ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

COVID-19 ระบาดแต่ละระลอก รัฐมีมาตรการอะไรบ้าง?

สังคม
16 เม.ย. 64
23:14
11,907
Logo Thai PBS
COVID-19 ระบาดแต่ละระลอก รัฐมีมาตรการอะไรบ้าง?
เราอยู่กับไวรัส COVID-19 กว่า 1 ปี ผ่านการระบาดมาแล้ว 2 ระลอก และดูเหมือนว่าอาจกำลังเข้าสู่ระลอกที่ 3 ซึ่งช่วงเวลาเดียวกับการระบาดครั้งแรกในไทยเมื่อปีก่อน แล้วที่ผ่านมาภาครัฐมีมาตรการอะไรบ้างในสถานการณ์แบบไหน

ระบาดรอบแรก 11 เดือน

ปลายธันวาคม 2562 มีรายงานผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่ไม่ทราบสาเหตุในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ก่อนจะมีการแพร่ระบาดไปหลายประเทศ

มกราคม 2563
-คัดกรองช่องทางเข้าออกประเทศทุกช่องทาง
-พบผู้ติดเชื้อในประเทศ
-ยกระดับศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินเป็นระดับ 3 และประกาศให้เป็นโรคติดเชื้ออันตรายลำดับที่ 14

กุมภาพันธ์ 2563
-รับคนไทยในอู่ฮั่นกลับประเทศ
-มีผู้ติดเชื้อเสียชีวิตคนแรก

มีนาคม 2563
-คลัสเตอร์สนามมวย
-คุมเข้มการเดินทางมาจากต่างประเทศ เช่น ต้องมีใบรับรองแพทย์ มีประกันสุขภาพ
-ห้ามข้าราชการ พนักงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ เดินทางไปต่างประเทศ
-กทม.และปริมณฑล ปิดสถานที่ต่างๆ เช่น สนามมวย สนามกีฬา สถาบันการศึกษา ร้านนวดแผนโบราณ สถานบันเทิง ห้ามนั่งในร้าน
-ยกเลิกวันหยุดสงกรานต์ 13-15 เม.ย.ให้หยุดวันอื่นทดแทน
-งดจัดกิจกรรมที่มีคนรวมตัวมาก เช่น คอนเสิร์ต งานแสดงสินค้า กิจกรรมทางศาสนาวัฒนธรรม
-ขอให้เหลื่อมเวลาทำงานและทำงานที่บ้าน
-เห็นชอบมาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคเป็นเวลา 3 เดือน เม.ย.-มิ.ย.63
-ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถึง เม.ย.63 ห้ามเข้าไปในพื้นที่สั่งห้าม ห้ามชุมนุม ห้ามเผยแพร่ข่าวปลอม
-ตั้งศูน์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโนนา 2019 (ศบค.)

เมษายน 2563
-ประกาศเคอร์ฟิวทั่วประเทศ ห้ามออกจากเคหสถานยามวิกาล 22.00-04.00 น.ยกเว้นบางอาชีพ
-เริ่มค้นหาโรคเชิงรุก
-ให้ประชาชนชะลอการเดินทางข้ามจังหวัด
-เลื่อนวันเปิดภาคเรียน จากเดิม ก.ค. เป็น ส.ค.
-ห้ามจัดงานเทศกาลสงกรานต์ในทุกระดับ
-ห้ามเข้าออก 14 จังหวัด/พื้นที่ ได้แก่ เชียงราย ตาก น่าน แพร่ ตราด บึงกาฬ ภูเก็ต สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส เมืองพัทยา และระนอง
-ห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
-นายกรัฐมนตรีส่งจดหมายถึงมหาเศรษฐีไทย 20 อันดับ ขอความสนับสนุนในการแก้ไขปัญหาร่วมกับรัฐบาล
-ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จำนวน 3 ฉบับ วงเงินรวม 1.9 ล้านล้านบาท

พฤษภาคม 2563
-ผ่อนปรนแบบกำหนดเงื่อนไข ระยะ 1 เช่น ตลาด ร้านอาหาร ค้าปลีก-ส่ง ร้านตัดผม
-ผ่อนปรนแบบกำหนดเงื่อนไข ระยะ 2 เช่น ห้างสรรพสินค้า สถานที่ออกกำลังกาย คลินิกเสริมความงาม กองถ่าย
-ผ่อนปรนแบบกำหนดเงื่อนไข ระยะ 3 เช่น ขยายเวลาห้างสรรพสินค้า ศูนย์พระเครื่อง โรงภาพยนตร์ ส่วนการเดินทางข้ามจังหวัดยังงดเว้นการท่องเที่ยว
-ลดระยะเวลาเคอร์ฟิว เป็น 23.00-3.00 น.
-คลัสเตอร์ศูนย์กักคนเข้าเมือง จ.สงขลา

มิถุนายน 2563
-ยกเลิกเคอร์ฟิว
-ผ่อนปรนระยะ 4 เช่น โรงแรม คอนเสิร์ต ร้านนวดแผนโบราณ เดินทางข้ามจังหวัดได้ ดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหารได้ แต่ยังคงปิดสถานบันเทิง
-ขยายเวลา พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถึง ก.ค.63

 

กรกฎาคม 2563
-พบผู้ติดเชื้อเป็นทหารอียิปต์และครอบครัวอุปทูตซูดานที่ไม่ได้กักตัว
-เปิดลงทะเบียนโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” เฟส 1 เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ

สิงหาคม 2563
-ทดลองผ่อนคลายกิจกรรมตามวิถีชีวิตแนวใหม่ (New normal) เช่น เปิดเรียนเต็มรูปแบบ ขนส่งสาธารณะสามารถมีผู้โดยสารเต็มความจุมาตรฐาน การแข่งขันกีฬาแบบมีผู้ชม
-ขยายเวลา พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถึง ก.ย.63

กันยายน 2563
-พบผู้ติดเชื้อในรอบ 100 วัน เป็นผู้ต้องขังใหม่ที่เคยเป็นดีเจ
-สิ้นสุดการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

ตุลาคม 2563
-เปิดลงทะเบียนโครงการ “คนละครึ่ง” เฟส 1 เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ

พฤศจิกายน 2563
-สั่งซื้อวัคซีน
-ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 45 วัน ตั้งแต่ 1 ธ.ค.63 - 15 ม.ค.64

ระบาดระลอกสอง 3 เดือน

ธันวาคม 2563
-คลัสเตอร์ตลาดกลางกุ้ง จ.สมุทรสาคร
-คลัสเตอร์บ่อนการพนัน
-กทม.ใช้มาตรการให้ลูกค้าสถานบันเทิงนั่งรับประทานอาหารเท่านั้น, ลดความหนาแน่นผู้ชมในสนามมวย, ห้ามรวมกลุ่มใหญ่ในสวนสาธารณะ, ห้ามวัดทำกิจกรรมที่มีคนหมู่มาก, โรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กที่อยู่ในพื้นที่เชื่อมต่อ จ.สมุทรสาคร ให้ปิดเรียนชั่วคราว, ตั้งจุดสกัดห้ามเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวเข้า กทม.
-20 ธ.ค.ประกาศสถาการณ์เข้าสู่การระบาดระลอกใหม่
-เปิดลงทะเบียนโครงการ “คนละครึ่ง” เฟส 2
-เปิดลงทะเบียนโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” เฟส 2

มกราคม 2564
-คลัสเตอร์ดีเจมะตูม
-ห้ามเข้าออกพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี และ ตราด ยกเว้นเหตุจำเป็นหรือเหตุฉุกเฉิน
-มีการแบ่งพื้นที่ตามระดับความเสี่ยง
-ปิดสถานศึกษาและสถานรับเลี้ยงเด็ก
-เปิดลงทะเบียนโครงการ “คนละครึ่ง” เฟส 2 รอบเพิ่มเติม
-เปิดลงทะเบียนโครงการ “เราชนะ”
-เปิดลงทะเบียนโครงการ “เราไม่ทิ้งกัน”

กุมภาพันธ์ 2564
-มาตรการลดค่าครองชีพ 2 เดือน ก.พ.-มี.ค. (ค่าประปา ไฟฟ้า) เพิ่มความเร็วอินเตอร์เน็ต 3 เดือน
-สนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ
-ขยายเวลา พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถึง 31 มี.ค.64
-ผ่อนปรนมาตรการเกือบทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยสมุทรสาครยังคงเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด อนุญาตให้บางสถานที่หรือกิจการเปิดให้บริการ แต่ยังคงปิดสถานศึกษา สถานบันเทิง หรือสถานีขนส่งสาธารณะต่อไป
-4 จังหวัดควบคุมสูง ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมะานี สมุทรปราการ ยังอยู่ในการควบคุม แต่ขยายเวลาเปิดร้านอาหารเได้ถึง 23.00 น.
-วัคซีนชุดแรกส่งถึงไทย 317,000 โดส
-เปิดลงทะเบียนโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” เฟส 3

มีนาคม 2564
-ฉีดวัคซีนล็อตแรกให้กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เสี่ยงสูงและพื้นที่เศรษฐกิจ
-เปิดลงทะเบียนโครงการ “เราชนะ” สำหรับกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ

ระบาดระลอกสาม

เมษายน 2564
-คลัสเตอร์สถานบันเทิง
-คลัสเตอร์เรือนจำนราธิวาส
-กำหนดมาตรการตามระดับของพื้นที่เสี่ยง แต่ไม่เคอร์ฟิว ไม่ล็อกดาวน์
-ปิดสถานบันเทิง และกำหนดเวลาปิดห้างสรรพสินค้า
-จัด รพ.สนาม และ Hospital เตรียมพร้อมรองรับ
-ยังสามารถเดินทางข้ามจังหวัดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ได้
-ไม่ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร แม้พบผู้ติดเชื้อไปร่วมจับสลาก

ล่าสุด แถลงวันที่ 16 เม.ย.ประกาศปิดสถานศึกษา ห้ามรวมกลุ่มเกิน 50 คน ปิดสถานบริการเสี่ยง ขอให้งดการเดินทางโดยเฉพาะจังหวัดควบคุมสูงสุด งดจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ พร้อมยกระดับมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดตามพื้นที่ ดังนี้

 

จังหวัดควบคุมสูงสุด 18 จังหวัด

  • นั่งรับประทานอาหารในร้านได้ถึง 21.00 น. แต่ให้ซื้อกลับบ้านได้ถึง 23.00 น.
  • ห้ามดื่มแอลกอฮลล์ในร้าน
  • ห้างสรรพสินค้าเปิดได้ถึง 21.00 น. แต่ปิดส่วนเครื่องเล่น ตู้เกม
  • ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาเก็ต ตลาดนัด ถนนคนเดิน เปิดได้ถึง 23.00 น. (ร้านสะดวกซื้อ 24 ชม.ให้เปิด 04.00 น.)
  • สถานที่ออกกำลังกาย ฟิตเนส เปิดได้ถึง 21.00 น.จัดการแข่งขันได้โดยจำกัดผู้ชม

จังหวัดควบคุม 59 จังหวัด

  • นั่งรับประทานอาหารในร้านได้ถึง 21.00 น.
  • ห้ามดื่มแอลกอฮลล์ในร้าน
  • ห้างสรรพสินค้าเปิดได้ถึง 21.00 น. แต่ปิดส่วนเครื่องเล่น ตู้เกม

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง