ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ข่าวดี! ไทยผลิตสเปรย์พ่นจมูกยับยั้งเชื้อโควิด-19 คาดวางตลาดปีนี้

สังคม
17 มิ.ย. 65
10:35
1,406
Logo Thai PBS
ข่าวดี! ไทยผลิตสเปรย์พ่นจมูกยับยั้งเชื้อโควิด-19 คาดวางตลาดปีนี้
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
องค์การเภสัชกรรมได้การรับรองสถานประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์จาก อย. สำหรับผลิต "สเปรย์พ่นจมูกยับยั้งเชื้อโควิด-19" เป็นผลิตภัณฑ์แรก คาดออกสู่ตลาดไตรมาส 3 ปีนี้

เมื่อวันที่ 16 มิ.ย.2565 นายรังษี ปัดลี รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวว่า อภ. ได้รับใบจดทะเบียนสถานประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์ จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และได้รับการรับรอง ISO-13485 : 2016 จากบริษัท UIC certification service ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ตรวจรับรองประเมินมาตรฐานสากล

สำหรับผลิตภัณฑ์ชนิดแรกเป็น "สเปรย์แอนติบอดีพ่นจมูกยับยั้งเชื้อโควิด-19" ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ 5 หน่วยงาน คือ องค์การเภสัชกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และบริษัทไฮไบโอไซ จำกัด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างสรุปผลการศึกษาทางคลินิกในอาสาสมัครที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถผลิตออกสู่ตลาดเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงนวัตกรรมในการป้องกันเชื้อโควิด-19 ได้ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 และเป็นนวัตกรรมสุขภาพในการขับเคลื่อนดูแลสุขภาพของคนไทย

ภาพ : องค์การเภสัชกรรม

ภาพ : องค์การเภสัชกรรม

ภาพ : องค์การเภสัชกรรม

วัคซีนโควิดสัญชาติไทยจ่อขึ้นทะเบียน อย. 2 ชนิด

ขณะที่ น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายกฯ ชื่นชมความสำเร็จของคนไทยในการพัฒนาสเปรย์แอนติบอดีพ่นจมูกที่มีคุณสมบัติยับยั้งเชื้อโควิด-19 ซึ่งเป็นอีกนวัตกรรมจากคนไทยที่สามารถผลิตใช้ได้เองในประเทศ

พร้อมกันนี้ นายกฯ ยังชื่นชมองค์การเภสัชกรรมที่ได้พัฒนาวัคซีนโควิด HXP-GPOVac ฝีมือคนไทย ซึ่งผ่านการทดลองในมนุษย์เฟส 1 และเฟส 2 แล้ว จากผลการพัฒนาสูตรวัคซีน HXP-GPOVac สามารถป้องกันโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนได้ ขณะนี้อยู่ระหว่างขอขึ้นทะเบียนกับ อย. โดยมีแผนจะนำวัคซีนตัวนี้กลับไปทดลองเฟส 2 อีกครั้งช่วงเดือน ส.ค.นี้ เมื่อสำเร็จได้ผลดีจะดำเนินการทดลองในเฟส 3 ต่อไป คาดว่าจะเริ่มฉีดให้ประชาชนได้กลางปี 2566

ส่วนความคืบหน้าวัคซีนโควิด “Chula Cov19” พัฒนาโดยศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย ผลการทบสอบพบว่ามีประสิทธิภาพสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี เทียบเท่ากับวัคซีนไฟเซอร์และโมเดอร์นา ขณะนี้อยู่ระหว่างการผลิตวัคซีนในโรงงานไทย เพื่อรอทดลองในคนระยะ 3 และคาดว่าจะสามารถขึ้นทะเบียนกับ อย. เพื่อใช้ในภาวะฉุกเฉินให้ได้ภายในสิ้นปีนี้

 

อ่านข่าวอื่นๆ

สหรัฐฯ ตั้งเป้าฉีดไฟเซอร์-โมเดอร์นา "เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี"

"ปักกิ่ง" ประกาศชัยชนะสู้ศึกโควิด-19 หลังใช้ยาแรงคุมระบาด

“เสพกัญชา” ต้องระวัง! หมอเตือนอาจออกฤทธิ์เฉียบพลัน หลอน-ทรงตัวไม่อยู่

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง