วันนี้ (28 ก.ค.2563) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกแถลงการณ์กรณีคําสั่งไม่ฟ้องคดีอาญา "นายวรยุทธ อยู่วิทยา" ตามที่ได้มีการนําเสนอข่าวเกี่ยวกับการยุติการดําเนินคดีอาญากับนายวรยุทธ อยู่วิทยา ซึ่งถูกตั้งข้อหาเป็นคดีอาญา 5 ข้อหา รวมถึงข้อหาขับรถโดยประมาททําให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โดยที่ทั้ง 5 ข้อหานี้ หากมีการดําเนินคดีอาญาและต่อสู้คดีกันตามปกติ แม้พิสูจน์ได้ว่าผู้ถูกกล่าวหากระทําความผิดจริง ก็มีโอกาสที่ศาลจะพิพากษารอการกําหนดโทษหรือรอการลงโทษ
อย่างไรก็ตาม ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีความพยายามในการช่วยเหลือผู้ถูกกล่าวหาซึ่งมีสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจที่ดียิ่ง ให้รอดพ้นจากการถูกดําเนินคดีมาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ จนเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบางคนที่ให้การช่วยเหลือผู้ถูกกล่าวหาถูกลงโทษทางวินัย ในขณะที่ผู้ถูกกล่าวหาเองได้รับอนุญาตให้เดินทางออกนอกประเทศและไม่ได้กลับมาต่อสู้คดีตามปกติเป็นเวลาต่อเนื่องยาวนานหลายปีข้อเท็จจริงที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเหตุให้สังคมเกิดความเคลือบแคลงสงสัยในความโปร่งใสและประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และคอยติดตามความคืบหน้าของการดําเนินคดีด้วยความวิตกกังวลอย่างยิ่ง
แม้เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าการดําเนินคดีและผลของคดีอาญาในคดีจะมีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมของประเทศในภาพรวม การดําเนินคดีอาญาในคดีนี้กลับเป็นไปด้วยความล่าช้าจนทําให้คดีขาดอายุความไป 3 ข้อหา ในขณะที่ข้อหาขับรถโดยประมาททําให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ซึ่งเป็นข้อหาที่อุกฉกรรจ์ที่สุดในบรรดาข้อหาทั้งหมดและเจ้าพนักงานยังมีโอกาสพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกกล่าวหาไปจนถึงปี 2570 สํานักงานอัยการสูงสุดกลับมีคําสั่งไม่ฟ้อง และสํานักงานตํารวจแห่งชาติไม่แย้งคําสั่งไม่ฟ้องดังกล่าว ทั้งที่ได้เคยมีการออกหมายจับไปแล้วก่อนหน้าและมีการแจ้งให้สาธารณชนทราบเมื่อไม่นานมานี้ว่า อยู่ระหว่างการดําเนินคดีโดยไม่ได้ชี้แจงเหตุผลให้ประชาชนทราบอย่างชัดเจนถึงการเปลี่ยนแปลงคําสั่งและดุลยพินิจซํ้าร้ายสังคมกลับทราบข่าวการสั่งไม่ฟ้องจากสื่อต่างประเทศ
นอกจากนี้ รายงานการตรวจพบสารเสพติดในตัวผู้ถูกกล่าวหาซึ่งปรากฏเป็นข่าวอยู่ในขณะนี้ทําให้สังคมเกิดความเคลือบแคลงสงสัยการใช้ดุลยพินิจสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาผู้ถูกกล่าวหาในข้อหาขับรถขณะเมาสุราที่ได้ยุติไปก่อนหน้าและการไม่ดําเนินคดีอาญาใดๆ ที่เกี่ยวข้องการตรวจพบสารเสพติดในร่างกาย
แม้ว่าตามกฎหมาย พนักงานอัยการจะมีดุลยพินิจในการสั่งคดีไม่ว่าจะเป็นการสั่งฟ้องหรือการสั่งไม่ฟ้องบนพื้นฐานของพยานหลักฐาน ว่าพอเพียงที่จะดําเนินคดีหรือไม่และรับฟังได้เพียงใด หรือบนพื้นฐานของประโยชน์สาธารณะ แต่การใช้ดุลยพินิจดังกล่าวจะต้องมีเหตุผลที่หนักแน่น
โดยเฉพาะคดีที่มีผลกระทบอย่างยิ่งต่อความเชื่อมั่นของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมของประเทศอย่างเช่นคดีนี้ยิ่งต้องแสดงเหตุผลที่หนักแน่นมากเป็นพิเศษ เพื่อแสดงให้เห็นถึงการดําเนินคดีอาญาที่โปร่งใส เป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติซึ่งจะช่วยคลายความวิตกกังวลของสาธารณชน
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เริ่มมีการดําเนินคดีอาญากับผู้ถูกกล่าวหาเมื่อปี 2555 จวบจนปัจจุบัน ความเคลือบแคลงสงสัยของสังคมมีแต่จะเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่คําชี้แจงหรือคําอธิบายต่อการดําเนินการและผลทางคดีกลับไม่ชัดเจน ไม่มีเหตุผลหนักแน่นเพียงพอ และบางครั้งมีความขัดแย้งกันเอง สร้างความไม่พอใจและเสื่อมศรัทธาต่อกระบวนการยุติธรรมในหมู่ประชาชนอย่างกว้างขวาง และส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาของนานาชาติ
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าสังคมไทยมีความเหลื่อมลํ้าทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาประชาชนจํานวนมากตั้งคําถามเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมที่เหลื่อมลํ้าและเลือกปฏิบัติเพราะเหตุของความแตกต่างทางเศรษฐกิจและสถานะทางสังคม จนเกิดวาทกรรม “คุกมีไว้ขังคนจน” ในขณะที่บุคลากรส่วนใหญ่ในกระบวนการยุติธรรมและผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายพยายามอย่างยิ่งในการปฏิบัติหน้าที่ภายใต้กฎหมายด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและพยายามกอบกู้ศรัทธาของประชาชนที่มีต่อกระบวนการยุติธรรมของประเทศ
หลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรวมถึงการดําเนินคดีอาญาต่อนายวรยุทธอยู่วิทยา ทําให้ความพยายามดังกล่าวไร้ความหมายในสายตาของประชาชาชน และการวิพากษ์วิจารณ์ของสังคมที่มีต่อองค์กรและบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมบั่นทอนกําลังใจของผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริตและเที่ยงธรรมเพื่อธํารงไว้ซึ่งหลักความเสมอภาคภายใต้กฎหมายและหลักนิติรัฐ เพื่อกอบกู้ศรัทธาของประชาชนที่มีต่อกระบวนการยุติธรรมของไทย และเพื่อรักษากําลังใจของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปด้วย
ความสุจริตเที่ยงธรรมและด้วยความภาคภูมิใจ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการผลิตบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเรียกร้องให้สํานักงานอัยการสูงสุดและสํานักงานตํารวจแห่งชาติดําเนินการดังต่อไปนี้โดยเร็ว 1.ชี้แจงขั้นตอนการดําเนินการคดีอาญากับนายวรยุทธ อยู่วิทยา โดยละเอียดและอธิบายเหตุผลอย่างชัดเจนถึงผลของคดีที่ขาดอายุความและการใช้ดุลยพินิจไม่ฟ้องคดีอาญา และ 2. ตรวจสอบว่าการดําเนินการและการใช้ดุลยพินิจดังกล่าวถูกต้องตามกฎหมาย สุจริตและโปร่งใสหรือไม่ และหากพบว่ามีการดําเนินการหรือการใช้ดุลยพินิจในขั้นตอนใดไม่เป็นไปตามกฎหมาย ไม่สุจริต หรือไม่โปร่งใส ให้พิจารณาดําเนินการและใช้ดุลยพินิจใหม่ให้ถูกต้อง
คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- รศ.ดร.มุนินทร์พงศาปาน
- รศ.ดร.สุปรียา แก้วละเอียด
- รศ.ดร.ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์
- ผศ.ดร.รณกรณ์ บุญมี
- รศ.ดร.นิรมัย พิศแข มั่นจิตร
- รศ.ดร.สมเกียรติ วรปัญญาอนันต์
- รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร
- ผศ.ดร.นพร โพธิ์พัฒนชัย
- ผศ.ทวีศักดิ์ เอื้ออมรวนิช
- ผศ.ดร.เอมผกา เตชะอภัยคุณ
- อาจารย์ปวีร์ เจนวีระนนท์
- อาจารย์เอื้อการย์ โสภาคดิษฐพงษ์
- อาจารย์เฉลิมวุฒิ ศรีพรหม
- อาจารย์ภัทรพงษ์ แสงไกร
- ผศ.กิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์
- ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล
- ศ.ดร.อุดม รัฐอมฤต
- ศ.ดร.สุเมธ ศิริคุณโชติ
- อาจารย์ปทิตตา ไชยปาน
- อาจารย์อัครวัฒน์ เลาวัณย์ศิริ
- ผศ.ดร.มาตาลักษณ์ เสรเมธากุล
- ผศ.ดร.กรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง
- อาจารย์สุรศักดิ์ บุญญานุกูลกิจ
- อาจารย์พวงรัตน์ ปฐมสิริรักษ์
- อาจารย์ ดร.นัษฐิกา ศรีพงษ์กุล
- อาจารย์จุฑามาศ ถิระวัฒน์
- อาจารย์ปรียาภรณ์ อุบลสวัสดิ์
- อาจารย์กรกนก บัววิเชียร
- อาจารย์กีระเกียรติ พระทัย
- อาจารย์เมษปิติ พูลสวัสดิ์
- อาจารย์กิตติภพ วังคํา
ม.ทักษิณ จี้ อสส. - ตร.ชี้แจ้งรายละเอียดคดี
ขณะที่ คณาจารย์คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ ก็ได้ออกแถลงการณ์ กรณีการดำเนินคดีอาญาต่อนายวรยุทธ อยู่วิทยา และผลของคดีอาญา โดยระบุว่า จากการดำเนินคดีและผลของคดีอาญา ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์เคลือบแคลงสงสัย สร้างความไม่พอใจต่อสาธารณชนอันมีผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของประเทศอย่างเป็นที่ประจักษ์และเป็นวงกว้างดังเป็นที่รับทราบอยู่ในขณะนี้ ซึ่งเกิดจากบุคลากรส่วนน้อยของกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น แต่จนถึงปัจจุบันหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวข้องกับคดีดังกล่าวยังไม่ได้ชี้แจงถึงขั้นตอน รายละเอียดและเหตุผลของการดำเนินคดีและผลของคดีดังกล่าวต่อสาธารณชนแต่อย่างใด
เมื่อการอำนวยความยุติธรรมเป็นปัจัยสำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาประเทศ ในการบริหารกระบวนการยุติธรมของประเทศจึต้องมุ่งสู่การเสริมสร้างสังคมนิติธรรมด้วยกระบวนการยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพและเอื้อให้ทุกภาคส่วนได้รับความป็นธรรมอย่งเสมอภาค ปราศจากการเลือกปฏิบัติ ตลอดจนการบังคับใช้กฎหมายป็นไปด้วยความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการผลิตบัณฑิตทางด้านนิติศาสตร์ คณาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จึงขอเรียกร้องให้สำนักงานอัยการสูงสุดและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ดำเนินการชี้แจงถึงขั้นตอน รายละเอียดและเหตุผลของการดำเนินคดีและผลของคดีทั้ง 5 ข้อหาให้สาธารณชนทราบโดยเร็ว
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
นัดแรก อสส.ประชุมสอบสำนวนคดี "บอส อยู่วิทยา"
สน.ทองหล่อ ยืนยันถอนหมายจับ "บอส" ตั้งแต่มิ.ย.แล้ว
อัยการไม่แจงคดี "บอส" เท่ากับตอกย้ำคุกมีไว้ขังคนจน
ต้องอ่าน! “ทฤษฎีสมคบคิด” ทำเป็นขบวนการ...คดีบอส อยู่วิทยา
โฆษก สตม.ยืนยัน "บอส อยู่วิทยา" ยังไม่เดินทางเข้าไทย