ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ค้นพบการทอผ้า วัฒนธรรมโลงไม้ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน

ภูมิภาค
27 ธ.ค. 65
16:49
1,137
Logo Thai PBS
ค้นพบการทอผ้า วัฒนธรรมโลงไม้ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
นักโบราณคดี ม.ศิลปากร และคณะ ค้นพบครั้งแรกภูมิปัญญาการทอผ้าและไม้ทอผ้า วัฒนธรรมโลงไม้ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์เมื่อ 2000 ปีก่อน ที่ ถ้ำผีแมนโลงลงรัก ต.ถ้ำลอด อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน

การสืบค้นวัฒนธรรมโลงไม้ ที่ถ้ำผีแมนโลงลงรัก ต.ถ้ำลอด อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน เริ่มมีการขุดค้นทางโบราณคดีมาตั้งแต่ ปี 2556-2558 ได้เผยข้อมูลผลการตรวจดีเอ็นเอทำให้ทราบเชื้อสายของกลุ่มคนที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ตั้งแต่เมื่อ 2,000 ปีที่แล้วว่าเป็นกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบัน และงานวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลที่แล้วเสร็จเมื่อปี 2564 มีสิ่งที่น่าตื่นเต้นและน่าสนใจมาก คือ พบโบราณวัตถุ “ผ้าทอและอุปกรณ์ทอผ้า” ที่ทอจากป่านต้นกัญชง ซึ่งเป็นการค้นพบครั้งแรกและครั้งสำคัญของประเทศ

ภาพ : ศ.ดร.รัศมี ชูทรงเดช คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร

ศ.ดร.รัศมี ชูทรงเดช คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร เปิดเผยถึงการค้นพบโบราณวัตถุที่สำคัญครั้งนี้ว่า ไม้ทอผ้าเราไม่เคยพบตั้งแต่การขุดค้นมาเพิ่งขุดค้นพบที่ถ้ำผีแมนโลงลงรัก แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของคนเมื่อ 2,000 กว่าปีที่รู้จักการท่อผ้า ซึ่งน่าสนใจการทอผ้าคล้ายกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยในพื้นที่ประเทศไทย มีความเกี่ยวพันอย่างไร รวมถึงการทำเครื่องเขิน การลงรัก การแกะสลักโลงผีแมนที่แกะด้วยไม้สัก ยังเป็นภูมิปัญญาการแกะสลักที่รู้จักเป็นครั้งแรก

 

เราไม่ได้บอกว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์อะไรแต่มีความเกี่ยวพันกันแสดงให้เห็นว่าคนในอดีตมี ภูมิปัญญาการทอผ้า ทำเครื่องเงิน ของคนภาคเหนือ แต่ก่อนเราอาจนึกว่ามาจากที่อื่นแต่ที่นี่มีมาตั้งแต่ 2,000 ปีแล้ว

 

ข้อมูลการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ ภายในถ้ำ คูหา A1 ได้แสดงให้เห็นว่า กลุ่มที่ 1 (อายุประมาณ 1691-1537 ปี) จัดอยู่ในกลุ่มคนที่พูดภาษาได อามิสและกะได ที่อยู่ในตระกูลภาษากะได และออสโตรนีเซียส ซึ่งเป็นกลุ่มที่พูดภาษานี้ในประเทศไทยปัจจุบัน

และกลุ่มที่ 2 (อายุระหว่าง 1815 – 1570 ปีมาแล้ว) จัดอยู่อยู่ในกลุ่มคนที่พูดภาพษาออสโตรเอเชียติก (ภาษามอญ-เขมร) ซึ่งพบคนกลุ่มนี้ใรประเทศไทย เวียดนาม และจีนตอนใต้ปัจจุบัน

 

ศ.ดร.รัศมี ยังระบุว่าใน นอกจากความหลากหลายทางชาติพันธุ์ แต่สิ่งที่น่าภาคภูมิใจ ไม่ใช่เฉพาะคนภาคเหนือแต่คนไทยทุกคนควรได้รับรู้ คือ มีการทอผ้าป่านกัญชง แสดงให้เห็นว่าเมื่อ 2,000 กว่าปีที่แล้ว มีการปลูกกัญชงแล้ว และเอามาทอเป็นเส้นใย และทอเป็นผ้า แสดงให้เห็นการค้นพบภูมิปัญญาหลายอย่างที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ภาพ : อุปกรณ์ทอผ้าที่พบในแหล่งโบราณคดี 

การทอผ้าในช่วงวัฒนธรรมโลงไม้ โบราณวัตถุประเภทผ้าที่พบในแหล่งโบราณคดี มี 2 รูปแบบ คือ ผ้าทอด้วยเส้นด้ายพันเกลียว และเส้นเชือกถักเป็นปมต่อกันเป็นผืน

ภาพ : เชือกถักผูกปม

ภาพ : การทอแบบขัดธรรมดา

ภาพ : การทอผ้าแบบกี่เอวของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง บ้านเมืองแพม อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน


สำหรับแหล่งโบราณคดีถ้ำผีแมนโลงลงรัก ได้ดำเนินการขุดค้นระหว่างปี พ.ศ.2556-2558 และวิเคราะห์เสร็จสิ้นเมื่อ พ.ศ.2564 โดย ศ.ดร.รัศมี ชูทรงเดช คณะโบราณคดี ม.ศิลปากรและคณะ “เรื่องมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์กับพลวัตทางวัฒนธรรมบนพื้นที่สูง อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน”

โลงลงรัก หมายถึงโลงที่เคลือบด้วยยางรัก ถ้ำนี้มีอายุระหว่าง 2120 -1250 ปีมาแล้ว การค้นพบโลกไม้มีจำนวนทั้งหมด 60 ฝา หรือประมาณ 30 โลง มีจำนวนคนอย่างน้อยที่สุด 116 โลง

วัฒนธรรมโลงไม้ เป็นวัฒนธรรมในยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยเหล็ก มีลักษณะการปลงศพที่โดดเด่น พบมากในบริเวณเทือกเขาหินปูนด้านตะวันตกของไทย โดยเฉพาะ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน

 

สำหรับท่านใดที่สนใจวัฒนธรรมโลงไม้ และภูมิปัญญาการทอผ้า สามารถเข้าชมได้ที่ ชั้น 2 ห้องยุคก่อนประวัติศาสตร์ก่อนการตั้งเมืองเชียงใหม่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน – 6 กุมภาพันธ์ 2566

ข่าวที่เกี่ยวข้อง