ใครไม่ไหว ถูกคัดออก เป็นกฎเหล็กสำคัญในการฝึกนักเรียน "กู้ภัยปฏิบัติการพิเศษ"
ระยะทางกว่า 10 กิโลเมตร อาจเป็นเพียงแค่ก้าวแรก หากต้องต้องวิ่ง เพื่อทดสอบสภาพร่างกายว่าพร้อมฝึกครั้งนี้หรือไม่ แม้ยังไม่หายเหนื่อยล้าจากการวิ่ง แต่การพิสูจน์สมรรถภาพหากต้องเผชิญการทำงานต่อเนื่อง การน้ำในทะเล ระยะทางกว่า 3.5 กิโลเมตร ที่ต้องเผชิญทั้งคลื่น กระแสน้ำ และแรงกดดันจากครูฝึก ก็เป็นเพียงก้าวแรก เพื่อทดสอบร่างกายและจิตใจ
![](https://news.thaipbs.or.th/media/BRpLwT0TYaGXOF4tXiL7P2Xr00QcjrY35hECA1ilBAPQY.png)
ในเบื้องต้นและอาจทำให้หลายคนต้องยอม ถูกคัดตัวออกจากการฝึกมีเพียงคนที่พร้อม เพื่อการ กู้ภัยเท่านั้นที่ได้ไปต่อ นักเรียนหลักสูตรกู้ภัยปฏิบัติการพิเศษ บอกว่า
ฝึกหนักๆ แบบนี้ไม่เคย เป็นครั้งแรกปกติจะฝึกกับครู เช่น ฝึกดำน้ำ ว่ายน้ำปกติ
เรือยางเป็นทักษะที่ นักเรียน "กู้ภัยปฏิบัติการพิเศษ" ต้องเรียนรู้ เพราะในหลายสถานการณ์อุบัติภัย การใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ก็เป็นสิ่งสำคัญ อาจไม่ใช่ทักษะทางวิชาการในการใช้เรือยาง แต่ในสถานการณ์ที่มีข้อจำกัด พวกเขาอาจต้องเผชิญกับอุปสรรคหลายอย่าง รวมไปถึงการแบกเรือยางที่พวกเขาต้องร่วมกันแบกเพื่อวิ่งกว่า 5 กิโลเมตร
![](https://news.thaipbs.or.th/media/TSNBg3wSBdng7ijM8Gvv5PalfD9KkLO4rSdIaTHnt09.png)
เสียงประทัดดังขึ้นในช่วงเที่ยงคืนหลังพวกเขาถูกปล่อยให้เข้าพักไม่ถึง 2 ชั่วโมง ครูฝึกปลุกพวกเขาให้ตื่นขึ้นมาอีกครั้งก่อนที่เรียกรวมแถวที่ลานฝึก เพื่อฝึกให้พวกเขาได้มีความพร้อม ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา เพราะสถานการณ์อุบัติภัยต่างๆ ในสถานการณ์เกิดขึ้นจริง มักจะมาแบบไม่ทันตั้งตัว
กู้ภัยปฏิบัติการพิเศษ เป็นหลักสูตรที่มูลนิธิสว่างเมธีธรรมสถานสามร้อยยอด ร่วมกับ ทหารเรือ และศูนย์บรรเทาสถารณะภัยภาค 4 ออกแบบสูตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและทักษะพิเศษในการกู้ภัยทางน้ำ
![](https://news.thaipbs.or.th/media/TSNBg3wSBdng7ijM8Gvv5PalfD9KkLQxQrmw4iD1uIK.png)
ร.อ.ฐาพล สมสกุล ผอ.สำนักงานประสานภารกิจด้านความมั่นคงกับ กอ.รมน.กองทัพเรือ กล่าวว่า กู้ภัยชุดนี้ต้องมีความคงทนทางด้านร่างกาย ถ้าร่างกายแข็งแรง จิตใจจะเข้มแข็งตามมา เมื่อมีความรู้ทางทฤษฎีแล้ว จะมีความมั่นใจเพิ่มขึ้น และจาก 30 คน ก็จะเหลือคนที่ผ่านการฝึก 21 คน เมื่อเกิดภัยพิบัติทางทะเล คลื่นลมเขาจะคงทนต่อทะเล และว่ายน้ำได้เมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ
![](https://news.thaipbs.or.th/media/TSNBg3wSBdng7ijM8Gvv5PalfD9KkLRfpm4txDTxQaU.png)
อาสาสมัครกู้ภัย ที่สมัครใจเข้าร่วมล้วนมีความหวังว่าการฝึกครั้งนี้ จะทำให้พวกเขามีความรู้ และทักษะเพิ่มเติม เพื่อนำไปปรับใช้กับการทำงานจริงหลังจากผ่านหลักสูตรนี้ นอกจากสภาพร่างกายและจิตใจที่ต้องพร้อมต่อการฝึกในหลักสูตร เพื่อนำไปใช้ในสถานการณ์จริงได้แล้ว
เนื่องจากเป็นจิตอาสาของมูลนิธิกุศลศรัทธา จ.สุราษฎร์ธานี จึงมามาสมัครหลักสูตรนี้ แต่ไม่รู้มาก่อนว่า จะฝึกทักษะ และทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายสูงมาก แต่จะใช้ความรู้ไปช่วยเหลือสังคม
![](https://news.thaipbs.or.th/media/TSNBg3wSBdng7ijM8Gvv5PalfD9KkLMnswcXOaDn1EC.png)
นายจารุ โชคบำรุง นักเรียนหลักสูตรกู้ภัยปฏิบัติการพิเศษ บอกับทีมข่าว ทั้งนี้ทักษะในการดำน้ำที่ต้องฝึกให้สามารถ ประเมิน วิเคราะห์ และบริหารความเสี่ยงได้ในสถานการณ์จริง เป็นอีกส่วนสำคัญที่ นักเรียน "กู้ภัยปฏิบัติการพิเศษ" ต้องเรียนรู้