วันนี้ (31 ส.ค.2562) โครงการทุจริตอาหารกลางวันถูกร้องเรียนบ่อยครั้งและมีการตรวจสอบเอาผิดผู้ที่เกี่ยวข้อง เพราะนักเรียนที่อยู่ในช่วงวัยกำลังเติบโตทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา ควรได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเป็นไปตามมาตรฐาน แต่กลับถูกผู้ใหญ่บางคนหักเงินส่วนต่าง จัดซื้อวัสดุดิบปรุงอาหารไม่ครบตามจำนวน หรือปรุงอาหารไร้คุณภาพ
ล่าสุด คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) อยู่ระหว่างตรวจสอบอาหารกลางวันโรงเรียนแห่งหนึ่ง จ.ชัยนาท หลัง น.ส.อ้อมอารีย์ แข็งฤทธิ์หรือ “ครูอ้อม” ร้องเรียนว่า คุณภาพอาหารอาจไม่เป็นไปตามมาตรฐาน มีการนำอาหารสำเร็จรูปมาปรุงเป็นอาหารให้นักเรียน หวังลดต้นทุนค่าใช้จ่าย โดยคาดว่าจะทราบผลภายใน 1 เดือน
ไทยพีบีเอสเกาะติดประเด็นทุจริตอาหารกลางวันเด็กอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2561-2562 ผ่านการนำเสนอข่าวและรายการรวม 211 ชิ้น นำไปสู่การตรวจสอบโรงเรียนทั่วประเทศ เช่น
ขณะที่องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ เผยผลการจัดอันดับดัชนีการรับรู้การทุจริตไทยมีคะแนนดัชนีการรับรู้ทุจริตปี 2561 ลดลง 1 คะแนนเมื่อเทียบกับปีก่อน ทำให้ลำดับไทยแย่ลง 3 อันดับ มาอยู่ที่ลำดับ 99 จาก 180 ประเทศ สะท้อนว่าการป้องกันและแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันในไทย อาจไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ เศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของประชาชน
ไทยพีบีเอสเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวและติดตามโครงการทุจริตอื่น ๆ เพื่อนำเสนอเนื้อหาข่าวและรายการย้อนหลัง 5 ปี รวม 2,994 ชิ้น ยกตัวอย่าง เช่น
ตรวจสอบทุจริตโครงการ กทม.
ตรวจสอบทุจริตเงินทอนวัด
ตรวจสอบทุจริตโครงการจำนำข้าว
ตรวจสอบทุจริตจัดเรือดำน้ำ-รถถัง
ตรวจสอบทุจริตนมโรงเรียน
ตรวจสอบทุจริตเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ-คนพิการ
ตรวจสอบทุจริตสร้างสนามฟุตซอล
ตรวจสอบทุจริตเหมืองแร่
ป.ป.ช.ตั้งอนุกรรมการไต่สวนทุจริตเหมืองทองคำพิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์
"ดีเอสไอ" ชง 3 ประเด็นคดีเหมืองทองพิจิตร ให้ ป.ป.ช.
ล้วงลึกดีเอสไอ สอบคดีเหมืองแร่ทองคำ จ.พิจิตร
ชาวเพชรบูรณ์จัดเวทีค้านเหมืองแร่ หลังอุตสาหกรรมจังหวัดไฟเขียวสำรวจ
นายกฯสั่งทบทวนที่ดินเหมืองแร่ทองคำทั้งหมด
ตรวจสอบทุจริตสร้างอุทยานราชภักดิ์