วันนี้ (27 ก.ค.2565) พญ.นฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กรมการแพทย์ กำหนดแนวทางการคัดกรองโรคฝีดาษวานร หรือฝีดาษลิง หากพบผู้ป่วยมีไข้ มีตุ่มหรือผื่นขึ้นตามร่างกาย และอาการเด่นชัดที่ต่างจากเริม อีสุกอีใส หรืองูสวัส คือมีต่อมน้ำเหลืองโต และหากมีประวัติเดินทางจากต่างประเทศให้กักกันโรคทันที และสังเกตอาการ
จากข้อมูลที่มีการรายงานของสหรัฐอเมริกาและยุโรป จะมีไข้ ปวดเมื่อย ปวดศีรษะ มีต่อมน้ำเหลืองโต แผลเกิดทั้งตัวได้ แต่ไม่มีรายงานว่าปวดแสบปวดร้อน
ฝีดาษลิง เป็นกลุ่มเดียวกับไข้ทรพิษและอีสุกอีใส หากเทียบกับไข้ทรพิษมีอาการน้อยกว่า แต่ผู้ป่วยบางกลุ่มหากติดเชื้อฝีดาษลิง ก็อาจมีอาการรุนแรงกว่าคนทั่วไป เช่น ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ กินยากดภูมิ คนที่เปลี่ยนถ่ายอวัยวะ หรือเด็กอายุต่ำกว่า 8 ปี รวมทั้งหญิงตั้งครรภ์
นอกจากนี้ ตามแนวทางของกรมควบคุมโรค แบ่งกลุ่มผู้ป่วย ออกเป็น 3 กลุ่ม คือผู้ป่วยเข้าข่าย หมายถึงมีอาการเข้าได้กับโรคฝีดาษลิง และมีประวัติใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยัน ส่วนผู้ป่วยสงสัยคือคนที่อยู่ระหว่างการรอผลตรวจโรค และผู้ป่วยยืนยัน คือผลจากห้องปฏิบัติการพบว่าติดเชื้อ
เปิดเกณฑ์การรักษาผู้ป่วยรุนแรงทุกคนต้องแอดมิท
โดยวันนี้ กรมการแพทย์ จะประชุมแนวทางการรักษา เพื่อให้คำแนะนำสำหรับสถานพยาบาลทั้งรัฐและเอกชน รวมทั้งคลินิกต่างๆ เบื้องต้นมีการออกร่างแนวทางการวินิจฉัย และแนวทางการรักษา เนื่องจากองค์ความรู้ด้านการป้องกันและยารักษายังมีจำกัด แนะนำให้แอดมิททุกคน เพื่อลดโอกาสการแพร่กระจายโรคและเพื่อติดตามอาการ
- การรักษาแบบประคับประคอง ให้การรักษาตามอาการ
- การรักษาแบบเฉพาะ การใช้ยาต้านไวรัสคล้ายกับไข้ทรพิษ และสุกใส ยาต้านไวรัส Tecovirimat (TPOXX) ในกลุ่มผู้ป่วย ที่มีอาการรุนแรง
- ระยะเวลากักตัวจนสะเก็ดแผลแห้งประมาณ 14-21 วัน
อาการโรคฝีดาษลิง
มีไข้ ปวดเมื่อยศีรษะตามร่างกาย ปวดหลัง อาการเด่นชัด ต่อมน้ำเหลืองโต รักษาเน้นประคับประคอง จัดอยู่ในกลุ่มโรคที่มีลักษณะของตุ่มน้ำ ตามผิวหนัง ใกล้เคียงหลายโรค ซึ่งแนวทางการแยกโรค จะมีการประชุมของกรมการแพทย์ และสรุปส่งให้ทาง EOC กระทรวงสาธารณสุขพิจารณา
เช็กอาการฝีดาษลิง ตุ่มแบบไหนใช่
- ระยะที่ 1 มีตุ่มแดงขึ้น
- ระยะที่ 2 ตุ่มพัฒนากลายเป็น ตุ่มนูน
- ระยะที่ 3 ตุ่มกลายเป็นหนอง
- ระยะที่ 4 ตุ่มแตก ซึ่งการแพร่เชื้อและติดต่อจะเกิดในระยะที่ 3 และ 4
โดยผื่น หรือตุ่มที่ผิวหนัง หรือเคยมีผื่นหรือตุ่มกระจายตามใบหน้า ศีรษะ ลำตัว อวัยวะเพศ และรอบทวารหนัก แขน ขา หรือฝ่ามือฝ่าเท้า เป็นผื่นหรือตุ่มลักษณะเป็นตุ่มนูน ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนอง หรือตุ่มตกสะเก็ด มีประวัติเชื่อมโยงทางระบาดวิทยา ภายใน 21 วัน
รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กล่าวว่า โรคฝีดาษลิงที่หายไปนานถึง 35 ปีเต็มซึ่งเดิมระบาดในแอฟริกา และถือเป็นโรคอุบัติใหม่ ซึ่งย้อนหลังไปหลาย 10 ปีจะพบเชื้อที่ติดใหม่จากสัตว์สู่คน และเคยประเมินว่าหลังโควิด-19 จะมีโรคระบาดใหม่
แค่ 2 ปีครึ่งโรคฝีดาษลิงเป็นโรคเฝ้าระวัง ไม่ใช่โรคระบาดวันนี้จะมีการทำแนวทางสำหรับการรักษาผู้ป่วยฝีดาษลิงในไทย เปรียบเมือนแผนที่ จากประสบการณ์ การรักษายังไม่มี และวินิจฉัยได้อย่างไร
สำหรับการวินิจฉัยแผลตุ่มหนอง เพื่อวินิจฉัย ระหว่างโรคอิสุกอีใส และโรคเริม และโรคฝีดาษลิงจะเห็นเป็นตุ่มขึ้นมาชัดแค่ 1 เม็ดก็ถือเป็นฝีดาษลิง
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
สสจ.ภูเก็ต ยืนยันไม่พบติดเพิ่ม "ฝีดาษลิง" หลังเคสชายไทยมีไข้-ตุ่ม