ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

WHO เปิดใจ "พยาบาล" รับผู้ป่วย COVID-19 คนแรกของไทย

สังคม
22 เม.ย. 63
11:45
2,653
Logo Thai PBS
WHO เปิดใจ "พยาบาล" รับผู้ป่วย COVID-19 คนแรกของไทย
องค์การอนามัยโลก เปิดใจบุคลากรทางการแพทย์สถาบันบำราศนราดูร หลังการต่อสู้กับโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 มา 100 วัน

วันนี้ (22 เม.ย.2563) ในขณะที่หลายคนได้ WORK FROM HOME (ทำงานจากบ้าน) และอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ บุคลากรทางการแพทย์กำลังปฏิบัติหน้าที่อย่างไม่หยุดหย่อนในการรับมือกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2039

องค์การอนามัยโลก เปิดเผยถึงความรู้สึกบุคลากรทางการแพทย์เกี่ยวกับการทำงาน และสิ่งที่คนไทยจะสามารถทำได้เพื่อปกป้องพวกเขาเหล่านั้นในวันที่โรค COVID-19 กำลังแพร่ระบาด

น.ส.จิดาภา สุจันทร์ พยาบาลวิชาชีพของสถาบันบำราศนราดูร เล่าถึงปฏิบัติหน้าที่มา 5 ปี แต่เป็นประสบการณ์ครั้งแรกที่ไปรับผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่สนามบินว่า วันนั้นเป็นวันที่ 8 ม.ค. สถาบันฯ ได้รับแจ้งให้ไปรับผู้ป่วยที่สนามบิน ขณะเดียวกับที่กำลังเข้าเวรที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

ภาพ : UN Women/Pathumporn Thongking

ภาพ : UN Women/Pathumporn Thongking

ภาพ : UN Women/Pathumporn Thongking


ผู้ป่วยโรค COVID-19 คนแรกที่ไปรับ ต่อมาได้รับการยืนยันว่าเป็นผู้ป่วยโรค COVID-19 คนแรกของประเทศไทย เป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากประเทศจีน เมื่อตรวจวัดอุณหภูมิที่สนามบิน พบว่ามีไข้ เจ้าหน้าที่ประจำสนามบินจึงติดต่อมายังสถาบันบำราศนราดูรซึ่งเป็นสถาบันหลักของประเทศไทยในการดูแลผู้ป่วยโรคติดต่ออันตราย โรคติดเชื้อ โรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำและโรคติดต่ออื่นๆ

ตอนนั้นรู้สึกกลัวเพราะไม่เคยมีความเสี่ยงแบบนี้มาก่อน และกลัวว่าตัวเองจะติดเชื้อ

น.ส.จิดาภา เล่าว่า การไปรับผู้ป่วยที่สนามบินในครั้งนั้นและอีก 3-4 ครั้งถัดมา ได้ใส่ชุดป้องกันการติดเชื้อหรือ PPE ทั้งหน้ากาก N95 แว่นตา Face Shield หมวก ถุงมือ ถุงเท้าพลาสติกและรองเท้าบูท และหลังจากที่ไปรับมาแล้วทุกครั้งตนจะสังเกตอาการโดยการวัดไข้ตัวเองเช้าและเย็นทุกวันเป็นเวลา 14 วัน

ภาพ : UN Women/Pathumporn Thongking

ภาพ : UN Women/Pathumporn Thongking

ภาพ : UN Women/Pathumporn Thongking

เราคิดเสมอว่าทุกคนที่มารับบริการที่สถาบันฯ อาจเป็นโรค COVID- 19 เราต้องป้องกันตัวเอง อย่างน้อยเราต้องใส่หน้ากาก N 95 หรือหน้ากากทางการแพทย์

การใช้อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อว่าต้องใช้อย่างคุ้มค่า เมื่อสวมชุด PPE เจ้าหน้าที่จะปฏิบัติหน้าที่ติดต่อกัน 4 ชั่วโมง เพื่อที่จะไม่ต้องเปลี่ยนและทิ้งชุด PPE บ่อยๆ

เราต้องการใช้อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้ออย่างประหยัดโดยที่เจ้าหน้าที่ปลอดภัยด้วย

ทั้งนี้ ช่วงเวลา 100 วันที่ผ่านมา นับตั้งแต่โรค COVID-19 แพร่ระบาดในประเทศไทย บุคลากรทางแพทย์ไทยทำงานอย่างไม่หยุดหย่อน พว.จิดาภา เล่าว่า เธอทำงานมากขึ้นและไม่ได้กลับบ้านไปหาพ่อแม่ที่ต่างจังหวัดในช่วงสงกรานต์

ชุด PPE - หน้ากาก N95 ชุดเกราะป้องกันทีมแพทย์

ขณะที่ นางสุทธิพร เทรูยา รองผู้อำนวยการสถาบันบำราศนราดูร ฝ่ายการพยาบาล กล่าวว่า ณ ตอนนั้นกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ทราบแล้วว่าในต่างประเทศมีสถานการณ์โรคติดต่อ ตอนนั้นเรียกว่าโรคปอดอักเสบรุนแรงจากเชื้อไวรัส แต่ยังไม่ทราบว่าสายพันธุ์ไหนและสาเหตุเกิดจากอะไร

เมื่อเราได้รับโทรศัพท์ว่ามีเคสจากประเทศจีนเดินทางมาถึงสนามบิน ให้สถาบันบำราศนราดูรไปรับผู้ป่วย ณ ตอนนั้นถามว่าน้องๆ พยาบาลที่ไปรับกลัวไหม ตอบว่าทุกคนมีความกลัวอยู่ในใจ แต่ในความกลัวเราก็มีสติ เราได้มีการวางแผนการออกไปรับผู้ป่วยที่สนามบิน เตรียมทีมและชุดอุปกรณ์ป้องกันร่างกายขั้นสูงสุด

ภาพ : UN Women/Pathumporn Thongking

ภาพ : UN Women/Pathumporn Thongking

ภาพ : UN Women/Pathumporn Thongking

เรากำลังสู้กับเชื้อโรค อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญที่สุดสำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานด้านโรคติดต่อ โดยอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อเปรียบเสมือนเสื้อเกราะ

เจ้าหน้าที่ต้องนับเลยว่าในแต่ละวันใช้อะไรกี่ชิ้น ตอนแรกเตรียมสำหรับ 1 เดือน ต่อมาเมื่อเริ่มมีการระบาดมากขึ้น ก็เตรียมสำหรับ 3 เดือน ตอนนี้ก็เตรียมล่วงหน้าต่อไปอีก

ภาพ : UN Women/Pathumporn Thongking

ภาพ : UN Women/Pathumporn Thongking

ภาพ : UN Women/Pathumporn Thongking


นอกจากนี้ ทุกคนในสถาบันฯ ยังได้รับการฝึกซ้อมการใส่อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อหรือที่เรียกว่าชุด PPE ทุกคนจะรู้ว่าหน้ากาก N95 ของตัวเองขนาดอะไร Face shield ใส่ตำแหน่งไหนจะได้ไม่หลุดและยังซ้อมถอด ถอดอย่างไรไม่ให้สิ่งที่ปนเปื้อนกลับเข้ามาในร่างกาย

ทำงาน 37 ปี กับโรคระบาดที่คนไข้มากที่สุดครั้งแรก

คุณอารมณ์ ดิษฐขัมภะ พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ ของสถาบันบำราศนราดูร กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 37 ปี ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะหัวหน้าตึก ICU และปัจจุบันเป็นหัวหน้าหน่วยงานตึกแยกโรค (7/2) ไม่เคยเจอสถานการณ์ที่คนไข้มารับการรักษาจำนวนมากขนาดนี้มาก่อน สถาบันฯ เคยดูแลคนไข้ที่เป็นโรคติดต่อ โรคติดเชื้อ เช่น โรคซาร์ส เมอร์ส และอีโบลามาแล้ว แต่ตอนนั้นมีคนไข้แค่ไม่กี่คน

ปัจจุบันห้องแยกโรคความดันลบของสถาบันฯ เต็มทุกห้อง เมื่อคนไข้เก่าย้ายออก ก็จะมีคนไข้ใหม่ย้ายเข้ามาแทน
ภาพ : UN Women/Pathumporn Thongking

ภาพ : UN Women/Pathumporn Thongking

ภาพ : UN Women/Pathumporn Thongking


อารมณ์ กล่าวว่า โรคนี้น่ากลัวเพราะการแพร่ระบาดขยายวงกว้างอย่างรวดเร็ว แต่พอเห็นคนไข้ที่มาแต่ละคน คนไข้น่าสงสารและอยากทำงานอย่างเต็มความสามารถในการดูแลคนไข้

ไม่ถึงกับกลัว เพราะสถาบันฯ ได้มีการเตรียมความพร้อมเรื่องระบบห้องความดันลบ การซ้อมใส่และถอดชุด PPE การซ้อมแผนรับผู้ป่วยโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำทุกปี
ภาพ : UN Women/Pathumporn Thongking

ภาพ : UN Women/Pathumporn Thongking

ภาพ : UN Women/Pathumporn Thongking


สำหรับข่าวที่บุคลากรทางการแพทย์ทั้งในและต่างประเทศติดเชื้อจากการปฏิบัติหน้าที่ ก็ต้องหวังว่าบุคลากรทางการแพทย์ทุกคนในประเทศไทยจะยังได้รับการคุ้มครองอย่างต่อเนื่อง ทั้งเรื่องการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้ออย่างเพียงพอ การพิจารณาเรื่องค่าเสี่ยงภัยเพิ่มเติมและการประกันชีวิต

 

ทีมแพทย์ให้กำลังใจกันสู้ไวรัส

นางขวัญใจ มอนไธสง พยาบาลวิชาชีพ สถาบันบำราศนราดูรกล่าวถึงเจ้าหน้าที่ที่สถาบันฯ ว่า ทุกคนใจสู้ เพื่อนร่วมงานทุกคนให้กำลังใจและสนับสนุนซึ่งกันและกัน ครอบครัวก็เข้าใจ รวมทั้งสถาบันฯ ก็ได้รับกำลังใจทั้งทางโซเชียล ทั้งที่มาเอง สิ่งเหล่านี้คือกำลังใจที่ยิ่งใหญ่เจ้าหน้าที่ทุกคนที่กำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ ณ ขณะนี้

ภาพ : UN Women/Pathumporn Thongking

ภาพ : UN Women/Pathumporn Thongking

ภาพ : UN Women/Pathumporn Thongking


นพ.แดเนียล เคอร์เทสซ์
ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย เชื่อว่า ประชาชนมีบทบาทสำคัญที่สุดในการควบคุมการแพร่ระบาด โดยทุกคนสามารถป้องกันตนเองและคนรอบข้างได้โดยการปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยขั้นพื้นฐานอย่างเคร่งครัดเช่นการล้างมือบ่อยๆ

หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า ปิดปากขณะไอหรือจามด้วยแขนเสื้อ รักษาระยะห่างจากคนรอบข้าง 1-2 เมตรและอยู่บ้านให้มากที่สุด เราทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการยุติการระบาด ปกป้องเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและระบบสาธารณสุขของประเทศไทย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง