ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ทำความรู้จักกับ "หุ่นยนต์นิ้วจับอ่อนนุ่ม" ที่สร้างขึ้นเพื่อวิจัยสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทร

Logo Thai PBS
ทำความรู้จักกับ "หุ่นยนต์นิ้วจับอ่อนนุ่ม" ที่สร้างขึ้นเพื่อวิจัยสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทร
วิศวกรและนักชีววิทยามหาวิทยาลัยซิตี้แห่งนครนิวยอร์ก พัฒนาหุ่นยนต์ที่มี 6 นิ้วจับอ่อนนุ่ม เพื่อใช้ในการวิจัยสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรที่มีลำตัวบอบบาง และศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล

ปัจจุบันหุ่นยนต์ในรูปแบบต่าง ๆ ได้เข้ามามีบทบาทในการศึกษาวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ล่าสุดได้มีการพัฒนาหุ่นยนต์นิ้วจับอ่อนนุ่มสำหรับดักจับสิ่งมีชีวิตในน้ำที่มีลำตัวบอบบาง เช่น แมงกะพรุน ปลิงทะเล รวมไปถึงสัตว์ทะเลน้ำลึกเพื่อนำไปทำการศึกษาวิจัยการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อชีวิตในมหาสมุทร

หุ่นยนต์นิ้วจับอ่อนนุ่มพัฒนาโดยทีมงานวิศวกรและนักชีววิทยามหาวิทยาลัยซิตี้แห่งมหานครนิวยอร์ก (City University of New York) ประเทศสหรัฐอเมริกา หุ่นยนต์ถูกออกแบบให้มีแขนจับพิเศษ 6 นิ้วสร้างจากวัสดุอ่อนนุ่มซิลิโคน (Silicone) โดยใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ พิมพ์ขึ้นมาและทำงานร่วมกับตัวสร้างแรงบีบรัดโดยการใช้แรงดันของเหลวบังคับให้นิ้วจับทั้ง 6 บีบรัดในระดับที่น้อยจนไม่เป็นอันตรายต่อแมงกะพรุน

ภาพหุ่นยนต์นิ้วจับอ่อนนุ่มจาก David Gruber / Instagram @luminescent_labs

ภาพหุ่นยนต์นิ้วจับอ่อนนุ่มจาก David Gruber / Instagram @luminescent_labs

ภาพหุ่นยนต์นิ้วจับอ่อนนุ่มจาก David Gruber / Instagram @luminescent_labs

กระบวนการในการพัฒนาหุ่นยนต์วิศวกรและนักชีววิทยาได้ใช้การทดสอบในห้องทดลองและการนำไปทดสอบกับแมงกะพรุนจริงในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำก่อนนำไปใช้งานจริงในมหาสมุทร โดยผลการทดสอบพบว่าหุ่นยนต์สามารถจับแมงกะพรุนได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ทำอันตรายหรือสร้างความกระทบกระเทือนต่อแมงกะพรุน วิศวกรคาดการณ์ว่านิ้วจับอ่อนนุ่มสามารถทำงานซ้ำได้ประมาณ 100 ครั้งก่อนที่จะต้องเปลี่ยนเนื่องจากวัสดุซิลิโคนเริ่มเสื่อมประสิทธิภาพ

แมงกะพรุนในมหาสมุทรเป็นสิ่งมีชีวิตที่บอบบางมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมมีน้ำเป็นส่วนประกอบของร่างกายมากถึง 95 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการจับแมงกระพรุนด้วยวิธีการแบบเก่าใช้แขนหุ่นยนต์ที่แข็งทำให้แมงกะพรุนเกิดความเครียดและร่างกายได้รับความเสียหาย ส่งผลต่อการศึกษาวิจัยของนักชีววิทยาที่ต้องการให้สิ่งมีชีวิตที่ทำการศึกษามีความปลอดภัยมากที่สุดเพื่อความถูกต้องของข้อมูล

การทำความเข้าใจสิ่งมีชีวิตที่บอบบางมีความสำคัญต่อความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพแวดล้อมในมหาสมุทรบนโลกเพราะหากเกิดความเปลี่ยนใด ๆ กับมหาสมุทรสิ่งมีชีวิตที่บอบบาง เช่น แมงกะพรุนมักจะเป็นสิ่งมีชีวิตชนิด ๆ แรก ๆ ที่ได้รับผลกระทบ อีกทั้งพื้นที่ผิวของโลก 71 เปอร์เซ็นต์ ประกอบด้วยน้ำมีเพียงแค่ 29 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้นที่เป็นแผ่นดิน

ดังนั้นความเข้าใจมหาสมุทรเสมือนหนึ่งการทำความเข้าใจโลกที่พวกเราใช้อยู่อาศัยนั่นเอง

----------------------------
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ #ThaiPBSSciAndTech
ที่เพจ Thai PBS Sci & Tech

 
View this post on Instagram

Ultra-Gentle Jellyfish Hugs. So proud to be part of a study that came out today in Current Biology that demonstrates that our ultra-gentle soft robot can interact with a jellyfish and not cause it stress. “We’ve only explored 5 percent of the deep sea. Until we know more, we have to be respectful,” says co-author Mercer Brugler. Many thanks to @anandavarma for the amazing photography, @jasonjaacks for video, co-authors @petraderjaguin, @damavo and @michael_tessler and especially Robert Wood and the entire @wyssinstitute Harvard Microrobotics Laboratory. #future #delicate #robot #soft #jellyfish

ข่าวที่เกี่ยวข้อง