ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ภารกิจอวกาศในปี 2022 ก้าวสำคัญของการสำรวจอวกาศ

Logo Thai PBS
ภารกิจอวกาศในปี 2022 ก้าวสำคัญของการสำรวจอวกาศ
ในปี 2022 หลายประเทศได้เดินหน้าโครงการสำรวจอวกาศ การค้นหาและไขความลับจุดกำเนิดของจักรวาล ดวงดาวและสิ่งมีชีวิต

ในช่วงปี 2020-2021 โครงการอวกาศหลายโครงการต้องล่าช้าออกไปจากกำหนดการเดิมเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ในปี 2022 หลายประเทศได้เดินหน้าโครงการสำรวจอวกาศอย่างเต็มที่และอาจกลายเป็นปีแห่งการค้นพบทางด้านวิทยาศาสตร์สำคัญของมนุษยชาติ การสำรวจอวกาศเพื่อตั้งสถานีสำรวจบนพื้นผิวดวงจันทร์ สถานีอวกาศโคจรรอบโลกและสถานีอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์ การค้นหาและไขความลับจุดกำเนิดของจักรวาล ดวงดาวและสิ่งมีชีวิต

ภารกิจการสำรวจดวงจันทร์ Artemis 1

Artemis 1 ภารกิจการส่งยานอวกาศแบบไร้นักบินอวกาศไปโคจรรอบดวงจันทร์ของนาซา โดยใช้ยานอวกาศ Orion การเดินทางขึ้นสู่อวกาศใช้บริการของจรวด SLS-1 จรวดทรงพลังมากที่สุดในโลกที่ได้รับการประกอบและเกือบเสร็จสมบูรณ์ในช่วงปลายปี 2021 ภารกิจทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 26 วัน ยาน Orion เดินทางไปโคจรรอบดวงจันทร์เพื่อเก็บข้อมูลด้านต่าง ๆ ของพื้นผิวดวงจันทร์และทดสอบประสิทธิภาพของยานอวกาศก่อนการเดินในครั้งต่อไปในภารกิจ Artemis 2 การส่งยาน Orion พร้อมนักบินอวกาศเดินทางไปโคจรรอบดวงจันทร์ในปี 2023

 

ประเทศจีนสร้างสถานีอวกาศ Tiangong เสร็จสมบูรณ์ 

สถานีอวกาศ Tiangong หนึ่งในความภาคภูมิใจของประเทศจีน ประเทศที่ 3 ของโลกที่สามารถก่อสร้างสถานีอวกาศโคจรรอบโลกเป็นของตัวเอง รองจากประเทศสหรัฐอเมริกาและรัสเซีย สถานีอวกาศ Tiangong ปัจจุบันโคจรรอบโลกโดยใช้โมดูลที่เรียกว่า Tianhe รองรับนักบินอวกาศ 3 คน ในปี 2022 องค์การอวกาศแห่งชาติจีนจะทำการส่งโมดูล Wentain และ Mengtian เข้าเชื่อมต่อกับโมดูล Tianhe เมื่อสถานีอวกาศ Tiangong เสร็จสมบูรณ์อาจรองรับนักบินอวกาศได้มากกว่า 3 คนในอนาคตเพื่อทำภารกิจทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อน

 

Blue origin และ SpaceX ทดสอบจรวดที่จะเปลี่ยนวงการอวกาศ

เทคโนโลยีจรวดถูกพัฒนาขึ้นมาหลายสิบปีอย่างไรก็ตามจรวดส่วนใหญ่ถูกออกแบบให้ใช้งานได้เพียงภารกิจเดียวไม่สามารถใช้งานซ้ำได้ ในช่วงเวลาประมาณ 10 ปีที่ผ่านมาหลาย SpaceX และ Blue Origin ได้พยายามพัฒนาเทคโนโลยีจรวดที่สามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้ โดยจรวด Falcon 9 ของ SpaceX ประสบความสำเร็จได้ก่อนสามารถเดินทางกลับลงจอดบนเรือ ASDS กลางมหาสมุทรเพื่อนำกลับมาใช้งานใหม่ในช่วงปี 2016 แม้จรวดของ Blue Origin สามารถเดินทางกลับโลกแต่จรวดมีขนาดเล็กและส่งยานอวกาศในระดับขอบอวกาศไม่สามารถส่งยานอวกาศหรือดาวเทียมเข้าสู่วงโคจรได้

ในปี 2023 SpaceX มีแผนการทดสอบส่งยาน Starship และจรวด Super Heavy จรวดทรงพลังมากที่สุดในโลกและสามารถเดินทางกลับมาลงจอดบนโลกโดยใช้หอคอยสูงพร้อมแขนพิเศษรองรับจรวดกลางอากาศ เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่สามารถทำให้จรวดขนส่งอวกาศมีน้ำหนักเบาลงและประหยัดต้นทุนในการขนส่งอวกาศ ทางด้านของ Blue Origin มีแผนการทดสอบจรวด New Glenn จรวดทรงพลังอีกรุ่นที่สามารถเดินทางกลับโลกเพื่อนำกลับมาใช้งานใหม่แต่จรวด New Glenn ใช้วิธีลงจอดบนเรือขนาดใหญ่กลางมหาสมุทร

 

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ภารกิจไขความลับจักรวาล

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์หนึ่งในกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่จะมีความสำคัญในการสำรวจอวกาศของมนุษย์ในทศวรรษหน้า กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์มีเป้าหมายสำคัญทางวิทยาศาสตร์ออกเป็น 4 อย่างด้วยกันประกอบด้วย การค้นหาจุดกำเนิดของเอกภพ จุดกำเนิดของแสง การทำความเข้าใจการรวมตัวกันของกาแลคซี่ การศึกษาจุดกำเนิดของดาวฤกษ์และระบบดาวเคราะห์ การศึกษาระบบดาวเคราะห์และต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิต กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์จะเดินทางไปประจำยังตำแหน่งที่เรียกว่าจุดลากรานจ์ (Lagrangian point) หรือ L2 เป็นจุดที่อยู่นอกวงโคจรดวงจันทร์ระยะห่างจากโลก 1.5 ล้านกิโลเมตรและห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 151.5 ล้านกิโลเมตร แรงโน้มถ่วงมีความเสถียร

 

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

ข่าวที่เกี่ยวข้อง