ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

10 ทุ่งรับน้ำหลากสายเหนือ อยู่ไหนบ้าง?

ภัยพิบัติ
4 ต.ค. 64
19:20
2,047
Logo Thai PBS
 10 ทุ่งรับน้ำหลากสายเหนือ อยู่ไหนบ้าง?
กรมชลประทาน เผยระบายน้ำเหนือเข้า 10 ทุ่งรับน้ำภาคกลาง เพื่อรับน้ำหลาก2 ฝั่งตะวันออก-ตะวันตกรวม 969 ล้านลบ.ม. พร้อมเร่งระบายน้ำลงประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ ลงอ่าวไทย ด้าน "จิสด้า" ระบุมีน้ำเข้าทุ่ง 310,000 ไร่ มากสุดทุ่งผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา 84,950 ไร่

วันนี้ (4 ต.ค.2564) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) เผยแพร่ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-1 พบว่า ขณะนี้มีการระบายน้ำเข้าทุ่งในเขตพื้นที่ภาคกลางอย่างต่อเนื่อง จากภาพจะเห็นว่าทุ่งรับน้ำทั้ง 8 แห่ง ทุ่งผักไห่ มีน้ำเข้าทุ่งมากที่สุดกว่า 84,950 ไร่ ตามด้วยทุ่งเจ้าเจ็ด 65,185 ไร่

ทุ่งบางกุ่ม 24,382 ไร่ ทุ่งป่าโมก 18,260 ไร่ ทุ่งบางบาล 9,778 ไร่  ทุ่งโพธิ์พระยา 4,276 ไร่  ทุ่งบ้านแพน 3,080 ไร่ และทุ่งบางกุ้ง 278 ไร่ รวมแล้วกว่า 200,000 ไร่ แต่หากรวมทุ่งรับน้ำที่เหลืออีก 5 ทุ่ง รวมแล้วอยู่ที่ประมาณ 310,000 ไร่ ซึ่งคาดว่าจะมีการผันน้ำเข้ามาในทุ่งรับน้ำต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อชะลอน้ำก่อนไหลลงสู่แม่น้ำสายหลักและออกอ่าวไทย

จิสด้า พบน้ำท่วมแล้ว 1.9 ล้านไร่ 

นอกจากนี้จิสด้า ยังระบุว่า ภาพถ่าย COSMO-SkyMed-2 ซึ่งติดตามสถานการณ์น้ำท่วม โดยพบพื้นที่น้ำท่วมขังบริเวณบางส่วนของภาคเหนือใน จ.สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก และภาคกลาง รวมประมาณ 1,900,000 ไร่ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ลุ่มต่ำ พื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำสายหลัก ลำน้ำสายรอง ที่อยู่อาศัยบางส่วน ทั้งนี้ ข้อมูลภาพจากดาวเทียมเหล่านี้ จิสด้า จะส่งต่อให้กับหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบและที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้สนับสนุนการบริหารจัดการตามภารกิจ ทั้งด้านการวางแผน การติดตาม การประเมินสถานการณ์ และการฟื้นฟูความเสียหายต่อไป

 

กรมชลระบายน้ำเข้าทุ่ง 2 ฝั่ง 969 ล้านลบ.ม.

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า การบริหารจัดการน้ำลุ่มเจ้าพระยานอกจากจะใช้เขื่อนเจ้าพระยา เพื่อควบคุมปริมาณน้ำแล้วเข้าคลองทั้ง 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว ยังได้ใช้ทุ่งรับน้ำบริเวณตอนล่างของลุ่มเจ้าพระยา 10 ทุ่ง รับน้ำเข้าไปเก็บไว้ช่วยลดยอดปริมาณน้ำที่จะไหลลงสู่พื้นที่ตอนล่าง รวมไปถึงเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งด้วย

ขณะะนี้มีการรับน้ำเข้าทุ่งไปแล้วรวม 878 ล้านลบ.ม. แบ่งเป็นทุ่งฝั่งตะวันออก 387 ล้าน ลบ.ม.ได้แก่ ทุ่งเชียงราก 21 ล้านลบ.ม. ทุ่งท่าวุ้ง 90 ล้านลบ.ม.ทุ่งฝั่งซ้ายคลองชัยนาท-ป่าสัก 123 ล้านลบ.ม. ทุ่งบางกุ่ม 131 ล้านลบ.ม. ทุ่งบางกุ้ง 22 ล้านลบ.ม.

ส่วนด้านทุ่งฝั่งตะวันตกรับน้ำไปแล้วรวม 491 ล้านลบ.ม. ได้แก่ ทุ่งบางบาล-บ้านแพน 50 ล้านลบ.ม. ทุ่งป่าโมก 49 ล้านลบ.ม. ทุ่งผักไห่ 200 ล้านลบ.ม. ทุ่งเจ้าเจ็ด 45 ล้านลบ.ม. และ ทุ่งโพธิ์พระยา 147 ล้านลบ.ม. คงเหลือพื้นที่ที่สามารถเก็บกักน้ำได้อีกประมาณ 590 ล้านลบ.ม.

นอกจากนี้ ในพื้นที่ตอนล่าง กรมชลประทาน ได้ใช้โครงการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์อันเนื่องมาจากพระราชดำริในการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ให้ไหลลงสู่ทะเลได้เร็วขึ้น ถือว่าเป็นเครื่องมือที่จะช่วยบรรเทาอุทกภัยในเขตพื้นที่ กทม.และปริมณฑลได้เป็นอย่างมาก

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

"ชาวบ้านกุ่ม" โวยขอเปิดประตูระบายน้ำบางกุ้งลดน้ำท่วมบ้าน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง