ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"โรม" ยื่น ก.ต. ตรวจสอบ 3 ผู้พิพากษาเพิกถอนหมายจับ ส.ว.คนดัง

การเมือง
8 มี.ค. 66
12:01
1,694
Logo Thai PBS
"โรม" ยื่น ก.ต. ตรวจสอบ 3 ผู้พิพากษาเพิกถอนหมายจับ ส.ว.คนดัง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ส.ส. พรรคก้าวไกล "รังสิมันต์ โรม" ยื่นหนังสือ ก.ต. ให้ตรวจสอบ 3 ผู้พิพากษา ที่มีส่วนในการพิจารณา เพิกถอนหมายจับ ส.ว.คนดัง ในคดีสมคบกันฟอกเงิน

วันนี้ (8 มี.ค.2566) นายรังสิมันต์ โรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล เดินทางมายื่นหนังสือถึงคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม หรือ ก.ต. เพื่อให้ตรวจสอบ ผู้พิพากษาที่พิจารณาเพิกถอนหมายจับ ส.ว.คนดัง พร้อมขอให้มีการตรวจสอบ 3 คนที่เป็นผู้มีส่วนในการพิจารณาเพิกถอนหมายจับดังกล่าว

สืบเนื่องจาก กลางเดือน ก.ย.2565 ตำรวจปราบปรามยาเสพติด ปฏิบัติการบุกตรวจค้นในคอนโดแห่งหนึ่งกลางสุขุมวิทและจับกุมผู้ต้องหาฐานสมคบกันกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและการฟอกเงิน ซึ่งผู้ต้องหาคนดังกล่าวเป็นลูกเขยของ ส.ว.คนดัง

เป็นเหตุให้ต่อมา ตำรวจปราบปรามยาเสพติดมีการร้องขอให้ศาลออกหมายจับ ส.ว.ดังกล่าว ในความผิดฐานสมคบกันฟอกเงิน ในวันที่ 3 ต.ค.2565 แต่ภายในวันเดียวกันนั้น กลับมีการพิจารณาเพิกถอนหมายจับ จากนั้นพนักงานสอบสวนในคดีได้ออกเป็นหมายเรียกแทน ลงวันที่ 4 ต.ค.2565

นายรังสิมันต์ โรม ระบุว่า การออกหมายจับแล้วพิจารณาเพิกถอนหมายจับภายในวันเดียวกัน ถือว่า เป็นเรื่องที่ไม่ปกติ ไม่ว่าจะเป็นการเพิกถอนด้วยเหตุผลใดก็ตาม

พร้อมอ้างถึง "การเขียนคำอธิบายกำกับในคำสั่งถอนหมายจับ ของผู้พิพากษา ที่ระบุ ว่า เป็นบุคคลสำคัญขอให้ออกหมายเรียกก่อน" ซึ่งเหตุผลนี้ไม่มีระบุเอาไว้ในกฎหมาย

คำร้องวันนี้นอกจากขอให้ตรวจสอบผู้พิพากษาทั้ง 3 คนแล้วยังมีข้อมูลหลักฐานที่สำคัญมายื่นต่อองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการ

นายรังสิมันต์ โรม กล่าวถึง การออกหมายเรียกด้วยว่า หลังศาลพิจารณาเพิกถอนหมายจับได้เขียนกำกับเอาไว้ด้วยว่า ให้พนักงานสอบสวนออกหมายเรียกภายใน 15 วัน เมื่อตรวจสอบก็พบว่า พนักงานสอบสวนไม่มีการออกหมายเรียก ส.ว. กระทั่งเข้าสู่ การเปิดสมัยประชุมสภา ซึ่งเมื่อเข้าสู่สมัยประชุม จะมีกฎหมายความคุ้มกันของสมาชิกรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญู แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 125 วรรค 1 ซึ่งบัญญัติว่า

“ในระหว่างสมัยประชุม ห้ามมิให้จับกุม คุมขังหรือหมายเรียกตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือ สมาชิกวุฒิสภาไปทำการสอบสวนในฐานะที่สมาชิกผู้นั้นเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา เว้นแต่จะได้รับ อนุญาตจากสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก หรือเป็นการจับในขณะกระทำความผิด”

นายรังสิมันต์ โรม ยังกล่าวด้วย โดยหลักกฎหมายแล้วคดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดหรือการฟอกเงินที่มีท็อปสูงพนักงานสอบสวนไม่มีความจำเป็นที่จะต้องออกหมายเรียกสามารถออกหมายจับได้เลย

ซึ่งเรื่องที่เกิดขึ้น ส่วนตัวมีความเห็นว่า มีปัญหาในเรื่องความถูกต้องของกระบวนการยุติธรรม

นอกจากนี้นายรังสิมันต์ โรม ยังมีแผนเดินทางไปยื่นข้อมูลกลุ่มจีนเทา อันเกี่ยวเนื่องกับนายตู้ห่าว ซึ่งรวมไปถึงกรณีของหลานชายของนายกรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องกับนายตู้ห่าวให้กับสำนักงานอัยการสูงสุด ด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง