ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

คพ.รับลูกชงประกาศ "เขตควบคุมมลพิษ" โรงงานรีไซเคิลราชบุรี

สิ่งแวดล้อม
30 มิ.ย. 65
16:10
446
Logo Thai PBS
คพ.รับลูกชงประกาศ "เขตควบคุมมลพิษ" โรงงานรีไซเคิลราชบุรี
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
คพ.รับลูกเตรียมหารือประกาศ "เขตควบคุมมลพิษ" โรงงานรีไซเคิลราชบุรี และรอบชุมชน เตรียมชงเข้าหารือบอร์ดมลพิษ เดือน ก.ค. นี้ ขณะที่บริษัทรายงานอ้างฝังกลบกากของเสีย 1 แสนตันในพื้นที่โรงงาน เตรียมเล็งเจาะรื้อบ่อฝังกลบ เจาะชั้นน้ำใต้ดินพิสูจน์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ความคืบหน้ากรณีโรงงานแวกซ์ กาเบ็จ รีไซเคิล อ.จอมบึง จ.ราชบุรี ต.รางบัว อ.จอมบึง จ.ราชบุรี ซึ่งเกิดไฟไหม้เมื่อช่วงกลางเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา แต่ถูกตรวจสอบปัญหาการลักลอบทิ้งกากของเสียอุตสาหกรรม   

วันนี้ (30 มิ.ย.2565) นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ว่า จากการประชุมร่วมกับคณะกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย  กรณีไฟไหม้โรงงานแวกซ์ กาเบ็จ รีไซเคิล อ.จอมบึง จ.ราชบุรี เบื้องต้นมีข้อเสนอทางจ.ราชบุรีว่า อยากให้ประกาศพื้นที่โรงงานเป็นเขตควบคุมมลพิษ เพื่อให้จังหวัดหรือท้องถิ่นสามารถตั้งงบประมาณเข้าไปแก้ไขปัญหาได้ ซึ่ง คพ.รับจะดำเนินการให้ และจะนำเรื่องเข้าพิจารณาในคณะกรรมการควบคุมมลพิษภายในเดือน ก.ค. นี้ หากบอร์ดมลพิษเห็นชอบ ก็จะส่งเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ตามขั้นตอน

ภาพ:กรมควบคุมมลพิษ

ภาพ:กรมควบคุมมลพิษ

ภาพ:กรมควบคุมมลพิษ

 

เบื้องต้นอาจจะประกาศเขตควบคุมมลพิษเพียงพื้นที่รอบโรงงานแห่งนี้ และรัศมีชุมชนรอบๆ ที่อาจได้รับผลกระทบจากปัญหาการปนเปื้อนกากอุตสาหกรรม ซึ่งกรณีนี้จะไม่เท่ากับเคสพื้นที่มาบตาพุด จ.ระยอง ที่มีพื้นที่ใหญ่กว่า เนื่องจากมีแหล่งกำเนิดจากนิคมอุตสาหกรรม 

นายอรรถพล กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ทางบริษัทฯ ยังได้รายงานในกรรมาธิการว่าฯ มีการฝังกลบกากอุตสาหกรรมากถึง 100,000 ตัน ทั้งที่ข้อเท็จจริงสารที่จะนำไปฝังกลบ ต้องไม่เข้าข่ายสารอันตราย เพราะตามกฎหมายอนุญาตเฉพาะวัสดุ หรือกากที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

ดังนั้นทาง คพ.ประสานกับกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เตรียมเข้าไปสำรวจและเจาะชั้นน้ำใต้ดินเพื่อตรวจสอบสารปนเปื้อน ทั้งในบ่อฝังกลบของโรงงาน และพื้นที่รอบๆ และชุมชนในรัศมี 5 กิโลเมตร คาดว่าเร็วสุดเดือน ก.ค. นี้

ทำไม? ต้องประกาศเขตควบคุมมลพิษ 

สำหรับการประกาศเขตควบคุมมลพิษ มีการประกาศไว้หลายแห่ง เช่น 

  •  25 เม.ย.2538 ท้องที่เขตจ.ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสาคร และจ.นครปฐม เป็นเขตควบคุมมลพิษ 
  •  8 พ.ย.2539 กำหนดให้ท้องที่เขตอ.บ้านแหลม อ.เมืองเพชรบุรี อ.ท่ายาง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี และอ.หัวหิน กับอ.ปรานบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นเขตควบคุมมลพิษ
  • 13 ส.ค.2547 กำหนดให้ท้องที่เขต ต.หน้าพระลาน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบรี เป็นเขตควบคุมมลพิษ เนื่องจากปัญหาฝุ่นจากกิจกรรมโรงโม่ บด ย่อยหิน
  • 30 เม.ย.2552 กำหนดให้ท้องที่เขตต.มาบตาพุด ต.ห้วยโป่ง ต.เนินพระ และต.ทับมา อำเภอเมืองระยอง จ.ระยอง ทั้งตำบล ต.มาบข่า อ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง ทั้งตำบล และต.บ้านฉาง อ.บ้านฉาง จ.ระยอง ทั้งตำบลรวมทั้งพื้นที่ทะเลภายในแนวเขต เป็นเขตควบคุมมลพิษ เนื่องจากมีอุตสาหกรรมปิโตรเคมี จากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 
  •  7 ส.ค.2535 กำหนดให้ท้องที่เขต จ.ภูเก็ตเป็นเขตควบคุมมลพิษ
  • 30 ก.ย.2535 กำหนดให้ท้องที่เขตอ.เมือง จ.สงขลา เป็นเขตควบคุมมลพิษ
  • 10 ก.ย.2535 กำหนดให้ท้องที่เขตหมู่เกาะพีพี ต.อ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่ เป็นเขตควบคุมมลพิษ
  • กำหนดให้ท้องที่เขตจังหวัดสมุทรปราการเป็นเขตควบคุมมลพิษ

 

ทั้งนี้ภายใต้ พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 กำหนดให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกาศเขตควบคุมมลพิษ เพื่อให้ท้องถิ่นหรือเขตการปกครองในพื้นที่นั้นๆ มีการจัดการควบคุมและแก้ไขปัญหามลพิษอย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจแหล่งกำเนิดมลพิษในพื้นที่
ทำบัญชีแหล่งมลพิษ วิเคราะห์สถานการณ์ ความรุนแรง ปัญหา ผลกระทบ  จัดทำแผนปฏิบัติการลดและขจัดมลพิษ และการตั้งงบประมาณในการแก้ปัญหาทั้งระยะสั้น ระยะยาว 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

"กรมป่าไม้" เตรียมตรวจที่ดินโรงงานรีไซเคิลราชบุรี 1 ก.ค.นี้

คุมมลพิษรัศมี 1 กม.ไฟไหม้โรงงานรีไซเคิล คาดเชื้อเพลิง 1,000 ถัง

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง