ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

มาอีกแล้ว! "พลายบุญช่วย" สงสัยติดใจอาหารแมว

Logo Thai PBS
มาอีกแล้ว! "พลายบุญช่วย" สงสัยติดใจอาหารแมว
เปิดคลิปเจรจาคนกับช้างป่าละอู ที่กำลังโด่งดังบนโลกโซเชียล "พลายบุญช่วย” ช้างเจ้าถิ่นป่าละอูติดใจรสชาติอาหารแมว ย้อนกลับมากินด้วยอารมณ์ดี เจ้าของบ้านกล่อมจนกลับเข้าป่า

วานนี้ (6 ก.ค.2564) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โซเชียลพากันแชร์คลิปน่ารักที่เป็นการเจรจาระหว่างช้างป่าละอูที่ชื่อ "พลายบุญช่วย" กับนายทองใบ เจริญดง ผู้ประสานงานสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า WCS ประเทศไทย เจ้าของเฟซบุ๊ก  Natthakan Charoendong ที่นำคลิปความยาว 2 นาทีมาเผยแพร่

อ้าวมาอีกแล้ว พี่ใหญ่ค้นหา อะไรเนี่ย ระวังเสื้อฉันเปื้อนนะ หาอะไร นั่นอาหารแมว ไม่มีอะไร ถอยหลังไปลูก ถอยหลังเร็วๆๆๆ หาอะไรครับพี่ เอาอีกแล้ว เคยมาเอาไปอีกแล้ว เบาๆครับ เบาๆครับ ถอยไป เบานะ เชิญเลยครับ

ซึ่งหลังจากสื่อสารกันอย่างอารมณ์ดี พลายบุญช่วย เริ่มค่อยๆเดินออกจากบ้าน แต่นายทองใบ ได้ร้องเตือนว่าให้ระวังรถยนต์ที่จอดอยู่

ค่อยเดินนะ ระวังๆ รถยนต์ ระวัง ถอยหลังลูก ถอยหลัง รถยนต์ เบาๆ ค่อยเดิน ระวังกระจก จนช้างค่อยๆเดินออกไป แต่ก็ยังบอกให้ระวังมอเตอร์ไซค์ที่จอดอยู่ข้างๆ  
ภาพ: Natthakan Charoendong

ภาพ: Natthakan Charoendong

ภาพ: Natthakan Charoendong

 

ทังนี้คลิปดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นศูนย์อนุรักษ์ช้างป่าแก่งกระจาน ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ นายทองใบ ระบุว่า เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อเวลา 20.15 น.ของวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา

ขณะพักผ่อนในบ้านพัก ต้องตกใจกับเสียงโครมครามอยู่ด้านหลังศูนย์ฯ ออกมาดู พบพลายบุญช่วย ช้างป่าละอูเจ้าถิ่นที่ชอบออกหากินตามเส้นทางสายพุไทร-ไทรเอน จึงใช้มือถือบันทึกภาพไว้ เพราะเมื่อสัปดาห์ก่อนก็เคยมาครั้งหนึ่ง และมากินอาหารแมว

สำหรับช้างตัวนี้ก่อนหน้าเคยโด่งดังบนโลกโซเชียล เนื่องจากเคยออกมาหาอาหารในครัวของชาวบ้าน จนทำให้กำแพงเสียหายเมื่อวันที่ 20 มิ.ย.ที่ผ่านมา จนกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ต้องช่วยซ่อมแซมครัวที่เสียหายให้ 

ก่อนหน้านี้เคยมีข้อเสนอจากชาวบ้าน ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ เสนอให้ย้ายช้างป่า 2 ตัว คือพลายบุญมี และบุญช่วย ที่มักจะพบเห็นออกมาในชุมชน ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของกรมอุทยานฯ ขณะที่มาตรการแก้ปัญหาช้างป่าที่เข้ามาหากินในพื้นที่ ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ และใกล้เคียงประมาณ 200 ตัว มีแผนที่จะสร้างแหล่งน้ำและแหล่งอาหารเข้าไปในพื้นที่ป่าประมาณ 3 กิโลเมตร จากนั้นจึงจะผลักดันช้างออกจากพื้นที่ชุมชนและแหล่งทำกินของชาวบ้าน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

"ช้างป่า" บุกพังครัวกลางดึก "หมอล็อต" เผยอาจได้กลิ่นอาหาร

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง