ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เช็ก "เตียง" ผู้ป่วยโควิด ทั่วประเทศ ยังเพียงพอเกิน 1 แสนเตียง

สังคม
22 ก.พ. 65
12:28
4,410
Logo Thai PBS
เช็ก "เตียง" ผู้ป่วยโควิด ทั่วประเทศ ยังเพียงพอเกิน 1 แสนเตียง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
อัปเดตตัวเลข "เตียง" ใน รพ. ดูแลผู้ป่วยโควิดทั่วประเทศ หลังยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มเฉียด 20,000 คน 10 จังหวัดติดเชื้อสูง การครองเตียงยังสีเขียว ขณะที่ทั่วประเทศยังเหลือเตียงว่างรับผู้ป่วยอีกเกือบ 90,000 เตียง ส่วน กทม.เตียงว่างอีกเกือบ 20,000 เตียง

วันนี้ (22 ก.พ.2565) เป็นอีกวันที่การติดเชื้อรายใหม่สูงเกือบ 20,000 คน โดยวันนี้มีผู้ติดเชื้อยืนยัน 18,363 คน ยังไม่รวมติดเชื้อเข้าข่ายจากการตรวจ ATK อีก 14,605 คน รักษาหายเพิ่ม 15,651 คน น้อยกว่าจำนวนติดเชื้อรายใหม่ โดยยังมีคนที่กำลังรักษาในระบบอีก 169,074 คน เป็นผู้ป่วยปอดอักเสบ 827 คน ใส่ท่อช่วยหายใจ 214 คน และเสียชีวิตวันนี้ 35 คน ถือเป็นจำนวนผู้เสียชีวิตสูงที่สุดในการระบาดรอบใหม่ (ตั้งแต่ 1 ม.ค.65) มีผู้เสียชีวิตสะสม (ตั้งแต่ 1 ม.ค.65) จำนวน 993 คน

 

ขณะที่การเสียชีวิตส่วนใหญ่ยังเป็นผู้สูงวัยและผู้มีโรคเรื้อรัง ส่วนการติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน พบว่า จากข้อมูล 53,709 คน ไม่มีอาการ 53.1% มีอาการป่วย 46.9% ส่วนใหญ่เจ็บคอ ไอ หรือมีไข้ต่ำ ๆ เป็น 3 อาการหลักที่พบในตอนนี้ หากเป็นกลุ่มเสี่ยง 608 อาจกลายเป็นอาการหนัก เชื้อลงปอดได้

สถานการณ์การระบาดที่เป็นขาขึ้นในลักษณะกราฟพุ่งเป็นเส้นตรง ทำให้กระทรวงสาธารณสุข ต้องยกระดับกลับมาเตือนภัยระดับ 4 ทั่วประเทศ โดยพบว่ากลุ่มอายุที่ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทุกกลุ่ม แต่มากสุดคือ วัยทำงาน และวัยเด็ก การทำงาน การรับประทานข้าวด้วยกัน การมีกิจกรรม ร่วมกัน เป็นปัจจัยเสี่ยงติดเชื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

เช็ก "เตียง" 10 จังหวัดติดเชื้อสูง ยังมีเตียงว่าง   

นพ.ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงการบริหารจัดการเตียงในภาพรวมของระบบสาธารณสุขไทย เมื่อวันที่ (21 ก.พ.) ว่า มีผู้ป่วยกำลังรักษาพยาบาลอยู่จำนวน 166,397 คน เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า จาก วันที่ 21 ม.ค.2565 ซึ่งอยู่ที่ 82,720 คน ขณะที่จำนวนผู้ป่วยรักษาในโรงพยาบาล (IPD) 76,275 คน (45.8%) โดยเมื่อวันที่ 21 ม.ค.2565 อยู่ที่ 41,909 คน (50.6%) ขณะที่สัดส่วนผู้ป่วยที่มีการอาการหนักเพิ่มขึ้นน้อย

 

 

ขณะที่สถานการณ์ "เตียง" ในระบบสาธารณสุขทั่วประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน 13 เขตสุขภาพ (ข้อมูล 21 ก.พ.2565) มีเตียงในระบบ 173,736 เตียง ทั้งภาครัฐ เอกชน การครองเตียง 85,389 เตียง คิดเป็น 49.1% ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในระดับเตียงสีเขียว เตียงว่าง 88,347 เตียง สถานการณ์เตียงส่วนใหญ่ยังเป็นสีเขียว อัตราครองเตียงไม่เกิน 50% ยังไม่รวมการดูแลผู้ป่วยที่ศูนย์พักคอย หรือ การรักษาตัวที่บ้าน

 

สถานการณ์เตียงในโรงพยาบาล 10 จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อสูง การครองเตียงยังเป็นสีเขียว มีรายละเอียดดังนี้

 

  • กรุงเทพมหานคร มีเตียงทั้งหมด 37,060 เตียง ครองเตียง 17,995 เตียง เตียงว่าง 19,065 เตียง อัตราครองเตียง 48.6%
  • นครศรีธรรมราช มีเตียงทั้งหมด 4,149 เตียง ครองเตียง 2,177 เตียง เตียงว่าง 1,972 เตียง อัตราครองเตียง 52.5%
  • สมุทรปราการ มีเตียงทั้งหมด 15,014 เตียง ครองเตียง 7,686 เตียง เตียงว่าง 7,328 เตียง อัตราครองเตียง 51.2% 
  • ชลบุรี มีเตียงทั้งหมด 9,849 เตียง ครองเตียง 5,073 เตียง เตียงว่าง 4,776 เตียง อัตราครองเตียง 51.5%
  • นนทบุรี มีเตียงทั้งหมด 5,794 เตียง ครองเตียง 1,420 เตียง เตียงว่าง 4,374 เตียง อัตราครองเตียง 24.5%
  • ภูเก็ต มีเตียงทั้งหมด 1,031 เตียง ครองเตียง 241 เตียง เตียงว่าง 790 เตียง อัตราครองเตียง 23.4%
  • นครราชสีมา 3,153 เตียง ครองเตียง 2,362 เตียง เตียงว่าง 791 เตียง อัตราครองเตียง 74.9%
  • ระยอง 2,819 เตียง ครองเตียง 1,235 เตียง เตียงว่าง 1,584 เตียง อัตราครองเตียง 43.8%
  • นครปฐม 2,154 เตียง ครองเตียง 1,247 เตียง เตียงว่าง 907 เตียง อัตราครองเตียง 57.9%
  • บุรีรัมย์ 4,027 เตียง ครองเตียง 1,902 เตียง เตียงว่าง 2,125 เตียง อัตราครองเตียง 47.2%

นพ.ณัฐพงศ์ กล่าวว่า สถานการณ์เตียงของ กทม.-ปริมณฑล ทั้งของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กทม. โรงเรียนแพทย์ ภาคเอกชน ทหาร ตำรวจ รวมแล้วมีเตียงทั้งหมด 55,201 เตียง มีการครองเตียง 25,886 คน ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยประมาณ 23,000 คน เป็นผู้ป่วยที่ใช้เตียงในระดับสีเขียว คือเตียงระดับ 1 หมายความว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการ เกือบ 80-90% มีอาการเล็กน้อยสามารถใช้เตียงเบาได้

ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการช่วยให้ระบบสาธารณสุขเดินได้ เห็นได้จากผู้ป่วยกว่า 20,000 คน อยู่ในภาคเอกชน นั้นหมายความว่าภาครัฐเองก็มีเตียงที่จะรองรับและขยายได้อีก

 

กทม.ปรับแผนขยายเตียงเพิ่มรับผู้ป่วยโควิด

ขณะเดียวกัน ข้อมูลของกรุงเทพมหานคร อัปเดตเมื่อวันที่ 21 ก.พ.2565 ซึ่ง ได้รายงานศักยภาพเตียงที่รองรับผู้ป่วยโควิด-19 จากโรงพยาบาลทั้งหมด 226 แห่ง มีเตียงรองรับทั้งหมด 44,345 เตียง แบ่งตามกลุ่มได้แก่ โรงพยาบาลหลัก 48 แห่ง 4,673 เตียง โรงพยาบาลสนาม 17 แห่ง 2,941 เตียง และ Hospitel 161 แห่ง 36,731 เตียง (ข้อมูลจากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 17 ก.พ. 2565)

ส่วนของอัตราการครองเตียง ที่อยู่ในความดูแลของสำนักการแพทย์ กทม. มีจำนวนเตียงทั้งหมด 3,460 เตียง ครองเตียง 2,976 เตียง (86.01%) เตียงว่าง 484 เตียง (13.99%)

 

ขณะที่ ศูนย์พักคอย (Community Isolation) มีจำนวน 31 แห่ง รองรับผู้ป่วยได้ 3,981 เตียง โดยมีอัตราการครองเตียง 1,716 คน (43.10%) คงเหลือ 2,065 เตียง แบ่งออกเป็น ศูนย์พักคอยที่เปิดบริการและมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษา จำนวน 19 แห่ง 2,858 เตียง ศูนย์พักคอยที่เปิดบริการแต่ยังไม่มีผู้ป่วย จำนวน 7 แห่ง 648 เตียง และศูนย์พักคอยที่พร้อมเปิดดำเนินการ (standby mode) จำนวน 5 แห่ง 475 เตียง (ข้อมูล ณ วันที่ 21 ก.พ.2565 )

 

นอกจากนี้ กทม.ยังได้เตรียมพร้อมศักยภาพการขยายเตียงเพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด-19 หากมีแนวโน้มจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น โดยผู้ติดเชื้อไม่มีอาการหรืออาการน้อย เป็นผู้ป่วยระดับสีเขียว จะให้เข้าระบบการดูแลที่บ้านหรือชุมชน (HI/CI First) ซึ่งจะทำให้เตียงในโรงพยาบาลมีเพียงพอสำหรับรองรับผู้ติดเชื้อที่จำเป็นต้องใช้เตียงในโรงพยาบาล และสำรองเตียงให้กับผู้ป่วยระดับสีเหลืองและแดง รวมทั้งผู้ป่วยทั่วไปและโรคอื่น ๆ ด้วย

 

 

 

 

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง