วันนี้ (13 ก.พ.2566) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) GISTDA รายงานว่า ข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) ของระบบเวียร์ไทยพบจุดความร้อน (Hotspot) เมื่อวานนี้ (12 ก.พ.) จำนวน 3,097 จุด
ขณะที่จุดความร้อนของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เมียนมา ยังคงเป็นอันดับหนึ่งสูงถึง 3,372 จุด รองลงมา ลาว 2,113 จุด มพูชา 973 จุด
สำหรับจุดความร้อนในประเทศไทย ส่วนใหญ่สูงสุดพบในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 1,341 จุด ป่าสงวนแห่งชาติ 1,171 จุด พื้นที่เกษตร 223 จุด ชุมชนและอื่นๆ 180 จุด พื้นที่เขต ส.ป.ก. 168 จุด และริมทางหลวง 14 จุด
โดยจังหวัดที่พบจุดความร้อนมากที่สุดคือ จ.ตาก 524 จุด จ.เชียงใหม่ 407 จุด และจ.ลำปาง 365 จุด จากภาพแสดงให้เห็นว่าจุดความร้อนยังคงกระจายตัวอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ โดยเฉพาะภาคเหนือที่มีปริมาณจุดความร้อนมากกว่าภาคอื่นๆ คาดว่าน่าจะเกิดจากการเตรียมพื้นที่เพื่อการเกษตร หรือการเข้าไปหาของป่า
สิ่งหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวังที่มักจะมากับเหตุการณ์ไฟป่าและจุดความร้อนคือ PM 2.5 สถานการณ์การจุดความร้อนจากประเทศเพื่อนบ้านอาจส่งผลให้เกิด PM 2.5 ได้ในพื้นที่บริเวณชายแดน เนื่องจากได้รับอิทธิพจากประแสลมที่จะพัดผ่านเข้ามา ปัญหาไฟป่าหมอกควัน ส่งผลกระทบให้กับระบบต่างๆ ของประเทศมาโดยตลอด โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม
ข้อมูลจากเว็บไซต์ Air4Thai รายงานว่าเมื่อเวลา 15.00 น.คุณภาพอากาศ พื้นที่ภาคเหนือ โดยเฉพาะฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐานหลายจุด และมีผลกระทบต่อสุขภาพในระดับสีแดง ดังนี้
- ต.เวียงใต้ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน 124 มคก.ต่อลบ.ม.
- ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ 175 มคก.ต่อลบ.ม.
- ต.หางดง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ 129 มคก.ต่อลบ.ม.
- ต.เวียง อ.เชียงของ จ.เชียงราย 153 มคก.ต่อลบ.ม.
- ต.ธานี อ.เมือง จ.สุโขทัย 110 มคก.ต่อลบ.ม.
- ต.ลี้ อ.ลี้ จ.ลำพูน 148 มคก.ต่อลบ.ม.
- ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง 92 มคก.ต่อลบ.ม.
- ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง 98 มคก.ต่อลบ.ม.
- ต.พระบาท อ.เมือง จ.ลำปาง 148 มคก.ต่อลบ.ม.
- ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา 150 มคก.ต่อลบ.ม.
- ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน 119 มคก.ต่อลบ.ม.
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปภ.-กองทัพ ส่งฮ. 2 ลำโปรยน้ำดับไฟออบหลวงคุมฝุ่น PM2.5