แม้หลายคนไม่คิดว่า บทบาทในฐานะเจ้ากระทรวงต่างประเทศ จะมีประเด็นไหนให้ฝ่ายค้านหยิบไปอภิปรายในสภา ที่จ้องปมการสะสางทุจริต และการบริหารงาน รวมทั้งการเอื้อประโยชน์ในโครงการต่างๆของรัฐมนตรีที่ถูกซักฟอกรอบนี้
แต่เมื่อ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง กลับทิ้งไพ่นอกเกมให้ นายดอน ต้องชี้แจงต่อสภา ให้คลายปมสงสัย กรณีรัฐบาลเอื้อต่อ “บริษัท ฟิลลิป มอร์ริส” บริษัทยักษ์ใหญ่ ในคดีนำเข้าบุหรี่หลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร และสำแดงเท็จ ซึ่งถือเป็นคีดที่คาราคาซังมาตั้งแต่สมัยปี 2554
ปมเหตุครั้งนี้ ร.ต.อ. เฉลิม มองว่ารัฐบาล คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) พยายามช่วยบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส โดยอ้างว่าอาจขัดองค์การการค้าโลก (WTO) หากจะดำเนินคดีต่อไป เพราะระหว่างที่รัฐบาลไทยฟ้องร้องดำเนินคดีนั้น ได้มีการฟ้องร้องรัฐบาลไทย WTO แต่ระหว่างการพิจารณาของศาล นายดอน ได้มีหนังสือหารือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี
นายดอน เคยให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 7 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยมองว่า ประเด็นฟิลลิป มอร์ริส ไม่ใช่เรื่องของกระทรวงการต่างประเทศ และมองว่ากระทรวงการต่างประเทศ เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ในการทำงาน พร้อมยืนยันว่าการแก้ไข พ.ร.บ.ศุลกากร ไม่เกี่ยวกับกระทรวงการต่างประเทศ
เหตุผลที่หัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หยิบยกการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายดอน เพราะบริหารราชการแผ่นดินผิดพลาด บกพร่อง ล้มเหลว ขาดคุณธรรม ใช้อำนาจก้าวกายข้าราชการประจำ แทรกแซงกระบวนการยุติธรรม ทำให้การบังคับใช้กฎหมายเอื้อประโยชนย์บริษัทข้ามชาติ นำพาชาติเข้าสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศ
อ่านข่าวเพิ่ม หน.ฝ่ายค้านฯ เปิดซักฟอก นายกฯ- รัฐมนตรี
ไทม์ไลน์เอกสารลับ-ปมไทยเอื้อทุน
ย้อนกลับไปเมื่อ 10 พ.ค.2562 เพจเฟซบุ๊ก CSI LA นำเอกสารลับที่ระบุว่า แบบนี้ก็ได้หรือ ? ฝากสื่อหลักช่วยตรวจสอบด้วย พบเอกสารลับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ขอให้รัฐบาลยุติการฟ้องร้องคดีอาญาบริษัทฟิลลิป มอริส อ้างมีข้อเสนอแลกเปลี่ยนกับการไม่ให้ฟิลิปปินส์ยื่นฟ้องไทยใน WTO และเสนอเงินสนับสนุนการยาสูบของไทย และให้นายกรัฐมนตรีใช้อำนาจฝ่ายบริหารแก้ไขเรื่องนี้ก่อนศาลอาญามีคำพิพากษาคดี ถือเป็นการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมหรือไม่ ขณะที่คดีนี้รัฐบาลเสียหายกว่า 60,000 ล้านบาทและต่อสู้คดีมายาวนานกว่า 13 ปี
เปิดเอกสารลับที่สุด นายดอน ปรมัตถ์วินัย ขอระงับข้อพิพาทกรณีสินค้าบุหรี่นำเข้า อ้างกระทบความสัมพันธ์ไทยกับฟิลิปปินส์
เอกสารลับที่สุดลงวันที่ 7 มี.ค.2562 นายดอน ส่งถึงนายกรัฐมนตรี ผ่านรองนายกรัฐมนตรี นายวิษณุ ขอให้ระงับข้อพิพาทระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์กรณีสินค้าบุหรี่นำเข้า
กระทรวงการต่างประเทศขอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณา ขอให้อัยการสูงสุดพิจารณาทำให้คำสั่งไม่ฟ้อง บริษัท ฟิลลิป มอริส อินเตอร์เนชั่นแนล (PMI) กลับมามีผลใหม่ หรือหยุดกระบวนการดำเนินคดีในศาลไทยชั่วคราว ตามข้อเสนอของบริษัทฟิลลิป มอริส อินเตอร์เนชั่นแนล PMI
ขอให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ยุติการฟ้องร้องคดีอาญากับบริษัท ฟิลลิป มอริส ประเทศไทย PMLI และทบทวนการตีความและการบังคับใช้กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ให้สอดคล้องกับพันธกรณีของไทยภายใต้ WTO กรณีที่ Compliance Panel ตัดสินว่ามาตรการของไทยขัดต่อพันธกรณีภายใต้ WTO ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศให้ความเห็นว่า หากสามารถทำได้โดยเร็ว ไทยก็อาจเจรจากับฟิลิปปินส์โดยตรงเพื่อให้ยุติคดีใน WTO
โดยให้เหตุผลว่า หากไทยกับฟิลิปปินส์ ไม่สามารถเจรจาหาข้อยุติร่วมกันได้ และคำตัดสินของ WTO มีผลเป็นที่สุดแล้ว ไทยจะมีพันธกรณีที่จะต้องยกเลิกหรือแก้ไขมาตรการที่ยังขัดกับกฏเกณฑ์ภายใต้ WTO หากไม่ปฏิบัติตาม ไทยก็อาจต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือรับผลของมาตรการตอบโต้ทางการค้าจากฟิลิปปินส์ เป็นมูลค่าเท่ากับความเสียหายที่อีกฝ่ายได้รับ ซึ่งฟิลิปปินส์ อาจประเมินค่าความเสียหายเท่ากับค่าปรับที่ ฟิลลิป มอร์ริส ประเทศไทย ต้องจ่าย 68,000 ล้านบาท ซึ่งการไม่ปฏิบัติตามคำตัดสินของ WTO อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ไทยกับฟิลลิปินส์ และความเชื่อมั่นของไทยจากประชาคมโลก
อ้างแลกไทยถูกแทรกแซงจาก WTO
เอกสารลับที่สุดยังระบุด้วยว่า กระทรวงการต่างประเทศขอให้นายกรัฐมนตรีใช้อำนาจฝ่ายบริหารที่จะแก้ไขเรื่องนี้ ก่อนที่ศาลอาญาของไทยมีคำพิพากษาตัดสินให้บริษัทและผู้บริหารบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส ประเทศไทย PMTL ได้รับโทษจำคุกหรือถูกปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ ก็จะไม่อยู่ในอำนาจของฝ่ายบริหารที่จะดำเนินการแก้ไขหรือบรรเทา และอาจกระทบความสำพันธ์ระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์ รวมถึงสหรัฐอเมริกา ที่เป็นสัญชาติของบริษัทแม่ของ PMTL และยังมีความเป็นไปได้ที่ฟิลิปปินส์ จะฟ้องไทยใน WTO บนพื้นฐานของคำพิพากษาของศาลอาญาไทยเพิ่มเติมอีก
โดยนายดอน ขอให้นายกรัฐมนตรี พิจารณามอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมศุลกากร กรมสรรพสามิต กรมสรรพากร สำนักงานอัยการสูงสุด กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และกระทรวงการต่างประเทศ พิจารณาข้อเสนอของ PMI เพื่อหาทางยุติข้อพิพาทอย่างฉันมิตร โดยมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเสนอรายงานให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
