ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รู้จัก "ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ" หลังเด็กฉีดวัคซีน COVID-19

สังคม
22 ก.ย. 64
10:52
4,792
Logo Thai PBS
รู้จัก "ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ" หลังเด็กฉีดวัคซีน COVID-19
ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย โพสต์เฟชบุ๊กอ้างรายงานของ CDC เกี่ยวกับภาวะอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ในกลุ่มเด็ก 12-18 ปี พบอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ 2-3 วันรับวัคซีน mRNA เข็ม 2 พบในเพศชายมากกว่าหญิง สามารถตรวจจาก MRI ได้

วันนี้ (22 ก.ย.64) พล.อ.ท.นพ.อนุตตร จิตตินันทน์ ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศ ไทย โพสต์เฟซบุ๊ก ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย กรณีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากวัคซีน COVID-19 ว่า เราน่าจะมีวัคซีนโควิด-19 เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะจะมีวัคซีนชนิดสารพันธุกรรมเอมอาร์เอนเอ (mRNA) ได้แก่ วัคซีนของบริษัทไฟเซอร์ และวัคซีนของบริษัทโมเดอร์นา

โดยรัฐบาลจัดสรรวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์ให้กับเด็กและวัยรุ่นอายุ 12-18 ปี ส่วนวัคซีนของบริษัทโมเดอร์นา เป็นวัคซีนทางเลือก ซึ่งบริหารจัดการโดยโรงพยาบาลเอกชน

หลายคนยังลังเลใจที่จะใช้วัคซีน mRNA เนื่องจากทราบว่ามีโอกาสเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หลังการรับวัคซีนชนิดดังกล่าว จึงนำข้อมูลในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่มีการใช้วัคซีน mRNA มากที่สุด โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (CDC) สรุปไว้ว่า

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่หายากของวัคซีนชนิด mRNA จากรายงานของ CDC พบอัตราการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหรือเยื่อบุหัวใจอักเสบ 12.6 คนต่อล้านของการได้รับวัคซีน mRNA เข็มที่ 2 ในผู้ที่มีอายุ 12-39 ปี

อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหลังฉีดวัคซีน 

โดยพบว่าเด็กอายุ 12-15 ปี มีโอกาสเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบสูงกว่ากลุ่มอื่นถึง 4 เท่า ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ มักมีอาการเจ็บหน้าอกหรือเหนื่อยหอบเกิดขึ้น 2-3 วัน หลังได้รับวัคซีน mRNA เข็มที่ 2

โดยจะพบมีคลื่นหัวใจผิดปกติ ระดับเอนไซม์ของหัวใจ (Troponin-T) เพิ่มขึ้น การวินิจฉัยกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบทำได้ด้วยการตรวจสนามแม่เหล็กไฟฟ้าหัวใจ (MRI)

กลไกการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากวัคซีน COVID-19 ชนิด mRNA ยังไม่ชัดเจนแต่เชื่อว่าวัคซีนชนิด mRNA กระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติที่มีอยู่ก่อนแล้วในบุคคลบางกลุ่ม

ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย ซึ่งเชื่อว่าที่พบมากในผู้ชาย น่าจะเกี่ยวข้องกับความแตกต่างของฮอร์โมนเพศกับการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกัน โดยทั่วไปอาการมักดีขึ้นเร็วหลังจากให้การรักษาและพักผ่อนอย่างเพียงพอ และส่วนใหญ่สามารถกลับไปเรียนหรือทำงานตามปกติได้ในเวลาไม่นาน

ข้อมูลของ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (CDC)
https://www.cdc.gov/.../vaccines/safety/myocarditis.html

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ราชวิทยาลัยฯ จ่อส่งผลวิจัยฉีดวัคซีนนักเรียนให้ อย.

กทม.ฉีดไฟเซอร์เด็กกลุ่ม 7 โรคเสี่ยง อายุ 12-18 ปี

เปิดคำแนะนำ "ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์" ฉีดไฟเซอร์เด็ก 12 ปี

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง