ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ประทับใจ! นาทีชาวประมงช่วย "เต่าตนุ" ติดซากอวน

สิ่งแวดล้อม
11 ม.ค. 64
17:25
664
Logo Thai PBS
ประทับใจ! นาทีชาวประมงช่วย "เต่าตนุ" ติดซากอวน
ชาวโซเชียลประทับใจ คลิปชาวประมง-กลุ่มอนุรักษ์หาดบางดี จ.นครศรีธรรมราช ช่วยชีวิตเต่าตนุติดซากอวนมัดแน่น รอดชีวิตก่อนถูกนำไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จนกว่าจะแข็งแรงปล่อยคืนธรรมชาติ

วันนี้ (11 ม.ค.2564) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊กของสมชาย ฉลาดแฉลม โพสต์คลิปเหตุการณ์นาทีชีวิตที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่  10 ม.ค.ที่ผ่านมา ระบุว่า กู้ชีวิต เต่าตนุ โดยได้รับแจ้งอนันต์ชัย ด่านวิทยากุล รองประธานสมาชิกชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลหาดบางดี ต.เสาเภา อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช พบเต่าตนุ ติดซากอวนมัดจนแน่น

ทีมงาน ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลหาดบางดี เสาเภา จึงได้ช่วยกันตัดเนื้ออวนที่มัดแน่น เพื่อช่วยเหลือชีวิตเต๋าตนุ ก่อนจะประสานสัตวแพทย์ ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เพื่อขอคำแนะนำในการช่วยเหลือเบื้องต้น ก่อนทางโรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จะมารับตัวไปรักษาดูแลต่อจนกว่าสุขภาพจะแข็งแรงดี ก่อนปล่อยกลับลงสู่ทะเลต่อไป

เต่าทะเล จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1 ตามพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ.2535 และเป็น 1 ใน 4 ชนิดของเต่าทะเล ที่พบได้ในน่านน้ำไทย

ขอบคุณ ทีมงานชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลหาดบางดี เภา ทุกท่าน ที่สามารถช่วยเหลือ เต่าตนุ ตัวนี้ให้รอดชีวิตมาได้ (เต่าตนุ จัดอยู่ในกลุ่ม สัตว์ทะเลหายาก)

10 มกราคม 2564 (กู้ชีวิต เต่าตนุ) รับแจ้งจากสมาชิก ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลหาดบางดี เสาเภา ท่านอนันต์ชัย ...

โพสต์โดย สมชาย ฉลาดแฉลม เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม 2021

 

ก่อนหน้านี้นายโสภณ ทองดี อธิบดีทช.กล่าวว่า สถิติสัตว์ทะเลหายากที่พบการเกยตื้น ช่วงปี 2562–2563 พบสัตว์ทะเลหายากจำพวกเต่าทะเล พะยูน โลมาและวาฬ เกยตื้นชนิดพบเป็นซากสะสมกว่า 970 ตัว สามารถช่วยรอดชีวิตกว่า 473 ตัว และสามารถปล่อยกลับลงสู่ทะเลกว่า 200 ตัว ที่ผ่านมา สาเหตุการตายหรือการเกยตื้นส่วนใหญ่ก็มีสาเหตุจากกิจกรรมมนุษย์ ทั้งจากเครื่องมือประมง กินขยะทะเล ปัญหามลพิษปนเปื้อนในน้ำทะเล การเสียชีวิตเนื่องจากโรคตามธรรมชาติ แต่หลายกรณียังไม่รู้สาเหตุการตายที่แน่ชัด เช่น พะยูนโดนตัดหัว ตัดเขี้ยว เป็นการตายแบบผิดธรรมชาติหรือไม่

นอกจากนี้ ทช. จึงร่วมกับทางจุฬาฯ และสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ใช้เทคนิคการพิสูจน์อัตลักษณ์จากศพคน มาสู่การพิสูจน์ในสัตว์ทะเลหายาก เพื่อหาคำตอบตายอีกด้วย

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ครั้งแรกของโลก! นิติวิทยาศาสตร์พิสูจน์อัตลักษณ์สัตว์ทะเลตาย

ทช.สรุปสัตว์ทะเลหายากตายคงที่กว่า 400 ตัวต่อปี

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง