วันนี้ (21 เม.ย.2563) นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้กรมการแพทย์ได้ประสานความร่วมมือกับโรงเรียนแพทย์ เพื่อตั้งทีมวิจัยการสกัดพลาสมาจากเลือดผู้ป่วยที่หายแล้วมาวิจัย เพื่อหาวิธีการรักษาผู้ป่วยรายอื่น เนื่องจากตามหลักการของโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสอื่น ผู้ป่วยที่หายดีแล้วจะมีภูมิคุ้มกันในร่างกาย เมื่อนำมาสกัดพลาสมาจะใช้รักษาโรคได้ แต่ในกรณีของ COVID-19 เป็นโรคใหม่ ทำให้ยังไม่มีองค์ความรู้ทั้งหมด อยากขอบริจาคเลือดจากผู้ป่วยที่หายแล้วในช่วงเวลา 15-30 วัน เพื่อนำมาศึกษาวิจัยภูมิต้านทานว่ามีอยู่จริงหรือไม่
ทีมวิจัยที่ตั้งขึ้นจะไปขอเก็บเลือดผู้ที่หายป่วยแล้ว 15-30 วัน เพื่อดูว่ามีภูมิต้านทานต่อโรคนี้จริงหรือไม่ ซึ่งทั้งหมดกำลังจัดเตรียมอยู่
อ่านข่าวเพิ่ม "มิสเตอร์ป๋อง-ลิเดีย-แมทธิว" พบหมอหลังชนะ COVID-19
อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า การตั้งทีมในการศึกษาวิจัยเรื่องนี้โดยเฉพาะ เพราะโรคไวรัสทั่วไปมีข่าวว่าสามารถทำได้ในบางโรค แต่ COVID-19 เป็นโรคใหม่ที่ยังไม่มีความรู้อย่างเพียงพอว่าจะทำได้หรือไม่
นำร่องกทม.-ภูเก็ต-นนทบุรี ค้นหาผู้ป่วย
ด้านนพ.อนุพงศ์ สุจริยากุล ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า แนวการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก (Active Case Finding) จากในพื้นที่จ.ภูเก็ตที่ระบาดต่อเนื่องมา 2 เดือนขณะนี้เริ่มคุมได้ พบว่าสถิติการตรวจหาผู้ป่วยด้วยวิธี PCR ใน จ.ภูเก็ต มีอัตราผลบวกอยู่ที่ร้อยละ 4.65 ส่วนกลุ่มเสี่ยงสูงผลบวกอยู่ที่ร้อยละ 6.28 ถือว่าเป็นตัวเลขที่น่าพอใจ เป็นองค์ความรู้ที่จะนำไปขยายผลต่อด้วยมาตรการเชิงรุกที่ได้มาตรฐาน
ขณะนี้เริ่มในพื้นที่เมืองพัทยา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และใน กทม. 2 จุด คือ บางเขน และคลองเตย สามารถค้นพบผู้ติดเชื้อในชุมชนป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้างได้
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไขคำตอบ! ทำไมต้องการ "พลาสมา" คนหายป่วยสู้ COVID-19
สภากาชาดไทยชวนบริจาค "พลาสมา" ช่วยผู้ป่วย COVID-19