ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"ทวี" ชี้นายกฯ จัดงบฯปี 66 "กระจุกตัว" - หนี้ต่อ GDP เกิน 70 %

การเมือง
31 พ.ค. 65
14:59
135
Logo Thai PBS
"ทวี" ชี้นายกฯ จัดงบฯปี 66 "กระจุกตัว"  - หนี้ต่อ GDP เกิน 70 %
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"ทวี" ชี้นายกฯ จัดงบประมาณกระจุกตัว เหลื่อมล้ำ ไม่ให้ความสำคัญถึงสวัสดิการของประชาชน ระบุ นายกฯใช้งบประมาณมาแล้ว 10 ครั้ง ใช้งบประมาณรวมกว่า 31ล้านล้านบาท

ทวี สอดส่อง ส.ส.พรรคประชาชาติ อภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 โดยระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีว่า การจัดงบฯปี 2566 ถือว่านายกฯจัดงบฯครั้งนี้เป็นครั้งที่ 10 มาตั้งแต่ปี 2557 และใช้งบฯมาตั้งแต่ปี 56 (ในยุค คสช.) คือ ใช้งบฯมา 11 ปี รวมใช้งบไป 31 ล้านล้านบาท มากกว่า GDP ถึง 2 เท่า

ในการจัดสรรงบประมาณนั้น ตนเองเห็นว่าตรงข้ามกับการชี้แจงของนายกฯ โดยเห็นว่า นายกฯจัดงบประมาณโดยไม่มีส่วนร่วมของประชาชน ไม่ได้จัดงบประมาณบนฐานความต้องการประชาชน ไม่ให้ความสำคัญถึงสวัสดิการของประชาชน ไม่กระจายงบประมาณอย่างเป็นธรรม, จัดงบประมาณไม่คุ้มค่า,จัดงบประมาณซ้ำซ้อนไม่เกิดผลสัมฤทธิ์

นอกจากนี้ นายกฯจัดงบประมาณเป็นอันตราย โดยแจ้งว่าจัดหารายได้ 2.4 ล้านล้านบาท น้อยกว่า รายจ่ายประจำ วงเงิน 2.3 ล้านล้านบาท โดยเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำ 7 แสนล้านบาท โดยเงินส่วนใหญ่นายกฯนำไปเป็นรายจ่ายประจำ

ขณะที่ การจัดจัดสรรงบกระจุกตัวโดยงบ 74 % วงเงิน 2.3 ล้านล้านบาทให้คนกรุงเทพฯ 5 ล้านคน จำนวน 8 % ขณะที่ที่คน 92 % ราว 60 ล้านคนใน 76 จังหวัด ได้งบประมาณ 26 % หรือ 0.8 ล้านล้านบาท

รวมถึง จัดสรรงบประมาณมีความเหลื่อมล้ำโดย งบบำนาญข้าราชการรวม 322,790 ล้านบาท งบบำนาญประชาชนรวม 71,407 ล้านบาท ซึ่งตนเองเห็นว่า เป็นการแก้ไขปัญหาความยากจนที่เหลื่อมล้ำที่สุดในโลก ซึ่งควรมีสิทธิถ้วนหน้า ควรมี พ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติ แต่ก็ถูกปัดตกไป

นอกจากนี้การจัดงบเด็กจำนวน 4.46 ล้านคน รัฐจัดงบประมาณให้จำนวน 2.82 ล้านคน มีเด็กตกหล่น 1.64 ล้านคน สิทธิทุกคนควรเสมอกัน ไม่ควรเป็นลักษณะสงเคราะห์

นายทวี ยังระบุว่า รัฐบาลซ่อนหนี้ โดยหนี้สาธารณะในงบปี 65 สูง 9.9 ล้านล้านบาท หนี้เงินค้างชำระตามนโยบายรัฐ 1 ล้านล้านบาท หนี้งบผูกพัน 1 ล้านล้านบาท หนี้ประกันสังคม 6.6 หมื่นล้านบาทรวม 12 ล้านล้านบาท ทำให้สัดส่วนหนี้ต่อ GDP เกิน 70 %

ขณะที่ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา 6,000 กว่าล้านบาท มีเด็กที่ได้รับจำนวน 1.3 ล้านคน จากโรงเรียน สพฐ. อบต. รัฐ และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ขณะที่เด็กโรงเรียนเอกชนและเอกชนสอนศาสนากว่า 4 แสนคนไม่ได้รับ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง