ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ถามใจผู้ประกอบการพร้อมแค่ไหน เมื่อไทยใกล้เปิดประเทศ

สังคม
12 ก.ย. 64
12:49
914
Logo Thai PBS
ถามใจผู้ประกอบการพร้อมแค่ไหน เมื่อไทยใกล้เปิดประเทศ
หลังจากที่ ศบค.เตรียมเปิดประเทศ ในวันที่ 1 ต.ค.ที่จะถึงนี้ ตามกำหนด 120 วัน รวมถึงการคลายล็อก หลังตัวเลขผู้ติดเชื้อมีแนวโน้มลดลง ไทยพีบีเอสออนไลน์ สัมภาษณ์ผู้ประกอบการรายย่อยว่าเตรียมรับมืออย่างไร

นั้บตั้งแต่วันที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ที่ประกาศเมื่อวันที่ 16 มิ.ย.2564 ที่ผ่านมาว่า จะเปิดประเทศภายใน 120 วัน หรือในช่วงเดือน ต.ค.ที่จะถึงนี้ รวมถึงท่าทีที่มีการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ มากขึ้นซึ่งอาจนำไปสู่การคลายล็อกในประเทศ

ในมุมมองของผู้ประกอบการที่พบว่าในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในหลายระลอกในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งได้สะท้อนความคิดต่อแนวโน้มการเปิดประเทศครั้งนี้ผ่านไทยพีบีเอสออนไลน์ โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อย 

 

กระทบหนักยอดขายลดเหลือ 30 % 

นายบรม ศรีหฤทัย หรือ ปั้น เจ้าของร้านเค้กสตูดิโอ365 (Cakestudio 365) เล่าว่า ตลอดการทำร้านเบเกอรี่เป็นเวลากว่า 10 ปี มีลูกค้าทั้งในและต่างจังหวัด ซึ่งรูปแบบของร้านจะเป็นการขายส่งเพื่อให้ลูกค้านำไปจำหนายต่อทั้งร้านอาหาร ร้านกาแฟ ซึ่งมีทั้งร้านที่ตั้งภายในห้างสรรพสินค้าและทั่วไป

 

ในช่วงการระบาดของ COVID-19 ค่อนข้างได้รับผลกระทบ เนื่องจากลูกค้าได้ลดจำนวนเค้กที่สั่งลง บางส่วนพักกิจการ และบางส่วนเลิกกิจการตอนนี้ประมาณจึงอยู่ที่ประมาณ 30 % โดยส่วนใหญ่เป็นร้านในกรุงเทพฯ


ขณะที่ร้านในต่างจังหวัดช่วงนี้ ได้หยุดไปก่อนเนื่องจากมีเรื่องของการขนส่งเค้กด้วย เนื่องจากเค้กบางส่วนต้องควบคุมอุณหภูมิ และการขนส่งที่ไม่ค่อยสะดวกในช่วงนี้ จึงหยุดและอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบต่าง ๆให้ดีขึ้น

ปกติการส่งขนมของร้านอยู่ที่ 8 รอบ ต่อสัปดาห์ ตอนนี้ก็เหลือประมาณ 3 รอบต่อสัปดาห์ ก็ลดลงไปค่อนข้างมาก


ขณะนี้การขายจะเน้นขาย B2B (Business to Business) เป็นหลักเพื่อให้สามารถควบคุมได้ และยืดหยุ่นในรายละเอียดมากขึ้น ขณะที่ B2C (Business to Customer) จะไม่มากนัก โดยการจะสั่งหากมีตรงมาเลยและสามารถจัดการได้ก็จะทำเพราะ การทำเบเกอร์รี่มีสลอตของเวลาที่เราวางแผนไว้ หากคลายเคลื่อนก็ต้องเริ่มใหม่หรือกระทบในขั้นตอนการผลิตค่อนข้างมาก

 

