ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

มุมมอง "อังกฤษ" ขายบ้านยังไงที่ไม่ใช่ขายแผ่นดิน

เศรษฐกิจ
31 ต.ค. 65
10:49
2,318
Logo Thai PBS
มุมมอง "อังกฤษ" ขายบ้านยังไงที่ไม่ใช่ขายแผ่นดิน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ไม่ใช่แค่ "ไทย" ที่เปิดเสรีให้ต่างชาติถือครองที่ดินโดยไม่มีข้อจำกัด "อังกฤษ" ก็เป็นอีกประเทศที่ให้เสรีให้เรื่องนี้เช่นกัน แต่ความเหมือนบนความต่าง กลับไม่ได้เป็นผลเสียต่ออังกฤษและประชาชนก็ไม่รู้สึกว่าถูกยึดครองแผ่นดินเกิดของตน

หลังจากที่ประเทศไทยประกาศกฏกระทรวงให้สิทธิชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง 4 กลุ่ม ถือครองที่ดินในไทยได้ไม่เกิน 1 ไร่ และต้องลงทุนไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท อย่างน้อย 3 ปีนั้น ก็เกิดกระแสต่างๆมากมาย ทั้งด้านเห็นด้วยและคัดค้าน

อ่านข่าวเพิ่ม : 
ครม.ไฟเขียว ต่างชาติซื้อที่ดิน 1 ไร่ แลกลงทุนไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท

เพื่อไทย - ภาคประชาชน ค้านให้ต่างชาติถือครองที่ดิน

ต้องมามองว่า การที่ “คนมีเงิน” จะมีบ้านสักหลังคงไม่ใช่เรื่องยาก แต่การจะมีบ้านที่อยู่ในทำเล พื้นที่ ที่อยากได้ดั่งใจนั้น อาจจะเป็นเรื่องยากขึ้น เพราะใช่ว่ามีเงินแล้วจะสามารถซื้อที่อยู่อาศัยที่ไหนในโลกก็ได้ แต่ละประเทศก็มีกฎหมาย มีข้อห้าม ข้อจำกัดมากมาย

ในโลกนี้ยังมีอีกประเทศหนึ่งที่อนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้ามาซื้อที่อยู่อาศัยได้ “โดยที่ไม่มีเงื่อนไขใดๆ กีดกัน” และคนในประเทศไม่ได้มองว่า แผ่นดินเกิดตัวเองกำลังจะถูก “ต่างชาติครอบครอง”

นั่นคือ ประเทศอังกฤษ

ไทยพีบีเอสออนไลน์ชวนทำความรู้จักเรื่องซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ แบบไม่มีอะไรมาปิดกั้นในอังกฤษไปพร้อมๆ กัน

คำอธิบายของ ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย ที่ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวต่างประเทศ BBC ถึงการซื้อที่อยู่อาศัยในอังกฤษว่า บุคคลที่ไม่ได้เป็นพลเมืองของอังกฤษอย่างถูกกฎหมาย หรือ ชาวต่างชาตินั้น สามารถซื้อที่อยู่อาศัยในอังกฤษได้ แต่จะต้องเสียภาษีให้ประเทศถึง 5 อย่าง ได้แก่

1. ภาษีอากรที่ดิน (Stamp Duty Land Tax ; SDLT) นั่นคือ ถ้าชาวต่างชาติต้องการซื้อบ้านในอังกฤษ จะต้องเสียภาษีให้รัฐร้อยละ 5 ของราคาขาย และหากซื้อบ้านหลังที่ 2 จะต้องจ่ายภาษีเพิ่มเป็นร้อยละ 8

ในขณะที่ประเทศไทยนั้น คนซื้อไม่ต้องจ่าย คนขายต้องจ่ายแทน

2. ภาษีเงินได้ (Tax Income) กรณีที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ นำทรัพย์ของตนไปก่อให้เกิดรายได้ เช่น ปล่อยเช่า หรือ ขายต่อ ต้องเสียภาษีตั้งแต่ร้อยละ 20-45 ของรายได้ที่ได้รับ (เมื่อรายได้มากกว่า 12,571 ปอนด์ขึ้นไป)

3. ภาษีจากผลกำไรจากส่วนต่างของราคาทรัพย์สิน (Capital Gains Tax) เช่น ชาวต่างชาติซื้อทรัพย์มาราคาหนึ่ง พอเวลาผ่านไปราคาทรัพย์นั้นสูงขึ้น เมื่อนำไปขายก็จะเกิดกำไรจำนวนมาก ซึ่งในอังกฤษจะเก็บภาษีจากกำไรส่วนต่างนี้ในอัตราร้อยละ 18 ของราคาส่วนต่างนั้นๆ

ซึ่งภาษีแบบนี้ ที่ไทยไม่มี และไม่เคยเก็บเลย

4. ภาษีมรดก (Inheritance Tax) ผู้รับทรัพย์สินจากผู้เสียชีวิตต้องจ่ายภาษีให้รัฐอัตราร้อยละ 40 แต่ทรัพย์นั้นต้องมีมูลค่าเกิน 325,000 ปอนด์

5. ภาษีบำรุงเทศบาล (Council Tax) คล้ายกับ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของไทย ที่อังกฤษจะเรียกเก็บอัตราร้อยละ 1 ของราคาทรัพย์นั้นๆ

แต่สำหรับไทย หากมูลค่าทรัพย์สินไม่เกิน 50 ล้านบาท ก็ไม่ต้องจ่ายภาษี

 

แล้วประเทศอื่นๆ ในโลกให้ชาวต่างชาติ ซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์กันอย่างไร?

ข้อมูลจากเว็บไซต์รัฐสภาสหราชอาณาจักร กล่าวถึงกฎเกณฑ์ของประเทสอื่นๆ กรณีชาวต่างชาติซื้ออสังหาฯ ในประเทศตัวเอง เช่น

  • สวิตเซอร์แลนด์ ชาวต่างชาติ ต้องได้รับอนุญาตจากรับบาลก่อน ถึงจะสามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้ และรัฐบาลจำกัดใบอนุญาตซื้ออสังหาฯ ที่ไม่ใช่เพื่อการอยู่อาศัยเพียง 1,440 ใบ/ปี

  • แคนาดา ในแวนคูเวอร์ ชาวต่างชาติที่ซื้อบ้านต้องเสียภาษีร้อยละ 15

  • อินเดีย ไม่อนุญาตให้มีการซื้อ-ขาย ทรัพย์สินที่เคลื่อนที่ไม่ได้ทุกประเภท เว้นแต่ได้รับเป็นมรดก

  • ออสเตรเลีย ชาวต่างชาติที่ต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐนิวเซาท์เวลส์ รัฐวิกตอเรีย รัฐควีนสแลนด์ ต้องสมัครขออนุมัติการลงทุนก่อน และต้องจ่ายภาษีให้ในอัตราร้อยละ 3-7
  • นิวซีแลนด์ หากชาวต่างชาติซื้อ-ขายบ้านหลังที่ 2 ภายใน 2 ปีต้องจ่ายภาษี และต้องสมัครขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีเพิ่มเติมด้วย แต่ปัจจุบัน ธนาคารในนิวซีแลนด์บางแห่ง ใช้วิธีปฏิเสธการให้สินเชื่อเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์สำหรับคนต่างชาติ

  • สิงคโปร์ จำกัดการเข้าถึงการซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์บางประเภทให้ชาวต่างชาติ และต้องขออนุญาตจากรัฐบาลก่อนด้วย

  • จีน อนุญาตให้ชาวต่างชาติซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้ตามต้องการ แต่ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของแต่ละท้องที่ ในขณะที่ ฮ่องกง เก็บภาษีร้อยละ 15 สำหรับชาวต่างชาติที่ซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์ในฮ่องกง

ที่มา : BBC

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง