วันนี้ (8 ต.ค.2565) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจพิสูจน์การมีสารเสพติดหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในร่างกายของผู้ขับขี่ หรือบุคคลที่อาจเป็นผู้ขับขี่ ซึ่งอยู่ในภาวะหมดสติ หรือได้รับอันตรายแก่กายจนไม่สามารถให้ความยินยอมได้ กรณีที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น พ.ศ. 2565
เนื้อหาระบุว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสำหรับพนักงานสอบสวนในการขอให้แพทย์ทำการตรวจพิสูจน์การมีสารเสพติดหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดในร่างกายของผู้ขับขี่หรือบุคคลที่อาจเป็นผู้ขับขี่ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่งในกรณีที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น และบุคคลดังกล่าวอยู่ในภาวะหมดสติหรือได้รับอันตรายแก่กายจนไม่อาจให้ความยินยอมในการทดสอบการมีสารอยู่ในร่างกายตามมาตรา 43 ทวิ วรรคสองได้
เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 43 ทวิ/1 แห่พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งเพิ่มเติมโดยพ.ร.บ.ทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ระเบียบนี้ เรียกว่าระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจพิสูจน์การมีสารเสพติด หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในร่างกายของผู้ขับขี่ หรือบุคคลที่อาจเป็นผู้ขับขี่ ซึ่งอยู่ในภาวะหมดสติ หรือได้รับอันตรายแก่กาย จนไม่สามารถถให้ความยินยอมได้ กรณีที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น พ.ศ.2565
ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
เก็บเลือด-ปัสสาวะตรวจหาสารเสพติด
ข้อ 3 ในกรณีที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น และมีเหตุอันเชื่อได้ว่า ผู้ขับขี่หรือบุคคลที่อาจเป็นผู้ขับขี่ ได้กระทำการฝ่าฝืนตามมาตรา 43 ทวิวรรคหนึ่ง และบุคคลดังกล่าวอยู่ในภาวะหมดสติ หรือได้รับอันตรายแก่กายจนไม่อาจให้ความยินยอมในการรทดสอบการมีสารอยู่ในร่างกายตามมาตา 43 ทวิวรรคสอง ให้พนักงานสอบสวนพิสูจน์ทราบข้อเท็จเท็จจริงว่า ผู้ขับขี่หรือบุคคลที่อาจเป็นผู้ขับขี่นั้นกระทำการ
ฝ่ำฝืนกฎหมายตามาตราดังกล่าวข้างต้นหรือไม่ทุกกรณี โดยให้ปฏิบัติตามวิธีการและขั้นตอนดังต่อไปนี้
(1) ให้พนักงานสอบสวนส่งตัวผู้ขับขี่ หรือบุคคลที่อาจเป็นผู้ขับขี่ไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด และแจ้งเป็นหนังสือขอให้แพทย์ที่เกี่ยวข้องทำการตรวจพิสูจน์การมีสารเสพติดของยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ชนิดร้ายแรง แอมเฟตามีน และเมทแอมเฟตามีนหรือ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิต และประสาทในร่างกายของบุคคลดังกล่าวภายใน 3 ชั่วโมง
นับแต่เวลาที่พนักงานสอบสวนได้รับแจ้งถึงเหตุดังกล่าวข้างต้น หากไม่สามารถแจ้งเป็นหนังสือได้ ให้พนักงานสอบสวนแจ้งด้วยวาจา หรือด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่นใด เพื่อให้แพทย์ที่เกี่ยวข้องทราบ และทำการตรวจพิสูจน์ จากนั้นให้พนักงานสอบสวนแจ้งเป็นหนังสือภายใน 20 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่พนักงานสอบสวนได้รับแจ้งถึงเหตุดังกล่าวข้างต้น
ให้บันทึกในสำนวนเพื่อพิจารณาคดี
(2) เมื่อได้รับการแจ้งจากพนักงานสอบสวนตามข้อ (1) ให้แพทย์ที่เกี่ยวข้องทำการตรวจพิสูจน์การมีสารเสพติดหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในร่างกายของบุคคลดังกล่าว โดยเก็บตัวอย่างจากเลือด ปัสสาวะหรือของเสียอย่างอื่นจากร่างกายของบุคคลดังกล่าวด้วยวิธีทางการแพทย์และ ใช้วิธีการที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดน้อยที่สุดเท่าที่จะกระทำได้
ทั้งจะต้องไม่เป็นอันตรายอย่างอื่นต่อร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลนั้น และให้แพทย์ออกหลักฐานเป็นหนังสือแสดงผลการตรวจพิสูจน์โดยเร็ว กรณีที่แพทย์ไม่สามารถทำการตรวจพิสูจน์ตามที่พนักงานสอบสวนแจ้งได้ ให้บันทึกเหตุผลความจำเป็นไว้เป็นหลักฐาน
(3) ให้พนักงานสอบสวนนำหลักฐานแสดงผลการตรวจพิสูจน์ หรือบันทึกเหตุผลที่แพทย์ ไม่อาจตรวจพิสูจน์ได้ ตามข้อ (2) รวมในสำนวนการสอบสวนเพื่อประกอบการพิจารณาทำความเห็นทางคดีทุกกรณี
(4) ระดับปริมาณสารเสพติดหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในร่างกายที่ถือว่า ผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา 43 ทวิวรรคสี่ แห่งพ.ร.บ.จราตรทำงบก พ.ศ.2522
ข้อ 5 หนังสือขอให้แพทย์ที่เกี่ยวข้องทำการตรวจพิสูจน์การมีสารเสพติดหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสำทในร่างกาย ตามข้อ 3 (1) ให้เป็นไปตามแบบที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนดท้ายระเบียบนี้
ข้อ 6 ค่ำใช้จ่ายในการในการตรวจพิสูจน์ตามระเบียบนี้ ให้สั่งจ่ายจากงบประมาณตำมระเบียบที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนด

