ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ระงับนำเข้า-ส่งออกม้าลาย-ยีราฟ เจอกาฬโรคระบาด

สิ่งแวดล้อม
8 เม.ย. 63
16:33
1,152
Logo Thai PBS
ระงับนำเข้า-ส่งออกม้าลาย-ยีราฟ เจอกาฬโรคระบาด
กรมอุทยานแห่งชาติฯ ออกประกาศห้ามนำเข้า และส่งออกม้าลาย และยีราฟ ป้องกันการระบาดของกาฬโรคแอฟริกาในม้า หลังพบการระบาดใน จ.นครราชสีมา ม้าป่วยตายนับร้อยตัว เป็นครั้งแรกในไทย

วันนี้ (8 เม.ย.2563) นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ลงนามประกาศเรื่อง กำหนดชนิดสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า และผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า ที่ไม่พิจารณาอนุญาตให้นำเข้า และส่งออก หลังจากที่มีการระบาดของโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness; ACHS) ในพื้นที่จ.นครราชสีมา ทำให้ม้าในฟาร์มเลี้ยงที่อยู่ในพื้นที่ตายจำนวนมาก

ทั้งนี้ เนื่องจากผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการจากสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ยืนยันว่าสาเหตุมาจากโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า เกิดจากเชื้อไวรัส A ชนิดไม่มีเปลือกหุ้ม ในวงศ์ Reovide สกุล Orbivirus สัตว์ที่ไวต่อโรคนี้ ได้แก่ ม้า ลา ล่อ และม้าลาย เชื้อไวรัสจะทำให้สัตว์แสดงอาการป่วยรุนแรงและตาย โดยมีแมลงดูดเลือดเป็นพาหะนำเชื้อไวรัส

การระบาดของโรคนี้เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และยังไม่ปรากฎสาเหตุที่แน่ชัดต่อการเกิดโรคดังกล่าว

อ่านข่าวเพิ่ม ปศุสัตว์ชี้ "ม้า" ตายที่ปากช่องป่วยกาฬโรคในม้า

ระงับนำเข้า-ส่งออก ม้า-ยีราฟทั้งหมด

กรมอุทยานแห่งชาติฯ จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 23 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ปา พ.ศ.2562 ประกอบกับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 12 เม.ย. .2560 เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์ป่า ชากของสัตว์ป่า และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากชากของสัตว์ป่า ที่ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ซึ่งออกตามความในมาตรา 23 วรรคหนึ่ง แห่งพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535

โดยกรมอุทยานฯ จะไม่พิจารณาอนุญาตให้นำเข้า ส่งออกซึ่งสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า และผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า ตามประกาศกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดังกล่าว เพื่อป้องกันการระบาดของโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้าเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีการประกาศเปลี่ยนแปลง

กลุ่มที่ 1 ชนิดสัตว์ป่า ซากของสัตว์ป่า และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากชากของสัตว์ป่า ตามบัญชีท้ายอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือไซเตส (CITES) วงศ์ม้า (Family Equide) ลำดับที่ 257 ถึงลำดับที่ 265

กลุ่มที่ 2 ชนิดสัตว์ป่าและชากสัตว์ป่าที่มิใช่สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้ม ครองและมิใช่สัตว์ป่าบัญชีท้ายอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) สัตว์ป่าจำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม (MAMMALS) ได้แก่ ลำดับที่ 6 ยีราฟ ทุกชนิด ในสกุล Giraffa (Giroffa spp.) ลำดับที่ 7 ม้าลายเบอร์เชลล์ (Equus burchelli) และลำดับที่ 8 ม้าลายควากกา (Equus quoggo)

 

สำหรับการนำเข้าม้าลาย ที่ผ่านมาถูกจัดอยู่ในสัตว์ป่าคุ้มครองในบัญชีไซเตส การนำเข้าไซเตส โดยกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เป็นเพียงผู้ร่วมตรวจสอบเอกสาร หลักฐานการนำเข้าเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศเท่านั้น ส่วนขั้นตอนการตรวจสอบโรคหรือกักกันโรค กรมปศุสัตว์เป็นผู้มีอำนาจสั่งการควบคุม ซึ่งหากไม่มีการตรวจสอบหรือกักกันโรคอย่างถูกต้อง ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดการแพร่เชื้อโรคระบาดต่างๆได้

ทั้งนี้ต้องเฝ้าระวังพื้นที่โดยรอบที่มีการระบาดของกาฬโรคแอฟริกาในม้าในประเทศไทย โดยเฉพาะแมลงดูดเลือดที่อาจเป็นพาหะนำโรคได้ 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

"หัวหิน" กำหนดเขตโรคระบาดกาฬโรคแอฟริกาในม้า

ม้าปากช่องตายแล้ว 50 ตัว ปศุสัตว์เร่งหาสาเหตุโรคระบาด

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง