ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

คณาจารย์-นักวิชารวมตัว ใช้"อารยะขัดขืน" ต้านมาตรฐาน "มคอ"

สังคม
7 ก.ย. 54
08:32
16
Logo Thai PBS
คณาจารย์-นักวิชารวมตัว ใช้"อารยะขัดขืน" ต้านมาตรฐาน "มคอ"

กลุ่มอาจารย์รวมตัว คัดค้านการควบคุมกำกับของ สกอ. ชี้ละเมิดเสรีภาพด้านวิชาการ เน้นปริมาณ มากกว่าคุณภาพ

 ขณะนี้มีการเคลื่อนไหวของคณาจารย์และนักวิชาการในมหาวิทยาลัยของรัฐ โดยร่วมลงชื่อเพื่อเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) ทบทวนทิศทางการปฏิรูปการอุดมศึกษาไทย และพิจารณายกเลิกการประกาศใช้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ มคอ. (TQF)

ทั้งนี้ ในการประชุมของคณาจารย์เมื่อ 24 สิงหาคม 2554 ที่มีการเคลื่อนไหวปฏิเสธ TQF ของสกอ. มีรายละเอียดดังนี้ คือ
 
1. คณาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทุกคนได้ปฏิเสธการเขียน มคอ. 3 แล้ว เพื่อเป็นการแสดง "อารยะขัดขืน" ต่อ สกอ. โดยต้องการชี้ให้เห็นว่าเป็นการใช้อำนาจในการควบคุมกำกับของสกอ.ที่ละเมิดต่อเสรีภาพในการสอนของอาจารย์ลงไปในระดับกระบวนวิชา และซ้ำซ้อนกับการดูแลของมหาวิทยาลัยที่มีระบบในตัวเองอยู่แล้ว
 
2. ทางเครือข่ายคณบดีคณะรัฐศาสตร์ทั่วประเทศ นำโดยคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันหาแนวทางในการกำกับดูแลคุณภาพการเรียนการสอนด้านรัฐศาสตร์ โดยเตรียมค้นหากรอบคุณภาพของสาขาวิชา ไม่ใช่ "กรอบมาตรฐาน" ที่ถูกสร้างขึ้นโดยสกอ. และวัดในเชิงตัวเลขปริมาณ มากกว่าคุณภาพ และการสร้างเครื่องมือวัดผลหรือประเมินการดำเนินงาน (KPI) เหล่านั้นไม่ตรงกับความต้องการของสาขาวิชา
 
3. คณบดีสายสังคมศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ตั้งเครือข่ายคณบดีสายสังคมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยขึ้นมา เพื่อหารือแนวทางในการดูแล "คุณภาพทางวิชาการ" งานวิจัยและอื่นๆ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของงานความรู้ทางสายสังคมศาสตร์
 
4 ข้อมูลจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเครือข่ายทางสายวิศวกรรม (ซึ่งได้ผลิต มคอ.1 และต่อเนื่องไปยัง มคอ. 2 เพื่อเขียนหลักสูตร ตลอดจนได้ออกแบบระบบคอมฯ เพื่อให้เขียน มคอ. 3 ได้) กำลังเกิดความโกลาหล  เนื่องจากเกิดสถานการณ์การ copy and paste ขึ้น เพื่อให้พ้นๆ ไปจากการต้องกรอกข้อมูลเอกสารอะไรต่างๆ มากมาย ตามที่สกอ.กำหนด

ในแง่นี้คณาจารย์ทางสายวิศวกรรมศาสตร์ได้เริ่มตั้งคำถามกับตัวเองว่า ในฐานะคณาจารย์ซึ่งสั่งสอนนักศึกษาให้มีคุณธรรม จริยธรรมต่อการทำงาน แต่กลับต้องมาเผชิญกับสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก และสุดท้ายต้อง copy and paste ให้มันพ้นๆ ไป สิ่งเหล่านี้จะทำให้อาจารย์สอนลูกศิษย์ได้อย่างไร
 
 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง