ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

หมอธีระวัฒน์ ระบุคนไทยมีโอกาสติด "โอมิครอน" เหตุมีหลายปัจจัย

สังคม
28 ธ.ค. 64
08:30
17,702
Logo Thai PBS
หมอธีระวัฒน์ ระบุคนไทยมีโอกาสติด "โอมิครอน" เหตุมีหลายปัจจัย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"หมอธีระวัฒน์" โพสต์เฟซบุ๊กระบุ คนไทยอย่างไรก็ติดโอไมครอน ทั่วหรือเกือบทุกคน ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ขณะที่ยารักษามีความจำเป็นทั้ง ฟ้าทลายโจร ไอเวอร์แมคติน ฟลูวอกซามีน หรือฟลูออกซิทีน

วันนี้ (28 ธ.ค.2564) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ว่า

ชะตาโอไมครอน 27- 28/12/64 คนไทยอย่างไรก็ติดโอไมครอน ไม่ช้าก็เร็ว ทั่วหรือเกือบทุกคน ขึ้นกับ

1.ระยะเวลาหลังได้วัคซีน แม้เป็นวัคซีนที่คิดว่าดีที่สุด เช่น ไฟเซอร์หรือโมเดนา 3 เข็ม ซึ่งแรงกว่า แอสตราเซเนกา 3 เข็ม มากกว่า 10 เท่า เมื่อพ้นสามเดือนไปแล้วประสิทธิภาพจะตกลงเหลือ 40% ตามข้อมูลของไฟเซอร์

2.ถ้าไม่เคยฉีดวัคซีน แม้เคยติดเชื้อโควิดมาก่อน ก็ติดโอไมครอนได้

3.การฉีดกระตุ้นขณะนี้ เป็นการหน่วงให้ไม่มีการติดเชื้อมโหฬารทันทีทันใด เช่น เป็น 10,000 เป็นแสน เป็นล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้จะมีคนที่ไม่ได้รับวัคซีนปนอยู่ด้วย หรือแม้แต่ได้วัคซีน แต่ตกอยู่ในกลุ่มสูงอายุหรือมีโรคประจำตัว ซึ่งทำให้วัคซีนด้อยประสิทธิภาพลง และทำให้อาการรุนแรงขึ้น จนต้องเข้าโรงพยาบาล ไอซียู ในจำนวนมากพร้อม ๆ กัน เป็นต้น

4.คนที่ได้รับวัคซีนหรือเคยติดเชื้อมาก่อน ถ้าไม่เปราะบางจริง ๆ เมื่อติดโอไมครอน หวังว่าอาการจะผ่อนหนักเป็นเบา ขึ้นกับระบบภูมิความจำ “ยังมีอยู่” หรือถูกปลุกขึ้นมาทันท่วงที ถูกที่ ทันเวลาได้หรือไม่ ?

5.ในเมื่อวัคซีนด้อยประสิทธิภาพลงอย่างมาก วิธีการฉีดต้องทำให้มีผลแทรกซ้อนน้อยที่สุด โดยการฉีดเข้าชั้นผิวหนังที่ใช้ปริมาณน้อย และผ่านคนละกลไกกับแบบเข้ากล้าม ถ้าเกิด “ซวย” ก็ซวยน้อยหรือรอดเลย

6.ยาที่จะใช้รักษาตั้งแต่แรกเริ่มเมื่อมีการติดเชื้อไม่ให้ต้องเข้าโรงพยาบาล มีความจำเป็น และมีความสำคัญ พอกันหรืออาจจะมากกว่าวัคซีนด้วยซ้ำ ฟ้าทลายโจร ไอเวอร์แมคติน ฟลูวอกซามีน หรือฟลูออกซิทีน

หมายเหตุ: การติดทุกคนในพื้นที่ทั้งประเทศ มาจากการติดตามสถานการณ์และควบรวมกับคุณสมบัติของไวรัสจากนักวิเคราะห์อังกฤษหลายท่าน รวมถึง ดร.จอห์น แคมปเบล

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง