ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"หมอมนูญ" เตือนแมวกัด-หนามกุหลาบตำ เสี่ยงโรคสปอโรทริโคซิส

สังคม
20 ก.ย. 65
12:36
4,011
Logo Thai PBS
"หมอมนูญ" เตือนแมวกัด-หนามกุหลาบตำ เสี่ยงโรคสปอโรทริโคซิส
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
นพ.มนูญ เตือนถูกแมวข่วน-กัด หนามกุหลาบตำ เสี่ยงโรคสปอโรทริโคซิส (Sporotrichosis) เกิดจากเชื้อราที่พบในธรรมชาติ ลักษณะเป็นตุ่มขนาด 0.5 ซม. รักษาด้วยการใช้ยาฆ่าเชื้อราชนิดกิน

วันที่ 19 ก.ย.2565 นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าห้องไอซียูเฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนัก และโรคผู้สูงอายุ ประจำโรงพยาบาลวิชัยยุทธ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC" ว่า

โรคสปอโรทริโคซิส (Sporotrichosis) เกิดจากเชื้อราซึ่งพบในธรรมชาติ เข้าร่างกายทางบาดแผลจากการถูกแมวกัด หรือข่วน หรือถูกหนามกุหลาบตำ พบไม่บ่อย โรงพยาบาลวิชัยยุทธพบผู้ป่วยโรคนี้ 3 คน ใน 1 ปี

นพ.มนูญ กล่าวถึงผู้ป่วยรายแรก เป็นหญิงอายุ 51 ปี ใส่ถุงมือให้อาหารและทำความสะอาดแมวจรจัดที่ป่วยมีบาดแผลตามตัว ถูกเล็บแมวจิกที่หลังมือข้างซ้ายทะลุถุงมือ ทำให้เกิดแผล แมวตัวนี้อยู่ใน กทม. ตายหลังจากนั้น 1 สัปดาห์ ส่วนหญิงคนดังกล่าวภายหลังทายาปฏิชีวนะแผลที่มือหาย แต่ 2 สัปดาห์ต่อมาวันที่ 13 พ.ค.2565 เริ่มสังเกตมีตุ่มแดงที่หลังมือซ้าย ไม่มีอาการเจ็บ และมาพบแพทย์และตรวจร่างกายพบ ตุ่มแดงขนาด 0.5 ซม. ที่หลังมือข้างซ้าย บริเวณตรงกลางตุ่มมีหนองเล็ก ๆ ต่อมน้ำเหลืองไม่โต

แพทย์ใช้เข็มเจาะดูดหนองได้เล็กน้อย ส่งย้อมแบคทีเรีย เชื้อรา พบยีสต์จำนวนมาก (yeast cells) ได้เริ่มยาฆ่าเชื้อรา Itraconazole 100 มก. วันละ 2 ครั้ง วันที่ 23 ก.ค.ที่ผ่านมา ผลเพาะเชื้อรา ขึ้นเชื้อรา Sporothrix schenckii กินยา Itraconazole ตั้งแต่ 13 พ.ค.-16 ก.ย. 65 จนแผลแห้งดี


ผู้ป่วยรายที่ 2 เกิดจากหนามกุหลาบเกี่ยวผิวหนังที่แขนด้านขวาบน

ผู้ป่วยรายที่ 3 เลี้ยงแมว แต่ปฏิเสธถูกแมวข่วนหรือกัด เป็นที่ผิวหนังแขนข้างซ้าย

สำหรับเชื้อรา Sporothrix schenckii อยู่ในธรรมชาติ มีแหล่งอาศัยอยู่ตามดิน ตามพืช และเปลือกต้นไม้ เข้าร่างกายทางบาดแผลที่ถูกหนามตำ หรือใบไม้บาด หรือจากการถูกแมวที่ป่วยด้วยโรคนี้กัดหรือข่วน



เชื้อรานี้เมื่ออยู่ในร่างกายอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ มีลักษณะเป็นยีสต์ หากอยู่ตามธรรมชาตินอกร่างกายอุณหภูมิต่ำกว่า จะมีลักษณะเป็นราสาย ส่วนการรักษาโดยทั่วไปใช้ยาฆ่าเชื้อราชนิดกิน Itraconazole นาน 3-6 เดือนจนกว่าแผลจะหาย

(ขอบคุณอาจารย์ ดร.พิริยาภรณ์ จงตระกูล ที่ปรึกษาแผนกจุลชีววิทยาโรงพยาบาลวิชัยยุทธ)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง