วันนี้ (17 ก.พ.2565) น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายต่อที่ประชุมสภาฯ ในญัตติอภิปรายทั่วไป เพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อ ครม. โดยไม่ลงมติ
น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า ฟังนายกฯชี้แจงแล้วตนรู้สึกโกรธที่บอกทำนอง เดี๋ยวเศรษฐกิจจะดีเอง รอให้ส่งออก เดี๋ยวเปิดประเทศนักท่องเที่ยวกลับมาเศรษฐกิจภายในประเทศจะดีขึ้น ธุรกิจบริการ โรงแรมท่องเที่ยวก็จะฟื้นขึ้นมาได้ โดยที่รัฐบาลแทบไม่ต้องทำอะไรเลย วิธีคิดแบบนี้มีปัญหามาก
รัฐบาลนี้คิดอะไรไม่ออก ก็แจกคนละครึ่ง ทั้งกระตุ้นเศรษฐกิจ เยียวยา ช่วยค่าครองชีพ วันนี้ใช้เงินไปแล้วกว่า 2.2 แสนล้านบาท แต่เศรษฐกิจในประเทศยังวนอยู่ที่เดิม
โครงการคนละครึ่งยอมรับเป็นโครงการที่ดีมาก แต่ไม่เหมาะนำมาใช้เยียวยา หรือแม้แต่จะใช้ในการช่วยเหลือค่าครองชีพ เพราะเป็นการแจกแบบใครมาก่อนได้ก่อน สุดท้ายคนที่สมควรได้รับกลับไม่ได้รับ ที่สำคัญประเทศนี้ไม่สามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะยาวได้จากการแจกคนละครึ่ง
เราควรมีแผนฟื้นฟู ไม่ใช่พาเศรษฐกิจไปสู่จุดเดิม แต่ต้องใช้โอกาสนี้ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจใหม่ ให้ทุนเล็กทุนน้อย ได้มีที่อยู่ ที่ยืน ได้เติมโตเกิดการจ้างงานที่มีคุณภาพ และทำให้อุตสาหกรรมเป้าหมายต่าง ๆ ในโลกหลังโควิด-19 เกิดขึ้นจริงได้
น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า เมื่อไปดูแผนพลิกฟื้นเศรษฐกิจแทบไม่มีอะไรเลย ขณะที่ประเทศอื่นใช้เวลานี้ อัดฉีดเงินลงทุนหลังโควิดอย่างเต็มที่ เกาหลีใต้ลงทุนขนานใหญ่กว่า 3 ล้านล้านบาท ผ่านแพ็กเกจนิวกรีนดิว เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียว ญี่ปุ่นอัดฉีดเงินอุดหนุนหลายพันล้าน เพื่อดึงใต้หวันให้มาเปิดโรงงานนาโนชิบในประเทศเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนชิบ สิงค์โปร์จ่ายเงินตรงให้กับเอสเอ็มอี เพื่อจูงใจให้เปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิทัลในการทำธุรกิจ แต่หันกลับมาดูประเทศไทย นายกรัฐมนตรีพูดถึงปรากฎการณ์เรือนกระจก แต่วันนี้เราเพิ่งจะต่ออายุโรงไฟฟ้าถ่านหิน เพียงเพราะก๊าซธรรมชาติ แพงเกินไป รัฐบาลแทบไม่ได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอะไรเพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว อย่างที่พูดเลย
เศรษฐกิจภูมิภาคติดหล่มจนล้มเหลว
น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า เงินเกือบ 2 ล้านล้านบาท มีงบประมาณสำหรับแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ไม่รวบงบที่ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจแค่ 7.7 หมื่นล้านบาท โดยเงินฟื้นฟูจำนวนเท่านี้ หากเป็นงบฟื้นฟูที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่มีวิกฤตมา ทั้งที่วิกฤตครั้งนี้หนักกว่าทุกครั้ง ซึ่งแผนนี้ฟื้นฟูนี้ใช้ไม่ได้ เพราะเศรษฐกิจภูมิภาคก็ยังไม่ฟื้นกลับมา แผนการฟื้นฟูเศษฐกิจที่ผ่านมานั้น ใช้ไม่ได้ผล รายได้คนลดลง ยังไม่ฟื้นจากก่อนโควิด-19
งบ 7.7 หมื่นล้านบาท ที่ใช้เป็นแผนฟื้นฟู หากรัฐบาลใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็คงได้เห็นผลงานอะไรที่ดีขึ้นมาบ้าง แต่มันเต็มไปด้วยโครงการเบี้หัวแตก แบบไม่มีวันเสร็จ
ศิริกัญญา กล่าวว่า มติคณะกรรมการกลั่นกรองเงินกู้จะเจอแต่เรื่องพิจารณาว่า จะยกเลิก ลดวงเงิน หรือ เลื่อนโครงการไหนบ้าง ในขณะที่ในครั้งแรกรัฐบาลมาเสนอแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กับสภา รัฐบาลวาดฝันไว้ให้อย่างดิบดี ว่าจะสร้างเกษตรอัฉริยะ เกษตรมูลค่าสูง ใบโออินโคโนมี่ ท่องเที่ยวคุณภาพ เป็นต้น เต็มไปด้วยคำสวยหรู ดูดีเต็มไปหมด แต่กลับไม่มีโครงการพวกนี้อยู่ในแผนฟื้นฟู และไปดูแผนพลิกฟื้นเศรษฐกิจ ดูแล้วไม่น่าจะพลิกอะไรได้เลย
การท่องเที่ยวคุณภาพจะเกิดขึ้นได้อย่างไร หากมีแค่ 3 โครงการ จะมีการท่องเที่ยวคุณภาพได้อย่างไรหากใช้เงินแค่ 800 ล้านบาท อุตสาหกรรมมูลค่าสูง ใบโออินโคโนมี่ จะมาได้ยังไง หากมีโครงการเกี่ยวกับเรื่องนี้เพียงแค่ 4 โครงการ มูลค่า 450 ล้านบาท เกษตรอัจฉริยะไม่มีมีแต่เกษตรแปลงใหญ่ จัดให้แปลงละ 3 ล้านบาท เกษตกรก็เอาไปซื้อรถเกี่ยว รถแท็กเตอร์ ไม่ได้สมาร์ทขึ้น
เศรษฐกิจไทยยุคหลังโควิด ดูไม่มีอนาคตลงไปเรื่อยๆ ไม่ใช่แค่ย่ำอยู่กับที่ แต่คือการเดินถอยหลัง
น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า ไม่เชื่อว่าเศรษฐกิจจะฟื้นหากเอสเอ็มอียังฟื้นไม่ได้ รัฐบาลแทบไม่มีมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมอะไรเลย นอกจากสินเชื่อ soft loan ความช่วยเหลือไม่มี มีแต่หนี้ที่หยิบยื้นให้ แล้วก็ยังจะให้ภาระเพิ่มอีก และตนเองก็สงสัยว่า เศรษฐกิจจะฟื้นได้อย่างไร หากรายได้เกษตรกรยังตกต่ำ