ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ทำมากกว่า "หน้าที่" อสม.ยุค COVID-19

สังคม
17 เม.ย. 63
18:37
4,459
Logo Thai PBS
ทำมากกว่า "หน้าที่" อสม.ยุค COVID-19
ไทยพีบีเอสออนไลน์ เปิดใจตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) จากพื้นที่ อ.จะนะ จ.สงขลา และบ้านดงขวาง จ.ร้อยเอ็ด ในฐานะ "ด่านหน้า" ผู้เคาะประตูบ้านสแกนผู้ป่วยไวรัสโคโรนา (COVID-19) เพื่อคัดกรอง ติดตาม และให้ความรู้ในระดับชุมชน
เคาะหลายครั้ง ตั้งแต่ COVID-19 มาเยือน 

นางจีรานา หีมสุวรรณ ประธานอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) หมู่ที่ 3 ต.บ้านนา อ.จะนะ จ.สงขลา บอกกับไทยพีบีเอสออนไลน์ เมื่อถามถึงภารกิจที่ให้เป็นด่านหน้า ในการช่วยเคาะประตูบ้านช่วยคัดกรองโรคไวรัสโคโรนา (COVID-19) ในระดับชุมชน

เธอบอกว่า ตั้งแต่โรคไวรัสโคโรนา ระบาดในประเทศไทย ทำให้กระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรทางการแพทย์ทำงานหนักมาก ทำให้ต้องหารูปแบบในการค้นหาผู้ป่วย และติดตามผู้ป่วยในระดับชุมชนทั่วประเทศหลังจากพบการระบาดทั่วประเทศอสม.คือด่านหน้า เพราะใกล้ชิดกับชุมชน คือคำตอบในภารกิจนี้

“จีรานา” บอกว่า ในหมู่ที่ 3 ต.บ้านนา มีอสม.รวม 9 คน เธอรับผิดชอบ 19 หลังคาเรือน ส่วนตัวไม่คิดว่าเป็นงานหนัก เพราะอาศัยว่าเราคุ้นเคยกับทุกคน เรียกว่าแค่หลับตาก็รู้หมดแล้วว่าไปไหน ถือว่าทำงานไม่ยาก 

ภารกิจคือเฝ้าระวัง คัดกรอง ให้ความรู้โรค COVID-19 การป้องกันตัวเองตั้งแต่เริ่มแรก ทั้งการจัดหาหน้ากากอนามัยให้กับทุกคนในบ้าน จนถึงกรณีมีคนป่วยจะต้องส่งข้อมูล และประสานให้เอารถมารับถึงบ้านทันที

สนง.สาธารณสุขอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

สนง.สาธารณสุขอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

สนง.สาธารณสุขอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

เคาะแรก-สำรวจหน้ากาก คนในบ้าน

เธอบอกว่า ภารกิจช่วง COVID-19 อสม.ต้องเคาะประตูตามบ้านทุกหลังในเขตรับผิดชอบ เพื่อคัดครองโรค เคาะครั้งแรกเพื่อไปถามว่ามีหน้ากากใช้กี่ชิ้น มีคนในครอบครัวเท่าไหร่ ใครไม่มีอะไรบ้าง จากนั้นจะส่งช้อมูลรายงานไปให้กับเทศบาล และจัดหาหน้ากากผ้าให้เพียงพอ

เคาะครั้งที่ 2 ไปมอบหน้ากากผ้าให้กับสมาชิกในบ้านใส่ป้องกันโรค ส่วนเคาะครั้งที่ 3 จะเข้ามาติดตามว่าในบ้าน ในชุมชน มีใครเดินทางไปไหนต่างถิ่นจังหวัดเสี่ยงเช่น ยะลา ปัตตานี ภูเก็ต หรือกลับจากต่างประเทศเช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย บ้างหรือไม่

เคาะไปหลายรอบแล้ว ปกติเฉลี่ยเราจะไปสัปดาห์ละครั้ง ตอนนี้เดินเกือบจะทุกวันถ้าว่างเมื่อไหร่ อสม.ก็กลัวว่าจะมีคนป่วยหลุดอออกมา ต้องคัดกรองดีที่สุดแล้ว แต่ไม่กังวลหรือกดดัน

ชาวบ้านกระซิบ-ช่วยสอดส่อง

จีรานา บอกว่า สำหรับพื้นที่รับผิดชอบ แม้จะยังไม่เจอผู้ป่วยติดเชื้อ แต่ได้อาศัยระบบชาวบ้านในชุมชนช่วยกันสอดส่อง เพราะบ้านแต่ละหลัง เขาจะบอกให้ช่วยกัน ว่าบ้านนี้เหลือกี่คน เพราะบางบ้านกลับมาจาก กทม.ก็ต้องเข้าไปสอบถามเพื่อรายงานชื่อคนเข้า คนออกในบ้าน ส่งต่อศูนย์โควิดอำเภอ ซึ่งโชคดีว่าที่นี่ชาวบ้านให้ความร่วมมือดีมาก ไม่ว่าจะเป็นการปรับพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันในระดับชุมชน เด็ก ผู้ใหญ่ และทำความเข้าใจตรงกันว่าอย่าปิดบังข้อมูลการเดินทางไปไหนมาไหนนอกพื้นที่

มีการปรับพฤติกรรมป้องกันโรคชัดเจน ออกจากบ้านต้องใส่หน้ากากอนามัย ยืนซื้อของในชุมชนเว้นระยะห่างกัน เด็กวัยรุ่นก็ไม่มามั่วสุม ทุกคนรับรู้ข่าวสารและช่วยกันป้องกันตัวเอง แม้แต่เด็กเล็ก
สนง.สาธารณสุขอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

สนง.สาธารณสุขอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

สนง.สาธารณสุขอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

 

เมื่อถามระบบการคัดกรองผู้ป่วยในชุมชนบ้านนา มีเพียงเคสเดียวที่เกิดขึ้น เป็นแค่กลุ่มเสี่ยงแต่ยังไม่ถึงกับป่วย COVID-19 เนื่องจากคนในครอบครัวนี้เดินทางไปธุระที่ จ.นราธิวาส แล้วกลับมาเกิดมีอาการลักษณะคล้ายจะป่วย มีไข้ ปวดเมื่อยตัว เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 เม.ย.ที่ผ่านมา จึงประสานให้ทางโรงพยาบาลจะนะ ที่เป็นศูนย์รับส่งผู้ป่วยรับไปตรวจหาเชื้อ ล่าสุดเมื่อวานนี้ (16 เม.ย.) ผลตรวจเป็นลบ คือไม่ติดเชื้อ COVID-19 แต่ยังต้องเฝ้าระวังอีก 14 วันทุกคนต้องกักตัวเองเหมือนดิม

คนในครอบครัวก็ต้องเฝ้าระวังอยู่ ส่วน อสม.ก็ติดตามอาการ ซึ่งเคสนี้ก็จะให้วัดไข้รายงานผลจนครบ 14 วัน และจะเข้าไปติดตามเป็นระยะๆ เพราะถือเป็น Home quarantine

อ่านข่าวเพิ่ม อสม.เคาะประตูบ้านแล้ว 11.8 ล้านหลัง พบกลุ่มเสี่ยงกว่า 6 แสนคน

เจาะเลือด-แจกยา-ติดตามผู้ป่วยติดเตียง

ประธานอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) กล่าวอีกว่า เนื่องจากสถานการณ์โรคนี้ ทำให้ผู้ป่วยติดเตียงและผู้ป่วยเรื้อรังที่ต้องรับยาจากโรงพยาบาล เช่น โรคหอบหืด ความดัน เบาหวาน ทางโรงพยาบาลเลี่ยงที่จะให้เดินทางมาโรงพยาบาล ดังนั้น อสม. ต้องช่วยในการวัดความดัน เจาะเลือด ส่งยาให้ตามบ้านต่างๆในพื้นที่เรียกว่าทำงานตั้งแต่เช้าถึงเย็น บางวันมี 10 ราย บางวัน 5 รายที่เราต้องไปติดตามเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลถึงหมอ และยาให้คนป่วย

ต้องช่วยเจาะเลือด นำอินซูลินใส่กระติกมาส่งให้ผู้ป่วย แจกยาผู้ป่วยเรื้อรัง และพูดคุยทำความเข้าใจกับสถานการณ์ของโรค ซึ่งถามว่าเหนื่อยหรือเปล่า ก็ไม่เหนื่อยนะ เพราะเราอาสามาทำงานตรงนี้ ทำแล้วมีความสุข 

เธอย้ำว่า ไม่อยากให้คนกลัวโรคมากเกินไป และก็ต้องไม่ลดความเสี่ยงโดยไม่ทำอะไรเลย แต่ต้องระวังตัวเอง ดูแลคนในครอบครัว ชุมชนร่วมกันก็ป้องกันโรคนี้ได้ ขณะเดียวกันตัว อสม.เองก็ต้องดูแลตัวเองให้ปลอดภัยด้วย

ภาพ: เพื่อนอสม.

ภาพ: เพื่อนอสม.

ภาพ: เพื่อนอสม.

ช่วยปรับทัศนคติคนในชุมชน-ไม่ตีตรา

นางทองลิ้ม ทุมสิทธิ์ บ้านดงขวาง หมู่ 8 ต.หนองใหญ่ อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด เล่าว่า ได้รับผิดชอบคนละ 6 ครัวเรือน ในการติดตามการกักตัวของกลุ่มเสี่ยงที่เดินทางกลับจาก กทม. ชลบุรี และระยอง ซึ่งมีทั้งอาชีพไกด์ พนักงานโรงงาน พนักงานส่งเอกสาร ส่วนใหญ่เดินทางกลับมาพื้นที่ก่อนสงกรานต์ กลุ่มนี้ต้องกักตัวเองที่บ้าน เพื่อเฝ้าระวังโรค 14 วัน

หน้าที่เราคือต้องให้เขาขึ้นทะเบียนกับผู้นำชุมชน และแจ้งไปที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และแจ้งไปทางอำเภอ แนะนำให้ความรู้เรื่องโรค การป้องกันตัว เข้าไปวัดไข้ทุกวันเพื่อรายงานตามขั้นตอนจนครบ

ภาพ: ทองลิ้ม ทุมสิทธิ์

ภาพ: ทองลิ้ม ทุมสิทธิ์

ภาพ: ทองลิ้ม ทุมสิทธิ์

 

สำหรับกลุ่มที่ดูแลกักตัวที่บ้าน ตอนนี้ทุกคนไม่มีอาการป่วยของโรค COVID-19 แรกๆ ก็มีดื้อ และงอแงบ้างเพราะเขามั่นใจว่าแข็งแรง พอหลายวันก็อยากจะออกนอกบ้านไปพบปะผู้คน

กรณีแบบนี้ถ้าพูดไม่ฟัง ก็จะประสานคณะกรรมการระดับตำบล เข้ามาตักเตือน และนำทีมรพ.สต.ชี้แจงให้เข้าใจว่าทำไมต้องเคร่งครัดและลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดในชุมชน สุดท้ายพอทุกคนครบกำหนดก็กลับมาใช้ชีวิตปกติ
ภาพ: ทองลิ้ม ทุมสิทธิ์

ภาพ: ทองลิ้ม ทุมสิทธิ์

ภาพ: ทองลิ้ม ทุมสิทธิ์

นอกจากนี้บทบาท อสม.ยังต้องเป็นสื่อกลางให้คนในชุมชนไม่รังเกียจคนที่กักตัวผ่านหอกระจายข่าวหมู่บ้าน รายงานสถานการณ์ทุกวัน ให้ความรู้การป้องกัน ทำให้ชาวบ้านแบบง่ายๆว่าเชื้อโรคถึงจะน่ากลัว แต่ป้องกันได้ และถ้าเกิดในตัวเราอย่าพยายามไปแพร่เชื้อให้คนอื่นๆ และอย่ารังเกียจกัน

ช่วงแรกยอมรับว่ากังวลนะ แต่ไม่กลัว เพราะตัวเองอาสามาเป็นจิตอาสาเรารู้วิธีที่จะป้องกันตัวเอง ทั้งใส่หน้ากากอนามัย และใส่เฟซชิลด์ และหมั่นทำความสะอาดล้างมือบ่อยๆ ไม่ให้ตัวเองป่วย เพื่อจะได้ดูแลคนอื่น
ทองลิ้ม ทุมสิทธิ์

ทองลิ้ม ทุมสิทธิ์

ทองลิ้ม ทุมสิทธิ์

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

WHO ชม อสม.ไทยเป็นพลังฮีโร่เงียบ สู้ COVID-19

บทบาท อสม. 3 จังหวัดใต้กับการสืบสวนผู้ป่วย COVID-19

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง