ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

พบแล้ว! ยานวิกรมที่หายไปขั้วใต้ของดวงจันทร์

Logo Thai PBS
พบแล้ว! ยานวิกรมที่หายไปขั้วใต้ของดวงจันทร์
องค์การวิจัยอวกาศแห่งอินเดีย (ISRO) ยืนยันพบพบตำแหน่งที่ยานวิกรมลงจอดบนดวงจันทร์แล้ว แต่ยังไร้สัญญาณตอบสนอง คาดอุปกรณ์เสียหายจากการลงจอดแบบ Hard landing เร่งหาทางเชื่อมต่อสัญญาณ

วันนี้ (12 ก.ย.2562) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากเมื่อวันที่ 7 ก.ย.ที่ผ่านมา องค์การวิจัยอวกาศแห่งอินเดีย (ISRO) ได้ถ่ายทอดสดการส่งยานวิกรม (Vikram) ของจันทรายาน-2 ลงจอดบริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์ แต่พบปัญหาว่าไม่มีสัญญาณตอบรับ ท่ามกลางการรอลุ้นในภารกิจของนายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย กับทีมวิจัยขององค์การวิจัยอวกาศแห่งอินเดีย

ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 ก.ย.ที่ผ่านมา ทวิตเตอร์ของ @isro ได้ทวีตข้อความว่า พบตำแหน่งของ #VikramLander ที่ลงจอดบนดวงจันทร์แล้ว แต่แต่ยังไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับยานได้ 

ขณะที่สื่อด้านวิทยาศาสตร์ในอินเดียมีการรายงานข่าวครั้งนี้เช่นกัน ว่านักวิทยาศาสตร์ด้านอวกาศของอินเดียได้พยายามสื่อสารกับจันทรายาน-2 

คาดอุปกรณ์เสียหายจากการลงจอด

ขณะที่เฟซบุ๊ก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page ระบุว่า #คอนเฟิร์ม พบแล้ว!! ยานวิกรมที่หายไป #finallyonthemoon 10 กันยายน 2562 - อัพเดทล่าสุดจากองค์การวิจัยอวกาศแห่งอินเดีย (ISRO) พบตำแหน่งที่ยานวิกรม (Vikram) ลงจอดบนดวงจันทร์แล้ว แต่ยังไร้ซึ่งสัญญาณตอบสนอง

จากรายงานขณะการถ่ายทอดสดเมื่อวันเสาร์ที่ 7 ก.ย.ยานวิกรมเคลื่อนที่ออกนอกเส้นทางขณะกำลังร่อนลงจอด แล้วขาดการติดต่อที่ความสูง 335 เมตรเหนือพื้นผิวดวงจันทร์ ล่าสุดยานโคจรรอบ “จันทรายาน-2” สามารถระบุตำแหน่งของยานวิกรมได้แล้ว คาดว่าเป็นการลงจอดแบบ “Hard landing” ที่อาจทำให้อุปกรณ์ภายในยานเสียหาย ทั้งนี้ ทีมนักวิจัยกำลังพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้ยานวิกรมกลับมาตอบสนองอีกครั้ง

เพื่อติดต่อสื่อสารกับยานอวกาศ ประเทศอินเดียมีเครือข่ายจานรับ-ส่งสัญญาณขนาดใหญ่ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารภารกิจสำรวจอวกาศ ชื่อว่า “Indian Deep Space Network (IDSN)” ซึ่งใช้มาตั้งแต่ภารกิจจันทรายาน-1 ภารกิจสำรวจดาวอังคาร และภารกิจจันทรายาน-2

เครือข่ายดังกล่าวเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในการสำรวจอวกาศ เพราะเป็นเสมือนโทรศัพท์ที่ใช้ติดต่อระหว่างยานอวกาศกับศูนย์ควบคุมภาคพื้นโลก ประเทศที่มีเครือข่ายจานรับ-ส่งสัญญาณลักษณะนี้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน ประเทศในสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประเทศผู้นำทางเทคโน โลยีทั้งสิ้น ชะตากรรมของยานวิกรม จะเป็นอย่างไรต่อไป ร่วมกันเอาใจช่วยให้อินเดียประสบความสำเร็จในครั้งนี้ อ้างอิงข้อมูลจาก 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

จันทรายาน-2" ขาดการติดต่อก่อนลงจอดบนดวงจันทร์

อินเดียพบร่องรอยยานลงจอด "จันทรายาน-2" หลังสัญญาณหาย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง