ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ผู้เลี้ยงโคนมขอรัฐขึ้นราคารับซื้อน้ำนมดิบ

ภูมิภาค
4 ส.ค. 65
15:03
671
Logo Thai PBS
ผู้เลี้ยงโคนมขอรัฐขึ้นราคารับซื้อน้ำนมดิบ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กลุ่มเกษตรกรโคนมจากทั่วประเทศ นัดรวมตัวหน้ากระทรวงเกษตรฯ เรียกร้องรัฐบาลแก้ปัญหาต้นทุน รวมทั้งเพิ่มราคารับซื้อน้ำนมดิบ

วันนี้ (4 ส.ค.2565) กลุ่มเกษตรกรโคนมจากทั่วประเทศ นัดรวมตัวที่หน้ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาต้นทุน รวมทั้งเพิ่มราคารับซื้อน้ำนมดิบ และขอให้นำเรื่องนี้เข้าสู่การประชุมคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว 

 

ขอรัฐขึ้นราคารับซื้อน้ำนมดิบ

เจ้าของฟาร์มโคนม ใน อ.บรบือ จ.มหาสารคาม ต้องปรับเปลี่ยนการเลี้ยงใช้หญ้าที่ชาวนาเกี่ยวจากไร่นามาเป็นอาหารเสริมให้วัว และต้องเพิ่มพื้นที่ปลูกหญ้าเพื่อลดรายจ่ายที่ต้องซื้อวัตถุดิบอาหารวัว

นายธารารัตน์ ร่มแก้ว รองประธานเครือข่ายยุวเกษตรกรโคนมแห่งประเทศไทย

นายธารารัตน์ ร่มแก้ว รองประธานเครือข่ายยุวเกษตรกรโคนมแห่งประเทศไทย

นายธารารัตน์ ร่มแก้ว รองประธานเครือข่ายยุวเกษตรกรโคนมแห่งประเทศไทย

 

ก่อนหน้านี้ตัดสินใจขายวัวออกไปกว่าครึ่ง เพื่อลดต้นทุนการเลี้ยง นำเงินทุนจากการขายวัวมาปรับปรุงฟาร์ม

นายธารารัตน์ ร่มแก้ว รองประธานเครือข่ายยุวเกษตรกรโคนมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากเมื่อก่อนที่เคยเลี้ยงวัวจำนวนมาก แต่ด้วยต้นทุนที่ต้องแบกรับมาหลายเดือน และหากฝืนอาจไปต่อไม่ไหว เลยตัดสินใจหายวัวในฟาร์มที่มีอยู่กว่า 80 ตัว ตอนนี้เหลือเพียง 15 ตัว เป็นแม่รีดอย่างเดียว ซึ่งเป็นแม่สาวท้องแรก 

ไม่ต่างจากเกษตรกรรุ่นใหม่ น.ส.รสิตา จรดล เจ้าของฟาร์มโคนม จ.ชัยภูมิ ยอมรับว่า หากไม่สามารถปรับตัวหรือแก้ปัญหาได้ สุดท้ายอาจต้องเลิกทำอาชีพนี้ เช่นเดียวกับเพื่อน ๆ ในกลุ่ม Young Smart Farmer อีกหลายคนที่ทยอยขายแม่วัวและขายฟาร์ม เพราะแบกรับต้นทุนค่าอาหารสัตว์ที่เพิ่มสูงขึ้นไม่ไหว

แม้ที่ผ่านมาทุกคนจะพยายามปรับตัว แปรรูปน้ำนมดิบ เป็นโยเกิร์ต และนมพาสเจอร์ไรซ์ส่งขาย แต่ก็ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากมาก

น.ส.รสิตา จรดล เจ้าของฟาร์มโคนม จ.ชัยภูมิ

น.ส.รสิตา จรดล เจ้าของฟาร์มโคนม จ.ชัยภูมิ

น.ส.รสิตา จรดล เจ้าของฟาร์มโคนม จ.ชัยภูมิ

หากปลายปีนี้ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ หรือยังไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ก็อาจจะเป็นอีกหนึ่งฟาร์มที่อาจต้องเลิกไปเหมือนกัน

ขณะที่ในสื่อสังคมออนไลน์ยังพบว่า มีการโพสต์ขายโคและอุปกรณ์การเลี้ยงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นภาพที่น่าจะสะท้อนถึงสถานการณ์ขณะนี้ได้เป็นอย่างดี

 

ทีมข่าวไทยพีบีเอส ยังได้ข้อมูลว่าปัจจุบันต้นทุนการเลี้ยงโคนมเพิ่มขึ้นทุกรายการ บางชนิดเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 35 เมื่อเทียบกับราคาของปีที่แล้ว

อย่างราคาอาหารโคนม ที่เรียกกันว่า "อาหารข้น" ปรับขึ้นทุกชนิด โดยอาหารข้นโปรตีน 12% ปีที่แล้ว ยังอยู่ที่ 200 กว่าบาท แต่ปีนี้ทะลุ 300 บาทไปแล้ว


ไม่ต่างจากอาหารข้นแบบผง โปรตีน 16% ก็ปรับเพิ่มขึ้นเกือบ 100 บาทเช่นกัน ส่วนอาหารข้นแบบเม็ด โปรตีน 22% ก็ปรับขึ้นหลายสิบบาท แต่ที่น่าตกใจว่า คือ ถั่วเหลือง เพราะปีที่แล้วอยู่ที่กระสอบละ 1,300 บาท มาปีนี้เพิ่มขึ้นถึง 450 บาท เท่ากับว่าเพิ่มขึ้นเกือบ 35%

ขณะที่วัตถุดิบที่นำมาทำอาหารสำหรับโคนม ก็ปรับขึ้นทั้งหมดแล้วเช่นกัน ทั้ง กากมัน มันเส้น กากเบียร์ ฟางก้อน และข้าวโพด ยังไม่นับรวมค่าน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการตัดหญ้าและการขนส่งน้ำนมดิบไปขายก็สูงขึ้นไปด้วย

แม้ต้นทุนจะเพิ่มทุกรายการ แต่มีอย่างเดียวที่ไม่ปรับขึ้นเลย คือ ราคานมดิบ ที่ขายลิตรละ 17.50 บาท มากว่า 8 ปีแล้ว โดยข้อเสนอของเกษตรกร คือการปรับเพิ่มอีก 2.25 บาทต่อลิตร



ก่อนหน้านี้เกษตรกรหลายคน ได้ตั้งคำถามไปยังภาครัฐว่าจะแก้ปัญหานี้อย่างไร หรือจะปรับราคาให้หรือไม่ แต่เมื่อยังไม่มีทางออกที่ชัดเจน จึงนัดรวมตัวที่หน้ากระทรวงเกษตรฯ วันนี้เพื่อทวงถามถึงแนวทางที่จะช่วยเหลือเกษตรกร 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง