วันนี้ (18 ก.พ.2565) สำนักข่าว CNN รายงานว่า นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น พบว่าโควิด-19 สายพันธุ์ BA.2 ไม่ควรถูกมองว่าเป็นสายพันธุ์หนึ่งของโอมิครอนเท่านั้น แต่จำเป็นที่จะต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด เนื่องจากการตรวจหาทำได้ยากมากขึ้น
นอกจากนี้ยังพบว่าสายพันธุ์ย่อยดังกล่าว สามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันและการรักษาบางวิธีได้ รวมทั้งอาจก่ออาการรุนแรงขึ้น หลังจากการทดลองกับหนูแฮมสเตอร์ พบว่าปอดของหนูที่ติดเชื้อสายพันธุ์ย่อยเสียหายมากกว่าหนูที่ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนดั้งเดิม
งานวิจัยชิ้นนี้ยังไม่ได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญอิสระ ในขณะที่ปัจจุบันพบการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ย่อย BA.2 แล้วใน 74 ประเทศทั่วโลก ซึ่งในจำนวนนี้ได้กลายมาเป็นสายพันธุ์หลักแล้วในอย่างน้อย 10 ประเทศ รวมถึงบรูไน จีน เดนมาร์ก อินเดียและฟิลิปปินส์ ขณะที่สหรัฐอเมริกาพบสายพันธุ์นี้ไปแล้ว 47 รัฐจากทั้งหมด 50 รัฐ
อ่านข่าวอื่นๆ
"ฮ่องกง" จ่อบังคับตรวจโควิดวันละ 1 ล้านคน ฝ่าฝืนปรับ 4.2 หมื่นบาท
สธ.แจงเด็ก 12 ปีเสียชีวิตไม่เกี่ยวฉีดไฟเซอร์ ติดเชื้อกระแสเลือด