ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ข้อมูลเท็จ! สวอปลึกถึงเพดานจมูกทำเนื้อเยื่อพังผืดเสียหาย

สังคม
28 มี.ค. 65
12:21
786
Logo Thai PBS
ข้อมูลเท็จ! สวอปลึกถึงเพดานจมูกทำเนื้อเยื่อพังผืดเสียหาย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมฯ ระบุข้อมูลการสวอปลึกถึงเพดานจมูก ทำให้เนื้อเยื่อพังผืดที่ห่อหุ้ม Olfactory Nerve เสียหายส่งผลเสียต่อสุขภาพ "เป็นข้อมูลเท็จ"

วันนี้ (28 มี.ค.2565) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย กล่าวถึงกรณีมีการเผยแพร่ข้อมูลประเด็นเรื่องการสวอป (Swab) ลึกถึงเพดานจมูก ทำให้เนื้อเยื่อพังผืดที่ห่อหุ้ม Olfactory Nerve เสียหาย ส่งผลเสียต่อสุขภาพนั้น 

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยกรมการแพทย์ พบว่า ประเด็นดังกล่าวเป็นข้อมูลเท็จ

กรณีการโพสต์ให้ข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์ ระบุว่า การสอดไม้สวอป (Swab) เข้าไปกว้านลึกถึงเพดานจมูก สามารถสร้างความเสียหายต่อเนื้อเยื่อพังผืดที่ห่อหุ้ม Olfactory Nerve ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพและอายุขัยของมนุษย์ เนื่องจาก olfactory nerve เป็นปราการด่านหนึ่งในสองของกะโหลกศีรษะ ซึ่งเชื่อมระหว่างโพรงจมูกกับสมอง ที่ไวรัสและแบคทีเรียสามารถเดินทางข้าม blood-brain barrier เข้าสู่สมองได้   

นอกจากนี้ olfactory nerve ยังเป็นเซลล์ชนิดเดียวในกะโหลกศีรษะที่มี stem cells เรียกว่า olfactory ensheathing cells ที่ล้อมรอบเซลล์รับกลิ่น olfactory sensory axons ส่วนที่ยื่นออกมาจากเซลล์ประสาท neuron ทำหน้าที่ส่งผ่านกระแสประสาทจากเซลล์ร่างกาย พวกมันทำหน้าที่ปกป้อง olfactory nerve และช่วยการสร้างเซลล์ใหม่เมื่อเกิดความบาดเจ็บเสียหาย (สเต็มเซลล์ชนิดนี้มีความพิเศษมาก จนถูกนำไปใช้ในการซ่อมแซมไขสันหลังบาดเจ็บ และรักษาโรคทางสมองหลายชนิดในการแพทย์ปัจจุบันอย่างประสบความสำเร็จ)

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวและชี้แจงว่า การสอดไม้เข้าไปในจมูกมีโอกาสขึ้นไปที่ตำแหน่งของเส้นประสาทรับกลิ่นได้จริง แต่ไม่สร้างความเสียหายต่อเส้นประสาทมากอย่างที่กังวล และปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานว่า การสวอปทำให้เส้นประสาทรับกลิ่นเสียหายจนสูญเสียการรับกลิ่น

ดังนั้น การสวอปควรทำให้ถูกวิธี โดยการแหย่เข้าไปตามแนวของพื้นจมูกเพื่อให้เข้าไปยังบริเวณโพรงหลังจมูก ซึ่งมีโอกาสเจอเชื้อโรคได้มาก ซึ่งจะไม่โดนตำแหน่งของเส้นประสาทนี้อยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม มีข้อควรระวังที่สำคัญคือ กรณีที่คนไข้เคยได้รับการผ่าตัดเกี่ยวกับฐานสมอง หรือเคยผ่าตัดซ่อมฐานสมองมาก่อน อาจจะไม่มีกระดูกคอยป้องกันเหมือนกับคนที่ยังไม่เคยผ่าตัด ควรให้แพทย์หู คอ จมูก หรือแพทย์ที่ชำนาญเป็นผู้ทำการสวอป 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง