ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"ชุมชนวัวลาย" แหล่งผลิตเครื่องเงิน สู่ของที่ระลึกเอเปค

สังคม
14 พ.ย. 65
14:27
2,966
Logo Thai PBS
"ชุมชนวัวลาย" แหล่งผลิตเครื่องเงิน สู่ของที่ระลึกเอเปค
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ชุมชนที่ผลิตเครื่องเงินที่มีชื่อเสียง ชื่อของชุมชนวัวลาย ในเทศบาลนครเชียงใหม่ จะถูกนึกถึงอันดับแรกๆ เพราะเป็นแหล่งสะสมภูมิปัญญาการทำเครื่องเงินมาตั้งแต่อดีต ล่าสุดภาพดุนโลหะของชุมชนถูกนำไปเป็นของที่ระลึกการประชุมผู้นำเอเปค

นายดิเรก สิทธิการ พ่อครูช่างเครื่องเงิน และดุลโลหะชุมชนคุณธรรมวัดศรีสุพรรณ (วัวลาย) จ.เชียงใหม่ อายุ 68 ปี เล่าถึงที่มาของการทำเครื่องเงิน ที่ปัจจุบันกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก

พ่อครูดิเรก บอกว่า ตระกูลช่างทำเครื่องเงินบ้านวัวลาย ปัจจุบันมี 2 ชุมชน คือ วัวลายหมื่นสาร กับวัวลายศรีสุพรรณ เทศบาลนครเชียงใหม่ เป็นชุมชนที่สืบสานการทำเครื่องเงิน ในอดีตชาวบ้านจะไปเรียนทำเครื่องเงินในคุ้มในวัง และมาทำในหมู่บ้านเมื่อทำเสร็จก็ส่งเข้าคุ้มเข้าวังตามเดิม

 

การดุนโลหะของชุมชนวัวลาย จ.เชียงใหม่

ยุคสมัยพระยากาวิละ สร้างเมืองเชียงใหม่อีกครั้ง จึงรวบรวมเอาช่างเครื่องเงินจากเชียงตุง สิบสองปันนา ที่เป็นช่างที่สร้างพระบรมหาราชวัง และช่างที่ทำเครื่องเงินมาอีกรอบ อาศัยทำเครื่องเงินมาจนถึงปัจจุบัน

สมัยก่อนนิยมทำ สลุง (ขัน) พาน ถาด ทำเป็นเครื่องเงินหมด ทำตามบ้านเรียก “เตาเส่า” หรือเตาเผาเล็ก แรงงานก็ทำอยู่ในบ้านเป็นโรงงานในครอบครัว ส่วนใหญ่ทำเสร็จจะส่งไปเชียงใหม่ และกรุงเทพฯ

ผลกระทบการทำเครื่องเงิน

ปัจจุบันคนทำเครื่องเงินหายไปเยอะ เพราะช่างที่อายุมากได้เสียชีวิต บางคนก็เลิกทำ และมีวิกฤตอยู่หลายระลอก

รอบแรกเมื่อ 30 ปีก่อน เครื่องเงินได้รับผลกระทบมาก โรงงานในกรุงเทพฯได้ปั้มสลุงอลูมิเนียมออกมา โดยให้ชุมชนทำลวดลาย ส่งไปกรุงเทพฯ ก็เริ่มลดถอยไปแล้ว

จากเครื่องเงินมาทำอลูมิเนียม และยังไม่พอโรงงานยังเอาช่างบ้านวัวลายไปอยู่กรุงเทพฯ การทำเครื่องเงินในบ้านวัวลาย ก็หายไปทีละน้อย

ครั้งที่สอง ช่วงร่มบ่อสร้างรุ่งเรือง มีนักลงทุนจากกรุงเทพฯ มาสร้างโรงงานและเอาช่างจากชุมชนวัวลายไปอีก ปัจจุบันเหลือช่างทำเครื่องเงินเหลือไม่มาก ปัจจุบันช่างขึ้นรูปเหลือเพียง 5 คน

ชุมชนจึงพยายามรักษาในปี 2544 เจ้าอาวาสวัดศรีสุพรรณ ได้ตั้งกลุ่มอนุรักษ์ขึ้น และสร้างอุโบสถใหม่ (สีเงิน) เพื่ออนุรักษ์งานศิลป์ของชุมชน

ทำให้งานดุนโลหะมีคนสนใจมีลูกศิลป์นับร้อย ถูกสอนตามโรงเรียนและวัดศรีสุพรรณ แต่ที่น่าห่วงคืองานขึ้นรูปยังมีผู้สนใจน้อย

อนาคตงานดุนไม่ห่วง แต่ห่วงเรื่องงานขึ้นรูป เพราะเป็นงานที่ยาก ต้องอยู่หน้าไฟตลอด เผาตีเพื่อให้รูปทรง ถือว่าเป็นงานหนัก

งานเครื่องดุนโลหะสู่ของที่ระลึกประชุมเอเปค

ด้วยเป็นชุมชนทำเครื่องเงินมาก่อน กระทรวงวัฒนธรรมได้ติดต่อเครื่องเงินในชุมชน ต่อยอดของ CPORT เป็นผลิตภัณฑ์ทุกอย่างของชุมชนวัวลาย ได้มีการคัดเลือกระดับเพชร

การทำเก้าอี้แสนตอก ตอนแรกจะให้ผู้นำประชุมเอเปค ทางรัฐบาล กระทรวงวัฒนธรรมให้ลดลงมาให้เป็นชิ้นที่ถือไปง่าย จึงมาเป็นงานภาพ และกล่อง ดุนโลหะ

แนวคิดการออกแบบของที่ระลึกให้กับผู้นำเอเปค ทางกระทรวงวัฒนธรรมได้มีโจทย์และแบบมาให้ ภาพดุนโลหะจะมีพระบรมหาราชวัง เรือสุพรรณหงส์ มีดวงดาวส่องแสง และมีตราลวดลายชะลอม สัญลักษณ์การประชุมเอเปค “ชะลอม” ที่จัดวางเป็นรูปทรงตราประจำยามของไทย ภายใต้ชื่อ “รชตะแสนตอก”

และชิ้นที่ 2 คือ กล่องเครื่องประดับดุนโลหะ (สำหรับคู่สมรส) ใช้เทคนิคดุนลายบนแผ่นโลหะรีไซเคิล เป็นลวดลายด้วยตราสัญลักษณ์การเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย “ชะลอม”

ตอนแรกๆไม่รู้ว่าจะได้ทำให้กับผู้นำเอเปค ความภูมิใจของช่างทุกคนที่อยู่ด้วยกันช่างสิบกว่าคน

ความภูมิใจที่ได้ทำให้กับประเทศชาติ เป็นสิ่งที่หาได้ไม่ง่าย ที่จะได้ฝากฝีมือของช่างชุมชนวัวลาย เป็นคุณค่าทุกอย่างทั้งจิตใจของช่างที่อยู่ในชิ้นงาน ช่างทุกคนดีใจเหมือนได้รับใช้ชาติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง