ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ศูนย์จีโนมฯ รพ.รามาธิบดี ระบุยังไม่พบ "เดลตาครอน" ในไทย

สังคม
9 ม.ค. 65
19:02
520
Logo Thai PBS
 ศูนย์จีโนมฯ รพ.รามาธิบดี ระบุยังไม่พบ "เดลตาครอน" ในไทย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เผยยังไม่พบเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ "เดลตาครอน" ในไทย ระบุอาจเป็นนสายพันธุ์เดลตา ที่อาจปนเปื้อนสารพันธุกรรมของโอมิครอน ระหว่างการถอดรหัสพันธุกรรม

วันนี้ (9 ม.ค.2565) สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานอ้างข้อมูลจาก ลีออนดิออส คอสตริคิส ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยไซปรัส ที่ระบุว่าพบไวรัสโควิด-19 ที่มีพันธุกรรมที่สำคัญของสายพันธุ์โอมิครอน อยู่ในจีโนมของสายพันธุ์เดลตา โดยเรียกสายพันธุ์นี้ว่า "เดลตาครอน" พร้อมระบุว่าพบผู้ติดเชื้อดังกล่าวแล้ว 25 คน

จากกรณีดังกล่าว ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ ไบโอเทค ได้แสดงความเห็นในเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ว่า ไวรัสชื่อประหลาดอย่าง เดลตาครอน ถ้ามีจริง ต้องแยกเชื้อออกมาให้ได้ เพิ่มปริมาณได้ และถอดรหัสออกมาได้ชัดเจน การได้ข้อมูลจากคนป่วยมาโดยตรง รีบถอดรหัส โอกาสสูงมากคือ การปนเปื้อนของ RNA ของไวรัสทั้งเดลต้า และโอมิครอนที่อยู่ในแล็บ

ดร.อนันต์ ระบุว่า เห็นด้วยกับ Dr.Tom Peacock ของ Imperial College ซึ่งเป็นนักวิจัยที่เคยชี้ให้เห็นโอมิครอนเป็นคนแรก ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่กับข้อมูลไวรัสทุกวันทั้งวัน บอกว่าหลังดูข้อมูลการถอดรหัสพันธุกรรมว่า ไวรัสชื่อประหลาดนี้ ไม่น่ามีอยู่จริง ด้วยเหตุผลข้างต้น จำเป็นต้องเพาะออกมาให้เห็นจริงๆ ก่อนค่อยเชื่อ ซึ่งต้องถาม WHO ก่อนจะดีกว่า

ไม่น่าใช่  "เดลตาครอน"

ขณะที่ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ว่า "เดลตาครอน" สายพันธุ์ลูกผสม หรือการปนเปื้อนในห้องปฏิบัติการ มีผู้สอบถามเข้ามาที่ศูนย์จีโนม รพ.รามาธิบดี มากมาย ว่าเกิดสายพันธุ์ลูกผสม “Deltacron” ขึ้นที่ไซปรัสแล้วใช่หรือไม่ คำตอบคือ น่าจะไม่ใช่

เพราะ Dr. Tom Peacock ผู้เชี่ยวชาญการถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสระดับโลกชาวอังกฤษ รีบทวิตแจ้งว่า จากการพิจารณารหัสพันธุกรรมมีความเป็นไปได้สูง ที่จะเกิดจากการปนเปื้อนระหว่างสารพันธุกรรมของ "โอมิครอน" และ "เดลตา" ในห้องปฏิบัติการ เวลาถอดรหัสพันธุกรรม จึงมีรหัสปนกันออกมาเสมือนเกิดเป็นสายพันธุ์ลูกผสม และจากการนำเอาข้อมูลรหัสพันธุกรรม มาสร้างเป็นแผนภูมิวิวัฒนาการ Phylogenetic tree พบว่าตัวอย่างทั้ง 25 ราย ไม่ได้มาจากคลัสเตอร์เดียวกัน ซึ่งแปลก เพราะหากเป็นสายพันธุ์ลูกผสมเพิ่งเกิดใหม่ ยังไม่ระบาดเป็นวงกว้าง ควรจะอยู่ในคลัสเตอร์เดียวกัน

ภาพ : เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics

ภาพ : เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics

ภาพ : เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics

วิเคราะห์รหัสพันธุกรรม

ล่าสุด ศูนย์จีโนมฯ ได้นำรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจำนวน 25 ตัวอย่าง ที่ทางไซปรัสได้อัปโหลดขึ้นมาแชร์ไว้บนฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID” โลก มาวิเคราะห์ เห็นพ้องกับที่ ดร.Tom Peacock กล่าวไว้คือ เมื่อนำข้อมูลรหัสพันธุกรรมมาสร้างเป็นแผนภูมิวิวัฒนาการ Phylogenetic tree 

ภาพ : เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics

ภาพ : เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics

ภาพ : เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics

 

พบว่าตัวอย่างทั้ง 25 ราย ไม่ได้มาจากคลัสเตอร์เดียวกัน ซึ่งเป็นเรื่องแปลก เพราะหากเป็นสายพันธุ์ลูกผสมเพิ่งเกิดใหม่ มีที่มาจากแหล่งเดียวกันยังไม่ระบาดเป็นวงกว้าง ควรจะอยู่ในคลัสเตอร์เดียวกัน และจากรหัสพันธุกรรมทั้ง 25 ตัวอย่าง บ่งชี้ว่าเป็นสายพันธุ์ “เดลตา” ซึ่งอาจมีการปนเปื้อนสารพันธุกรรมของ “โอมิครอน” เข้ามาระหว่างการถอดรหัสพันธุกรรม

ภาพ : เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics

ภาพ : เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics

ภาพ : เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics

 

คำถามที่ตามมาคือ หากมีสายพันธุ์ลูกผสมเกิดขึ้นมาจริง ๆ ทางศูนย์จีโนมฯ จะตรวจพบหรือไม่ คำตอบคือ น่าจะตรวจพบ เพราะขณะนี้เราถอดรหัสพันธุกรรมด้วยเทคโนโลยีสายยาว (long-read sequencing) ประมาณ 1,000-2,000 ตำแหน่งต่อสาย ดังนั้นหากพบรหัสพันธุ์กรรมของ "เดลตา" และ "โอมิครอน" ปนกันอยู่ในสายเดียวกัน ก็แสดงว่า น่าจะเป็นสายพันธุ์ลูกผสม

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง