วันนี้(6 ต.ค.2562) เพจเฟซบุ๊กกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข โพสต์ข้อความแนะนำการดูภาพยนต์ เรื่อง Joker ว่า วาคีน ฟินิกซ์ ผู้รับบทบาทเป็นอาร์เธอร์ เฟล็ก หรือ Joker ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างๆมากมายว่า เขาได้ทำการบ้านอย่างหนักในการถ่ายทอดเรื่องราวของโจ๊กเกอร์บนจอภาพยนตร์ให้สมบทบาทที่สุด
โดยเฉพาะการศึกษาวิธีการหัวเราะแบบโจ๊กเกอร์ จากผู้ป่วยที่มีอาการ ”Pseudobulbar affect
คำเตือนจากแอดมิน (ไม่สปอยล์) ภาพยนตร์เรื่อง “Joker” ที่กำลังฉายอยู่ขณะนี้ จัดอยู่ในเรท R (Restricted) ซึ่งหมายถึง เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 17 ปี จะเข้าชมได้ ต่อเมื่อมีผู้ปกครองควบคุมดูแลเท่านั้น เนื้อหาประกอบไปด้วย ความรุนแรงระดับสูง ภาษาที่ไม่เหมาะสม รวมไปถึงความเศร้า หดหู่ และสถานการณ์ที่อาจกระทบภาวะทางจิตใจได้
ในการรับชมสื่อที่ประกอบด้วยความรุนแรงทุกประเภท ควรตรวจสอบสภาพจิตใจตัวเอง และคนใกล้ชิดว่ามีความพร้อมในการรับเนื้อหาที่มีความรุนแรงหรือไม่ โดยท่านสามารถหลีกเลี่ยงไปก่อนหากไม่มีความพร้อมในขณะนี้ และสามารถพบบุคลากรด้านสุขภาพจิตใกล้บ้านหรือติดต่อสายด่วนสุขภาพจิต 1323 หากท่านได้รับผลกระทบจากการรับชมดังกล่าว
รู้จักโรคหัวเราะแบบ โจ๊กเกอร์
ทั้งนี้ข้อมูลของ กรมสุขภาพจิต ระบุว่าอาการผู้ป่วยที่มีอาการ ”Pseudobulbar affect" หรือ PBA
- มีการร้องไห้หรือ
- หัวเราะรุนแรงควบคุมไม่ได้
- การร้องไห้หรือหัวเราะนั้น
- ไม่เข้ากับสถานการณ์
- การแสดงสีหน้าไม่ตรงกับ
อารมณ์ - อาการเป็นอย่างยาวนาน
เกินกว่าที่คาดไว้ - อาจเกิดได้หลายครั้งต่อวัน
ส่วนสาเหตุ เชื่อว่าอาการ PBA เกิดจากปัญหาที่สมองส่วนหน้า พบได้ในโรคต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคความจำเสื่อม โรคพาร์กินสัน เนื้องอกในสมองบางชนิด Multiple Sclerosis โรคปลอกประสาทเสื่อม
ขณะที่ชาวโซเชียลได้มีการเตือนในประเด็นนี้ไว้ เช่น ทวิตเตอร์ ชายขอบ รอบจอหนัง@shaikobrobjor #JokerMovie #โจ๊กเกอร์ คำเตือนวาคีน แสดงโคตรถึง จนสามารถพาดำดิ่งไปสู่ตัวหนัง จนลืมเวลา
- ไม่เหมาะกับคนที่เป็นโรคซึมเศร้า
- ตัวหนังเล่นความเหลื่อมล้ำชัดเจน
- ไม่มีท้ายเครดิต
#JokerMovie #โจ๊กเกอร์ คำเตือน
— ชายขอบ รอบจอหนัง (@shaikobrobjor) October 3, 2019
-วาคีน แสดงโคตรถึง จนสามารถพาดำดิ่งไปสู่ตัวหนัง จนลืมเวลา
-ไม่เหมาะกับคนที่เป็นโรคซึมเศร้า
-ตัวหนังเล่นความเหลื่อมล้ำชัดเจน
-ไม่มีท้ายเครดิต pic.twitter.com/tIW1rSUnAe