วันนี้ (19 ส.ค.2564) เครือข่ายองค์กรเอกชนเพื่อเด็ก ผู้หญิง และคนชรา เข้ายื่นหนังสือต่อตัวแทนพรรคการเมือง (พรรคพลังประชารัฐ, พรรคประชาธิปัตย์, พรรคภูมิใจไทย, พรรคเพื่อไทย, พรรคก้าวไกล, พรรคประชาชาติ, พรรคพลังท้องถิ่นไทย) เพื่อเรียกร้องขอให้พรรคการเมืองร่วมสนับสนุนนโยบายสวัสดิการการเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้าให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (กดยช.) และผลักดันให้รัฐบาลมีมาตรการป้องกันเยียวยาเด็กเล็กอายุ 0-6 ปี จากสถานการณ์โควิด-19
ตัวแทนคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กสู่ถ้วนหน้า นางสุนี ไชยรส ได้ขยายความถึงขอเรียกร้องดังกล่าว โดยยกโครงการที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน ที่ได้ดำเนินโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดตั้งแต่ปี 2558 และขยายความคุ้มครองแก่เด็กเล็กมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันขยายความคุ้มครองเด็กแรกเกิด 0-6 ปี โนวงเงิน 600 บาทต่อคนต่อเดือน ในกลุ่มที่มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนไม่เกิน 100,000 บาทต่อคนต่อปี ในปี 2564 ได้สนับสนุนเด็กเล็กไปประมาณ 2 ล้านคน
คณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กสู่ถ้วนหน้า ประกอบด้วย องค์กรภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อนงานในประเด็นเด็ก, เยาวชน, สตรี และผู้พิการ รวมถึงเครือข่ายแรงงานทั้งในและนอกระบบ และนักวิชาการซึ่งปัจจุบันมี
องค์กรสนับสนุนกว่า 300 องค์กรทั่วประเทศ มีข้อเรียกร้องให้รัฐบาลเปลี่ยนแปลงนโยบายให้เงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้าถึงนายกรัฐมนตรี และกระทรวงพัฒนาสังคมฯอย่างต่อเนื่อง มีความยินดีอย่างยิ่งที่มติการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (กดยช.) ได้สรุปถึง 2 ครั้ง เห็นชอบนโยบายสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้า แก่เด็กเล็กอายุ 0-6 ปี เดือนละ 600 บาทต่อคนต่อปี โดยเริ่มในปีงบประมาณ 2564 แต่รัฐบาลกลับเสนอร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2565 ไว้เพียง 16,000 ล้านบาท โดยไมได้เสนองบประมาณแก่เด็กเล็ก 4.2 ล้านคนทั่วประเทศตามมติ กดยช. ซึ่งเพิ่มงบประมาณปี 65 อีกเพียงประมาณ 15,000 ล้านบาทเท่านั้น แต่อุดหนุนเด็กเล็กเพิ่มอีกถึง 2.2 ล้านคนแบบถ้วนหน้า
พร้อมทั้งในขณะนี้ประเทศไทย กำลังเผชิญกับสถานการณ์โควิด-16 ที่รุนแรงมาก มีผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม เกิดคนจนใหม่และภาวะคนว่างงานเพิ่มอย่างรวดเร็ว ครอบครัวที่มีเด็กเล็กอายุ 0-6 ปีได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจสัดส่วนที่สูงกว่าครอบครัวที่ไม่มีเด็กเล็ก เช่น รายได้ลดมากกว่า 81% และมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นกว่า 50% เป็นหนี้นอกระบบเพิ่มขึ้น เด็กเล็กเข้าไม่ถึงบริการด้านสวัสดิการสังคมและสาธารณสุข ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปิดส่งผลต่อการเกิดภาวะขาดสารอาหาร ปัญหาพัฒนาการทางร่างกาย และสมองเสี่ยงต่อปัญหาความรุนแรงและ มีจำนวนเด็กเล็กที่ได้รับเชื้อโควิด-19 และเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ครอบครัวก็ได้รับเชื้อโควิด-19 จำนวนมากสถานการณ์ยากลำบากนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งรัดนโยบายสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กอายุ 0-6 ปีแบบถ้วนหน้า ซึ่งผ่านมติ กดยช. แล้วให้จัดสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้าเดือนละ 600 บาทต่อคนต่อเดือน ดำเนินการในปีงบประมาณ 2565
สำหรับข้อเรียกร้องจากทางคณะทำงานฯ ในนามเครือข่ายเด็กเท่ากัน ขอเรียกร้องนโยบายและมาตรการต่อนายกรัฐมตรี และคณะรัฐบาล คือ ขอให้นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ผ่านมติและจัดสรรงบประมาณในปี 2565 ตามนโยบายสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้าให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (กดยช.) ที่เห็นชอบในหลักการและแนวทางการจัดสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็ก 0-6 ปี จำนวน 600 บาท ต่อคนต่อเดือนแบบถ้วนหน้า
ขอให้มีมาตรการเชิงรุกช่วยเหลือเยียวยาจากผลกระทบโควิด-19 ให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องที่ต้องดูแลเด็กเล็ก ได้รับการฉีดวัคซีนโดยเร็ว และขอให้มีมาตราการลดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตเด็กเล็ก การดูแลด้านอาหารและส่งเสริมโภชนาการอแก่เด็กเล็กให้เข้าถึงบริการได้อย่างเต็มที่
ด้านตัวแทนนักการเมือง ระบุว่า เรื่องดังกล่าวเห็นควรต้องได้รับการสนับสนุน คิดว่าคงเป็นเรื่องไม่ยากที่จะดำเนินการ เพราะอ้าวอิงตามมติที่ประกาศก่อนหน้านี้ สำหรับหลังจากนี้จะเร่งดำเนินการ และทำตามขั้นตอนต่อไป