ขณะนี้ จึงเน้นการประคับประคองร้านให้อยู่ได้ ส่วนหนึ่งที่ร้านไม่มีภาระเรื่องค่าเช่า เพราะตั้งในพื้นที่ของบ้าน แต่มีส่วนของร้านที่แยกกัน และขณะนี้ก็เป็นผู้ที่ลงมือทำเบเกอรี่และขนมต่าง ๆ เพียงคนเดียว ซึ่งก็กระทบพอสมควรแต่ก็ต้องเตรียมพร้อมให้ดีที่สุด

ปรับตัวรักษาฐานลูกค้า


ดังนั้น “บรม” จึงต้องกลับมาปรับวิธีคิดการทำงานใหม่ จากแต่เดิมก่อสถานการณ์ COVID-19 เขาทำงานในหลากหลายด้านมาก ทั้งอาชีพช่างภาพนิตยสาร รับจ้างทำเค้ก รับจ้างจัดสวน ขายต้นไม้ และงานที่รักที่สุดคือเบเกอรี่ ซึ่งสุดท้ายเขาเลือกโฟกัสเพียงอย่างเดียว

 

โดยจะคำนึงถึงเหตุผลด้านการสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค ซึ่งงานด้านอื่น ๆ ทั้งการขายต้นไม้ หรือ ถ่ายรูป ต้องพบปะผู้คนจำนวนมากและอาจมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ COVID-19 ได้ซึ่งจะกระทบกับครอบครัว และแม่ที่เป็นผู้สูงอายุด้วย เขาจึงเลือกที่จะกลับมาเน้นงานเบเกอรี่เป็นหลัก


ผมตัดออกหมด งานที่อาจมีโอกาสเสี่ยง แล้วมาโฟกัสเรื่องเดียวคือ การทำเบเกอรี่ และทำมันให้ดีที่สุด และก่อนหน้านี้ที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและสอนทำเบเกอรี่แบบไพรเวตก็หยุดและคืนเงินให้ลูกค้า ขณะที่บางส่วนได้ปรับการสอนเป็นรูปแบบวิดีโอ จนตอนนี้ก็เหลือการทำเบเกอรี่อย่างเดียว

ตอนนี้ก็ปรับมาทำงานคนเดียว ขณะที่ช่างอบเกอร์รี่อีกคนก็ช่วยเหลือให้เงินชดเชยและหากสถานการณ์ดีขึ้นก็จะกลับมาร่วมงานกันอีก จากนั้นก็จะมีแมสเซนเจอร์อีกคนที่ทำหน้าที่ส่งสินค้าให้กับลูกค้า ซึ่งในกระบวนการผลิตจะเหลือเพียงเท่านี้

ตอนนี้ก็เข้าครัวทำเบเกอรี่ ทำเค้ก ทำขนม คนเดียว คิดค่าแรงให้ตัวเอง ชม.ละ 50 บาท เหลือเงินเดือนประมาณ 5,000 -6,000 บาท และ จัดส่วนแยกชัดเจนในส่วนของการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน ก็พยายามแยกกับคนในครอบครัว สวมหน้ากากอนามัยในบ้าน

นอกจากนี้ ลูกค้าซึ่งรับเบเกอรี่ของเราไปขาย ก็ค่อนข้างยืดหยุ่น ทั้งการให้เค้ก และขนมไปขายก่อน การให้เครดิตการค้า เพื่อให้ร้านของลูกค้าสามารถอยู่ได้ เพราะทราบดีว่าขณะนี้ได้รับผลกระทบกันอย่างมาก

 

 

รวมถึงบางส่วนที่มีภาระค่าเช่าที่สูงซึ่งตั้งในห้างสรรพสินค้าชื่อดัง ที่ห้างปิดไปในระยะหนึ่งจากสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งขณะนี้อะไรที่สามารถช่วยได้ก็พยายามช่วยไปก่อน


เราพยายามเป็นซัพพอร์ตเตอร์ที่ดี มีความยืดหยุ่นและช่วยกันมากขึ้น ทั้งจำนวนขั้นต่ำในการสั่ง การให้เครดิต เพื่อช่วยให้ร้านลูกค้าไปต่อได้ และเมื่อสถานการณ์ดีขึ้นก็กลับมากันได้

นอกจากนี้ในการทำเค้กและขนมส่งลูกค้าก็จะคำนึงถึง (อายุ) สินค้า มากขึ้น ซึ่งเมนูที่ทำจากผลไม้ ซึ่งมีอายุที่สั้นกว่าก็จะลดลง


คำนึงความสะอาดเป็นหลัก

นอกจากนี้ ด้วยการที่เป็นธุรกิจประเภท B to B (Business to Business) ซึ่งต้องเน้นเรื่องความสะอาดของสินค้าเป็นหลักเพื่อสร้างความมั่นใจ เริ่มตั้งแต่การสั่งวัตถุดิบที่จะเน้นการส่งออนไลน์ให้มาส่งที่ร้าน เพื่อลดการเดินทางออกไปข้างนอกให้มากที่สุด ทั้งนี้เพื่อลดปารปนเปื้อน หรือ ความเสี่ยงต่อเค้กและขนมที่ผลิต เพื่อสร้างความมั่นใจเพราะร้านค้าที่รับสินค้าไปจะนำไปให้ลูกค้าบริโภค ความสะอาดจึงเป็นสิ่งที่ให้ความสำคัญอย่างสูง

 

 


ดังนั้น การให้บริการหรือขายในรูปแบบค้าปลีก หรือเดิมจะมีการนัดส่งก็จะหยุดให้บริการในช่วงนี้เพื่อลดขั้นตอนของการพบปะกันหรือความเสี่ยงในการติดเชื้อ COVID-19 ให้มากที่สุด 

 


บรมยังมองว่า หากมีการคลายล็อกในช่วงเร็ว ๆ นี้ ส่วนหนึ่งภาคธุรกิจก็จะกลับมาขับเคลื่อนได้ดีขึ้น แต่ก็มีความกังวลเช่นกันว่าจะมีการระบาดระลอกใหม่อีกหรือไม่ ซึ่งอาจต้องรอให้มีการผลิตยาที่รักษาโรค COVID-19 ได้อย่างแท้จริง


แต่อย่างไรก็ตาม สถานการณ์นี้จะต้องจบลงไม่ว่าวันใดก็วันหนึ่ง ก็ต้องเตรียมพร้อม ให้ดีที่สุด ในช่วงนี้ก็ทำให้มีเวลาในการกลับมาคิด บริหารจัดการหลายอย่างที่ละเลยไป หรือทำในสิ่งที่อยากทำแต่ยังไม่ได้ทำได้ ทั้งเรื่องใกล้ตัว อย่างการซ่อมแซมบ้าน ก็มีเวลาได้ทำไปจนถึงการคิดค้นและพัฒนาเมนูใหม่ ซึ่งอยากทำอยากมากในช่วงก่อนหน้านี้ รวมถึงการพัฒนาระบบอื่นๆ ให้พร้อมมากที่สุดหากมีการคลายล็อกและเปิดประเทศ


เราเครียดได้เฉพาะเรื่องที่เราจัดการได้ และทำให้มันเต็มที่ ส่วนที่เครียดและจัดการไม่ได้ มันนอกเหนือการจัดการหรือเราไม่สามารถทำอะไรได้ ก็ไม่รู้จะเครียดไปทำไม

ดังนั้น สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ การเตรียมสำรวจตนเอง และตัวให้พร้อมมากที่สุด ในการกลับมาดำเนินธุรกิจอีกครั้ง เพราะหากมีการเปิดประเทศอีกครั้งยังมีอีกปัจจัยที่ต้องเตรียมรับมือโดยเฉพาะสถานการณ์การแพร่่ระบาดของโรค COVID-19 ยังยังต้องรอความหวังทั้งการฉีควัคซีนที่ครอบคลุมคนไทยส่วนใหญ่และยารักษาที่จะช่วยการันตีความมั่นใจทั้งด้านสุขภาพและเศรษฐกิจ  

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง