ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ประกาศตามตัว! สาวเปิบพิสดารกิน "ค้างคาว" รีบพบหมอด่วน

สิ่งแวดล้อม
8 พ.ย. 65
15:39
3,117
Logo Thai PBS
ประกาศตามตัว! สาวเปิบพิสดารกิน "ค้างคาว" รีบพบหมอด่วน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
หมอแล็บแพนด้า-หมอล็อต เตือนสาวเปิบพิสดารกินค้างคาว รีบหาหมอตรวจเลือดด่วน ห่วงรับสารคัดหลั่งจากตัวค้างคาวและเสี่ยงเชื้อโรคเข้าร่างกาย แถมยังผิดกฎหมายข้อหาล่าสัตว์ป่าคุ้มครอง ขณะที่ผลศึกษาพบโรคใหม่ในค้างคาว 175 ชนิด

วันนี้ (8 พ.ย.2565) กรณีเพจเฟซบุ๊ก หมอแล็บแพนด้า ของทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน นักเทคนิคการแพทย์ชื่อดัง โพสต์ข้อความว่า บางคนไม่ได้เรียนรู้อะไรจากเหตุการณ์โควิด-19 ระบาดทั่วโลกเลย ยังทำคอนเทนต์ที่เสี่ยงต่อการแพร่กระจายของโรคด การไปเอาสัตว์ที่เป็นแหล่งของเชื้อโรคมากิน ต่อให้เรากินสุกก็เถอะ 

แต่ขั้นตอนการจับค้างคาว และการชำแหละจะทำให้มนุษย์ติดโรค และแพร่ไปสู่คนอื่นได้ เพราะเชื้อไวรัสจะมีการสะสมอยู่ทั้งในเลือด น้ำลาย และเครื่องในต่างๆ เวลามือไปสัมผัสพวกมันแล้ว เผลอจับหน้าจับตา สูดดม หรือโดนแผลต่างๆมนุษย์ก็ติดโรค และแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก

ค้างคาว เป็นแหล่งรังโรคและเป็นสัตว์ที่สะสมเชื้อโรคเยอะมาก มีรายงานการเจอไวรัสมากกว่า 60 ชนิดในค้างคาว ซึ่งบางชนิดก็ก่อโรคในคนได้ และยังแพร่ระบาดไม่หายถึงทุกวันนี้ เช่น ไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า ไวรัสอีโบล่า ไวรัสซาร์ส ไวรัสเมอร์ส ไวรัสนิปาห์ที่ทำให้เกิดโรคสมองอักเสบ และไวรัสโคโรน่าที่ก่อโรคโควิดมีคนล้มตายจำนวนมาก เศรษฐกิจพังไปทั่วโลก


เลิกไปยุ่งกับมันเถอะ อย่าไปกินสัตว์พวกนี้เลย เรามีบทเรียนที่หนักหนามากแล้ว อย่าทำให้โรคแปลกๆมันระบาดสู่มนุษย์อีกเลย

อ่านข่าวเพิ่ม เตือน! เปิบซุปค้างคาวเสี่ยงติดเชื้อ "ไวรัสโคโรนา"

ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ตามตัวด่วนสาวกินค้างคาว-เสี่ยงโรค 

ด้านนายสัตวแพทย์ภัทรพล มณีอ่อน หรือ "หมอล็อต" หัวหน้ากลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ให้สัมภาษณ์ไทยพีบี เอสออนไลน์ว่า ตอนนี้เห็นในคลิปตกใจมาก เพราะเหตุการณ์ไม่ควรเกิดขึ้นทั้งในไทย และทั่วโลก เป็นพฤติกรรมเสี่ยงมาก โดยเฉพาะค้างคาวมีเชื้อโรคเยอะมาก

จากในคลิปที่ผู้หญิคนดังกล่าวอ้างว่ามีการทำให้ค้างคาวสุกแล้ว การทำให้สุกแล้วเชื้อจะตายไม่มีอยู่จริง ไม่มีข้อพิสูจน์ว่าน้ำร้อนอุณหภูมิแค่ไหนที่จะทำให้เชื้อโรคตายจริง แค่สัมผัสน้ำลาย เลือด ตัวค้างค้าว ก็ถือว่ามีความเสี่ยงสัมผัสสารคัดหลั่งโดยตรง

น่าห่วงมากที่สุด แนะนำว่าผู้หญิงคนนี้ ต้องแยกตัวไปหาหมอ ตรวจสุขภาพ ตรวจโรคจากเลือดและน้ำลายว่ามีความเสี่ยงจากการรับเชื้อจากการค้างคาวโดยเร็วที่สุด รวมทั้งคนที่ใกล้ชิด 

ชี้ค้างคาวเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง-ผิดกฎหมายชัด

นายสัตวแพทย์ภัทรพล กล่าวอีกว่า นอกจากข้อเป็นห่วงเรื่องโรคในค้างคาวแล้ว พบว่าผู้หญิงคนนี้จะมีความผิด พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองและสัตว์ป่า พ.ศ.2562 เนื่องจากค้างคาวเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ทางชุดเหยี่ยวดง กำลังตามหาผู้หญิงคนนี้อยู่ โดยเบื้องต้นมีความผิดชัดอาจจะโดนข้อหาล่าและครอบครองซากสัตว์ป่าคุ้มครอง 

พบเชื้อโรคใหม่ในค้างคาว 175 ชนิด 

สำหรับค้างคาว กรมอุทยานฯ ร่วมกันศึกษาโรคอุบัติใหม่ มาตั้งแต่ปี 2546 หลังจากการระบาดโรคไข้หวัดนก โดยตลอดเกือบ 10 ปี และจนถึงการระบาดของโควิด-19 ก็มีการเพิ่มการตรวจ และเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่เชิงรุกเพิ่มเติม ทำให้พบเชื้อโรคใหม่ในค้างคาวแล้ว 175 ชนิด โดย 140 ชนิดเป็นเชื้อโรคที่ทั่วโลกรู้จักแล้ว 

ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ไวรัสตัวใหม่มีการสำรวจเชิงรุก เพื่อให้พัฒนาระบบเตือนภัยที่จะเกิดจากสัตว์สู่คน และเป้าหมายศึกษาความหลากหลายไวรัสในสัตว์ป่า และการสร้างแบบจำลองกับหน่วยงานราชการพื่อเฝ้าระวังโรค 

ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงเดือนม.ค.2563 ช่วงการระบาดของโควิด-19 ก็เคยมีเหตุการณ์เปิบพิสดารกินซุปค้างคาว ซึ่งทำให้เกิดกระแสวิจารณ์ในวงกว้าง เพราะเคยมีการรายงานตลาดอาหารสัตว์ป่าอาจเป็นต้นตอของโรคโควิด-19 จากสัตว์ป่าสู่สัตว์เลี้ยงและสู่คน 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

รู้จัก "โรคฮิสโตพลาสโมซิส" หายใจรับสปอร์เชื้อราจากมูลค้างคาว-นก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง