ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ครบรอบ 110 ปี โรงเรียนเพาะช่าง โรงเรียนศิลปะแห่งแรกของประเทศไทย

Logo Thai PBS
ครบรอบ 110 ปี โรงเรียนเพาะช่าง โรงเรียนศิลปะแห่งแรกของประเทศไทย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เปิดตำนานการเรียนศิลปะการช่าง ยุคบุกเบิกของประเทศไทย ที่เริ่มต้นตั้งแต่สมัยรัชกาล ที่ 6

ประเทศไทยมีสถาบันการศึกษาศิลปะหลายแห่ง และเป็นที่นิยมอย่างมากในยุคปัจจุบัน แต่ถ้าจะเล่านึกย้อนไปในอดีตเราเองก็คงนึกถึง โรงเรียนเพาะช่าง ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนศิลปะการช่างในประเทศไทย ที่มีประวัติยาวนานนับ 100 ปี ผลิตศิลปินมาแล้วแบบนับไม่ถ้วน แต่น้อยคนนักที่จะรู้จัก โรงเรียนเพาะช่าง เพราะด้วยชื่อของเพาะช่างแล้ว ก็มักจะเน้นไปทางช่างทั่วไป

เนื่องด้วย วันที่ 7 ม.ค.66 นี้ เป็นวันครบรอบ 110 ปี โรงเรียนเพาะช่าง ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยเพาะช่าง ที่ตั้งอยู่ ถนน ตรีเพชร เขตพระนคร ไทยพีบีเอสออนไลน์ขอใช้โอกาสนี้ ชวนทุกคนรู้จักประวัติโรงเรียนเพาะช่าง จากหนังสือ 100 ปีเพาะช่าง ที่ได้เขียนไว้ว่า "โรงเรียนเพาะช่าง" เกิดขึ้นตามราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  ที่ต้องการจะสร้างสถาบันการศึกษาด้านศิลปะการช่างของไทยขึ้น ด้วยการอนุรักษ์มรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมของชาติและให้มีการเรียนรู้ศาสตร์ศิลปะของชาวตะวันตกให้เท่าทันเพื่อนำความรู้เหล่านั้นมาพัฒนาศิลปะการช่างของไทยต่อไป แต่พระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการที่จะทำนุบำรุงศิลปะการช่างไทยยังไม่สำเร็จสมดั่งพระราชหฤทัยก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน

ภาพ : หนังสือ 100 ปี เพาะช่าง

ภาพ : หนังสือ 100 ปี เพาะช่าง

ภาพ : หนังสือ 100 ปี เพาะช่าง

ภาพ : หนังสือ 100 ปี เพาะช่าง

ภาพ : หนังสือ 100 ปี เพาะช่าง

ภาพ : หนังสือ 100 ปี เพาะช่าง

จนกระทั่งมาสำเร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยในวันที่ 7 มกราคม 2456  ทรงเสด็จเป็นประธานในพิธีเปิดและทรงพระราชทานชื่อว่า “โรงเรียนเพาะช่าง” ซึ่งมีความหมายว่า สถาบันที่เป็นแหล่งบ่มเพาะศิลปะการช่าง เป็นต้นกำเนิดแห่งศิลปวิทยา เพื่อผลิดอก ออกผล สร้างความเจริญงอกงามให้กับแผ่นดินด้วยงานศิลปะและมรดกทางวัฒนธรรมไทย ดังกระแสพระราชดำรัสในวันเปิดโรงเรียนเพาะช่างตอนหนึ่งว่า “ความเจริญในศิลปวิชาการช่างเป็นเครื่องวัดความเจริญชาติ”  ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ทรงดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาโรงเรียนเพาะช่าง เมื่อวันที่ 2  มิถุนายน 2462  และต่อมาทรงเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนเพาะช่างเมื่อวันที่ 13  มิถุนายน  2466 

ภาพ : หนังสือ 100 ปี เพาะช่าง

ภาพ : หนังสือ 100 ปี เพาะช่าง

ภาพ : หนังสือ 100 ปี เพาะช่าง

ภาพ : หนังสือ 100 ปี เพาะช่าง

ภาพ : หนังสือ 100 ปี เพาะช่าง

ภาพ : หนังสือ 100 ปี เพาะช่าง

นอกจากนี้โรงเรียนเพาะช่างยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์อีกหลายพระองค์ ที่ทรงเสด็จเยี่ยมชมกิจการและเปิดนิทรรศการศิลปะในโอกาสต่าง ๆ มาโดยตลอด กล่าวได้ว่าเป็นสถาบันศิลปะแห่งแรกของไทย โดยในระยะเริ่มต้นได้ดำเนินการจัดการศึกษาทั้งสายช่างศิลปกรรมและครูศิลปะซึ่งเทียบเท่าระดับอุดมศึกษาในปัจจุบัน

ภาพ : หนังสือ 100 ปี เพาะช่าง

ภาพ : หนังสือ 100 ปี เพาะช่าง

ภาพ : หนังสือ 100 ปี เพาะช่าง

ภาพ : หนังสือ 100 ปี เพาะช่าง

ภาพ : หนังสือ 100 ปี เพาะช่าง

ภาพ : หนังสือ 100 ปี เพาะช่าง

อ้างอิง : หนังสือ 100 ปีเพาะช่าง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง