะให้ติดตั้งระบบ GPS ทุกคัน และจำกัดความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้จำนวนอุบัติเหตุและผู้เสียชีวิตค่อย ๆ ลดลง ยกตัวอย่างปี 2559 มีผู้เสียชีวิต 130 คน แต่พบว่าในปี 2561 มีผู้เสียชีวิต 52 คน ลดลงร้อยละ 60

 

แต่จะสังเกตว่า ที่ยังมีการเกิดอุบัติเหตุและรุนแรงอยู่เพราะโครงสร้างของรถยังไม่เปลี่ยนไปด้วย ถ้าต้องการให้ลดลงเป็นศูนย์ได้ สิ่งที่รัฐบาลต้องดำเนินการต่อต้องทำอย่างไร ให้ระบบโครงการและการช่วยเหลือมีประสิทธิภาพ ดังนั้นถ้าเทียบดูแล้วรถตู้ยังไม่ตอบโจทย์ ยังมีความเสี่ยงสูง นอกจากเสี่ยงต่อการเกิดเหตุและยังเสี่ยงต่อการช่วยเหลือด้วย

รถตู้มีประตูเข้า-ออกด้านซ้ายด้านเดียว เมื่อถูกปิดก็เปิดไม่ได้ การช่วยเหลือจะจำกัดเมื่อเกิดเพลิงไหม้ ผู้โดยสารก็เสียชีวิต นอกจากการลดอุบัติเหตุแล้ว เราอยากลดการเสียชีวิต ดังนั้นมินิบัสก็จะเข้ามาทดแทน ประตูอยู่ตรงกลางขึ้น-ลงก็สะดวกและมีประตูฉุกเฉิน

ถ้าครั้งนี้ กระทรวงคมนาคมรับข้อเสนอผู้ประกอบการต้องมาพิจารณาเงื่อนไขให้ดีโดยจะมีผลกระทบตามมาอย่างน้อย 2 เรื่องสำคัญ คือ ผู้ประกอบการและบริษัทผลิตรถยนต์จะเกิดความสับสนว่ารัฐบาลจะเดินไปทางไหนกับนโยบายที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ตกลงเอาอย่างไรเพราะหลายบริษัทก็ไปเป็นหนี้มาแล้วและแนวทางปฏิบัติจะเป็นอย่างไร เช่นใครจะสมัครใจ หรือใครจะเป็นภาคบังคับ เปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนรถมินิบัสก็ได้จะเป็นผลกระทบตามมาแน่นอน

 

ผู้โดยสารขอให้มีรถตู้มินิบัสเพิ่มขึ้น

ขณะที่สถานีเดินรถโดยสารขนาดเล็ก มีรถตู้มินิบัสประมาณ 400 คัน จากทั้งหมด 5,000 คัน ผู้โดยสารที่ใช้บริการรถมินิบัส ส่วนใหญ่สะท้อนเป็นเสียงเดียวกันว่า พอใจกับรถมินิบัสเพราะปลอดภัย กว้างขวาง มีประตูฉุกเฉิน ทำให้รู้สึกปลอดภัยและมั่นใจที่จะนอนหลับระหว่างเดินทางมากขึ้นเพราะรถตู้ 13 ที่นั่งจะติดตั้งแก๊สเป็นเชื้อเพลิง เนื่องจากเกรงว่าเมื่อเกิดอุบัติเหตุและมีเหตุระเบิดจะหนีไม่ทัน

แต่ก่อนไม่กล้าหลับเลย นั่งรถตู้ไม่หลับ แต่พอมาเป็นรถมินิบัสสบายใจ เวลามันเกิดอุบัติเหตุก็ไม่ต้องกลัวว่ามันจะตู้มต้าม  

ขณะที่ผู้ดูแลรถตู้เส้นทางกรุงเทพฯ – ระยอง เล่าว่า หากถามถึงความคุ้มทุนผู้ประกอบการจะได้ทุนคืนในระยาว ยอมรับว่าผู้โดยสารพึงพอใจรถมินิบัสมากกว่ารถตู้  13 ที่นั่ง ดังนั้นเชื่อว่าผู้ประกอบการจะได้ทั้งความมั่นใจในความปลอดภัยมาจากลูกค้าและจะได้ทุนคืน เพียงแค่ใช้เวลาหน่อย ซึ่งบริษัทได้พัฒนาควบคู่ไปกับการบริการ ขายตั๋วผ่านแอปพลิเคชัน เพื่อความสะดวก

 

 

เช่นเดียวกับคนขับรถตู้เส้นทางกรุงเทพฯ - พัทยา ที่ระบุว่า ขนาดรถที่กว้างมากขึ้นทำให้คนขับรถสบายมากขึ้นไม่ปวดเมื่อยไม่ทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้า ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้เช่นเดียวกัน

 

  
ล่าสุดเหตุการณ์อุบัติเหตุรถตู้ประสานงา พุ่งชนรถพ่วง 18 ล้อ ที่ จ.สระแก้ว จนมีผู้เสียชีวิต 12 คน บาดเจ็บสาหัสอีก 4 คน ยิ่งตอกย้ำถึงความเสี่ยงอุบัติเหตุ นักวิชการความปลอดภัยทางถนน จึงเร่งให้กระทรวงคมนาคมทวนนโยบายนี้ เพราะหากโครงสร้างรถตู้เป็นมินิบัส ผู้โดยสารอาจจะรอดชีวิตมากขึ้น จึงไม่ควรเอาความปลอดภัยมาเป็นข้อต่อรองอีกต่อไป

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง