ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ไขคำตอบ! ผู้รับสารซีเซียม-137 มียารักษาหรือไม่

Logo Thai PBS
ไขคำตอบ! ผู้รับสารซีเซียม-137 มียารักษาหรือไม่
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ไขคำตอบ! ผู้รับสารซีเซียม-137 ยังไม่มียารักษาโดยตรง ในไทยไม่มี "ยาปรัสเซียนบลู" ที่ใช้กินเป็นยาแก้พิษจากโลหะหนักบางชนิดเช่น แทลเลียม-ซีเซียม-137 ด้าน รพ.นพรัตนราชธานี เตรียมรองรับกลุ่มเสี่ยง

วันนี้ (20 มี.ค.2566) ศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เพจเฟซบุ๊ก  Weerachai Phutdhawong ระบุถึงกรณีตรวจพบโรงงานหลอมเหล็กแห่งหนึ่งในจ.ปราจีนบุรี อาจมีการหลอมแท่งเหล็กบรรจุสารซีเซียม-137 ไปแล้ว และกลายเป็นฝุ่นแดงที่พบมีค่ารังสี 

โดยอาจารย์อ๊อด ระบุว่า เตรียมไว้เลย ผ่อนหนักให้เป็นเบา "ยาปรัสเซียนบลู" ในทางการแพทย์ ยาปรัสเซียนบลู ที่ใช้รับประทานเป็นยาแก้พิษ สำหรับพิษจากโลหะหนักบางชนิดเช่น โดยแทลเลียม (I) และไอโซโทปกัมมันตภาพรังสีของซีเซียม-137

"ซีเซียม" สามารถทำปฏิกิริยากับน้ำและกลายเป็นซีเซียมไฮดรอกไซด์ (caesium hydroxide) ซึ่งเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำ ซีเซียมมีคุณสมบัติในทางชีววิทยาคล้ายกับโปแตสเซียม (potassium) และรูบิเดียม (rubidium)

เมื่อเข้าไปในร่างกาย ซีเซียมจะกระจายไปทั่วร่างกาย โดยมีความเข้มข้นสูงที่กล้ามเนื้อและกระดูก ซีเซียม มีครึ่งชีวิตทางชีววิทยาประมาณ 70 วัน จากการทดลองในสุนัข เมื่อได้รับซีเซียมในครั้งเดียว จำนวน 3800 ไมโครคูรีต่อกิโลกรัม (mCi/kg) (คิดเป็นซีเซียม-137 จำนวน 44 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม) สุนัขนั้นตายลงภายใน 3 สัปดาห์

ถ้าบังเอิญได้รับซีเซียม-137 เข้าไปในร่างกาย ควรรับประทานปรัสเซียนบลู (Prussian blue) ซึ่งจะไปทำปฏิกิริยาเคมีโดยจับกับซีเซียม ทำให้ขับออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น

ไทยพีบีเอสออนไลน์ ตรวจสอบจากแหล่งข่าวระบุว่าในเมืองไทย ยังไม่มี "ยาปรัสเซียนบลู" แต่หลังจากเกิดเคสปราจีนบุรี ทางกระทรวงสาธารณสุข เตรียมทางประสานกับทางผู้เกี่ยวข้องจะนำเข้าอย่างไร แต่ย้ำว่าไม่ใช่ว่าทุกคนที่เสี่ยงต้องกินยาตัวนี้ ยกเว้นคนที่รับสารปนเปื้อนเข้าไปในร่างกาย 

กลุ่มอาการสัมผัสซีเซียม-137

ข้อมูลจากสำนักงานปรมาณูพื่อสันติ (ปส.) รายงานข้อมูลกรณีซีเซียม-137 ที่หายจากโรงไฟฟ้าพลังงานไอน้ำ จ.ปราจีนบุรี ระบุว่า มีลักษณะเป็นของแข็ง คล้ายผงเกลือ สามารถฟุ้งกระจายได้เมื่อแตกออกจากที่ห่อหุ้มไว้ ถูกนำมาใช้งานต่างๆ เช่น ในอุปกรณ์วัดความชื้น วัดอัตราการไหลของเหลว วัดความหนาวัสดุ เป็นต้น

โดยจะสลายตัวใหรังสีบีตา และแกมมาที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพได้โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสรังสีปริมาณมากแบบทั้งร่างกายทำให้เกิดความผิดปกติ
จากการได้รับรังสีสูงแบบเฉียบพลัน

ลักษณะอาการแบ่งเป็น 3 กลุ่มอาการ

ระบบผลิตเลือด ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาทกลาง กรณีที่ได้รับรังสีบางส่วนร่างกายหรือปริมาณไม่สูงทำให้เกิดอาการด้านผิวหนัง จากรังสีการได้รับปริมาณรังสีที่แผ่ออกมา จากซีเซียม-137 เป็นระยะเวลาสั้นๆ จะไม่ส่งผลให้เกิดอันตรายที่เห็นผลชัดเจนในทันทีแต่อย่างใด แต่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงที่สูงขึ้นในการเกิดโรคมะเร็งได้ หากมีการชำแหละส่วนกล่องโลหะอาจทำให้รังสีมีการการสัมผัส และการปนเปื้อนรังสีมากขึ้นได้

เมื่อสงสัยว่าสัมผัสปนเปื้อนรังสี การลดการปนเปื้อนซึ่งทำได้ทั้งแบบแห้ง เช่น การปัดออก เปลี่ยนเสื้อผ้า แบบเปียก โดยการล้างด้วยน้ำ เพื่อเป็นการปกป้องผู้สัมผัส บุคลกรทางการแพทย์และสถานที่

หากผู้ใดมีอาการสงสัยจากการสัมผัสรังสี เช่นผื่นแดงตามผิวหนัง ผมร่วง แผลเปื่อย คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย รวมทั้งการเข้าใกล้หรือสัมผัสวัตถุต้องสงสัย ให้รีบประสาน อสม.หรือพบแพทย์ที่สถานพยาบาล พร้อมทั้งแจ้งความเสี่ยงสัมผัสต่อเจ้าหน้าที่

เตรียมมอนิเตอร์คนงาน 70 ชีวิต-เจาะเลือด

ไทยพีบีเอสออนไลน์สัมภาษณ์ นพ.กิติพงษ์ พนมยงค์ แพทย์ด้านอาชีวเวช ศาสตร์ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้ทางโรงพยาบาลฯเตรียมความพร้อมในการรองรับผู้ป่วยจากการรับสารซีเซียม-137 ซึ่งขณะนี้ยังเป็นการสอบสวนโรคในพื้นที่ของกรมควบคุมโรค

เบื้องต้นจะมีการสอบสวนกลุ่มเสี่ยงในการสัมผัสสาร 70 คนงานจากโรงงานหลอมเหล็ก โดยการเจาะเลือดตรวจ ปัสสาวะ เบื้องต้นวิธีการตรวจสแกนจากเครื่องวัดรังสี การเปรอะเปื้อนทางการร่างกายว่ามีกัมมันตรังสีในร่างกายผิวหนังหรือไม่

พนักงานทั้ง 70 คน ต้องแบ่งระดับความเสี่ยงของคน แต่สธ.กำชับให้เจาะเลือดทุกคน ติดตามสแกนทุกคน เฝ้าระวัง ซึ่งค่ารังสีที่เปรอะเปื้อนตามร่างกาย ประชาชนถ้าโดนรังสีทั้งตัวไม่เกิน 1 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี แต่ถ้าสำหรับผู้ปฏิบัติงานทางรังสีคือ 20 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยืนยันถูกหลอมแล้ว แท่งเหล็กบรรจุ "ซีเซียม-137" ตรวจเลือดกลุ่มเสี่ยง

ปส.เตือน "ซีเซียม-137" สุดอันตราย อย่าผ่าท่อ ปูพรมร้านของเก่า

ยืนยันถูกหลอมแล้ว แท่งเหล็กบรรจุ "ซีเซียม-137" ตรวจเลือดกลุ่มเสี่ยง

ย้อนไทม์ไลน์ แจ้ง-ค้นหาวัตถุกัมมันตรังสี "ซีเซียม-137"

อันตราย? "ซีเซียม-137" ถูกหลอมเป็นฝุ่นแดง คน-ระบบนิเวศเสี่ยง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง