วันนี้ (12 มี.ค.2563) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากกรมศุลากร ทำงานบูรณาการร่วมกับกรมอุทยาน แห่งาติสัตว์ป่าและพันธ์ุพืช สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดำเนินการแผนปฏิบัติการงาช้างแห่งประเทศไทย โดยมุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพการปราบปรามการกระทำผิดกฏหมายโดยใช้เทคนิควิธีการในการสืบสวน ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการค้างาช้างผิดกฎหมาย รวมถึงจับกุมกลุ่มขบวนการที่มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับการลักลอบคงช้าง ซึ่งเป็นผลให้ตั้งแต่ปึงบประมาณ 2557 ถึงปัจจุบัน กรมศุลกากรมีผลการตรวจยีดงาข้าง จำนวน 46 คดี ปริมาณงาช้างของกลาง มากกว่า 5.5 ตันโดยเฉพาะในปี 2558 ได้มีการตรวจยึดงาช้างได้ทั้งสิ้น 5.176 กิโลกรัม ซึ่งเป็นการตวจยึดมากที่สุดในประเทศไทย
ทั้งนี้ เพื่อสืบสวนขยายผลดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องในขบวนการลักลอบทั้งหมด จึงมีโครงการจัดเก็บดีเอ็นเองาช้างของกลาง เป็นครั้งแรกของประเทศไทย เพื่อขยายผลดำเนินคดีคดีกับผู้เกี่ยวข้องในขบวนการลักลอบทั้งในและนอกประเทศ

ภาพ:กรมศุลกากร
ภาพ:กรมศุลกากร
เก็บดีเอ็นเองาช้าง 1,312 ชิ้นขยายผลคดี
สำหรับการดำเนินการจัดเก็บดีเอ็นเองาช้าง ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานสืบสวนความมั่นคง
แห่งสหรัฐอเมริกาซึ่งได้นำผู้เชี่ยวชาญ ดร.แชมมวล วาเชอร์ จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ร่วมกับทีมเจ้าหน้าที่ศุลกากร กองสืบสวนและปราบปราม กรมศุลกากร และกรมอุทยานฯ จัดเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอจากงาช้างของกลางในคดีจากประเทศคองโกและเคนยา ระหว่างวันที่ 17-28 ก.พ.ที่ผ่านมา ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
โดยงาช้าง ที่ดำเนินการเก็บตัวอย่างในครั้งนี้ มีน้ำหนักกว่า 3.23 ตัน (510 ชิ้น) จากประเทศเคนยาและน้ำหนัก 2.25 ตัน (802 ชิ้น) จากประเทศคองโก ตัวอย่างเหล่านี้จะได้รับการตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอ ที่มหาวิทยาลัยวอชิงตัน โดย ดร.วาเชอร์ และทีมงาน เพื่อตรวจสอบว่ามีการเชื่อมโยงกับการตรวจยึดอื่นๆ หรือไม่
อย่างไรก็ตาม ผลจากการปราบปรามขบวนการค้างาช้างอย่างเข้มข้นส่งผลให้ที่ ประเทศไทยหลุดจากการถูกขึ้นบัญชีดำการค้างาช้าง ในเวทีการประชุมมอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ (ไซเตส)
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
“ไซเตส” ปลดไทยพ้นบัญชีดำค้างาช้างข้ามชาติ
ปิดศูนย์ปราบปรามการค้างาช้าง หลัง "ไซเตส" ปลดไทยพ้นบัญชีดำ

ภาพ:กรมศุลกากร
ภาพ:กรมศุลกากร