ในเอกสารระบุว่าข้อพิจารณาทั้งหมดเป็นไปตามข้อเสนอของบริษัท Philip Morris International (PMI) ที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของบริษัท ได้เข้าพบหารือกับเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน เมื่อวันที่ 19 พ.ย.2561 เสนอให้ฝ่ายไทยยุติการดำเนินคดีอาญาในประเทศไทย
โดยในทางกลับกัน PMI จะดำเนินการเพื่อให้รัฐบาลฟิลิปปินส์ ยุติกระบวนการระงับข้อพิพาทที่ไทยฟ้องไทยใน WTO โดยทาง PMI เสนอมอบเงินสนับสนุนการยาสูบแห่งประเทศไทย เพื่อดำเนินการในเรื่องที่ฝ่ายไทยให้ความสำคัญ เช่น การซื้อใบยาสูบ และการแก้ไขปัญหาการค้ายาสูบผิดกฎหมาย และพร้อมจะร่วมมือกับไทยในเรื่องกฏเกณฑ์ต่างๆ เช่น จะไม่คัดค้าน และจะปฏิบัติตามนโยบายของไทยเรื่องฉลากบุหรี่แบบเรียบ
ข้อเสนอของบริษัทฟิลลิป มอริส อินเตอร์เนชั่นแนล PMI ยังแจ้งด้วยว่าได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐ แต่จะไม่ใช้วิธีกดดันระดับสูงกับไทย และได้แจ้งรัฐบาลสหรัฐแล้วว่าไม่ควรรวมเรื่องนี้ไว้ในประเด็นพิจารณาการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ไทย
จึงเสนอให้ไทยพิจารณาหยุดกระบวนการดำเนินคดีในศาลไทยชั่วคราว ทั้งคดีสินค้าบุหรี่นำเข้าจากฟิลิปปินส์ และคดีสินค้าบุหรี่นำเข้าจากอินโดนีเซีย เพื่อให้เจราจาหาทางออกร่วมกัน โดยฝ่ายไทยไม่จำเป็นต้องถอนคดี
นอกจากนี้ยังพบว่านายดอน มีความพยายามในการเสนอให้ระงับข้อพิพาทนี้ ไปยังนายวิษณุ รองนายกรัฐมนตรี ไปเมื่อวันที่ 23 ก.ค.2561
เหตุผลไทยสูญรายได้อากรกว่า 2.4 หมื่นล้านบาท
สำหรับข้อพิพาทกรณีสินค้าบุหรี่นำเข้า เป็นคดีที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2549 หลังจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ดำเนินคดีกับบริษัทฟิลลิป มอริส ประเทศไทย กรณีหลบเลี่ยงภาษีบุหรี่มากกว่า 68,000 ล้านบาท เมื่อปี 2546-2550 และต่อมาอัยการสูงสุดได้มีคำสั่งฟ้องผู้ต้องหา บริษัทหรือ PMTL ฟิลลิป มอริส ประเทศไทย 12 ราย ในปี 2559 ขณะที่ฟิลลิป มอริส มีความพยายามที่จะให้ไทยถอนฟ้องในคดีนี้ และไปสนับสนุนประเทศฟิลิปปินส์ ให้ฟ้องบังคับคดีกับไทยต่อ WTO กล่าวหาว่าการดำเนินคดีอาญาของไทยขัดต่อหลัก WTO
กรณีนี้จะเห็นได้ว่าไทยดำเนินคดีอาญาไปตามกระบวนการยุติธรรมของไทย แต่ถูกแทรกแซงให้มีการเลิกดำเนินคดีโดยใช้ WTO มาเป็นเครื่องมือ ถือเป็นการก้าวล่วงอำนาจอธิปไตยของไทยในการดำเนินคดีอาญาร้ายแรง และจะส่งผลให้เกิดความเสียหาย จากการสำแดงเท็จจำนวน 1 บาท รัฐบาลจะขาดภาษีอากรประมาณ 4 บาท การนำเข้าบุหรี่ของ ฟิลลิป มอริส ประเทศไทยหรือ PMTL ปีละประมาณ 500-600 ล้านบาท สำแดงเท็จไปซองละ 10 บาทรัฐจะขาดรายได้ภาษีอากรไปถึง 20,000-24,000 ล้านบาท และหาก PMTL ถูกลงโทษให้เสียค่าปรับกว่า 68,000 ล้านบาท แต่กฎหมายศุลกากรแก้ไขใหม่
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดปมซักฟอก 6 รมต. "รัฐบาลประยุทธ์"
ซักฟอก “ประยุทธ์” ขุดอำนาจ คสช. เชื่อมโยงคดีทุจริตระดับโลก