ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

“แพลงก์ตอนบลูม” ทำปลาตายเกลื่อน “หาดทุ่งวัวแล่น” ชุมพร

สิ่งแวดล้อม
22 มิ.ย. 66
15:41
1,800
Logo Thai PBS
“แพลงก์ตอนบลูม” ทำปลาตายเกลื่อน “หาดทุ่งวัวแล่น” ชุมพร
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ปรากฏการณ์ “แพลงก์ตอนบลูม” ทำปลาตายเกลื่อนหาดทุ่งวัวแล่น จ.ชุมพร ชาวบ้านนับร้อยแห่เก็บกิน ขาย ทำปุ๋ยหมัก ใช้ในการเกษตร ประมงอำเภอระบุเกิดจากน้ำทะเลเปลี่ยน เพราะแพลงตอนบูม เตือนชาวบ้านอย่านำไปกิน

วันนี้ (22 มิ.ย.2566) นายวัชรินทร์ สุวพิศ ปลัด อบต.สะพลี อ.ปะทิว จ.ชุมพร นายบุญญวัฒน์ ทองหอม ประมงอำเภอปะทิว เจ้าหน้าที่ ศรชล.ชุมพร ลงตรวจสอบบริเวณริมหาดทุ่งวัวแล่น หมู่ 8 ต.สะพลี อ.ปะทิว จ.ชุมพร แหล่งเที่ยวขึ้นชื่ออันดับหนึ่งของจังหวัด

พบชาวบ้านนับร้อยคน นำภาชนะลงไปเก็บปลาที่ลอยมาตายอยู่บนชายหาดจำนวนมาก ตลอดชายหาดร่วม 10 กิโลเมตร มองดูขาวโพลนไปด้วยปลาหลากหลายชนิด ทั้งปลาตัวเล็ก ปลาตัวใหญ่ ปูม้า รวมทั้งกุ้งแชบ๊วย หรือกุ้งทะเล

ชาวบ้านบอกว่า มาเก็บไปกินและแล่เนื้อขาย เพราะปรากฏการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นทุกปี หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ปลาตายน้ำแดง” และมาเก็บไปกินไปขายทุกครั้ง ถือว่าเป็นเรื่องปกติและไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด

นางวันเพ็ญ ปรีชามาตร์ อายุ 60 ปี พร้อมครอบครัว เดินทางมาจากพื้นที่หมู่ 4 ต.ถ้ำสิงห์ อ.เมือง จ.ชุมพร เปิดเผยว่า รู้ข่าวตั้งแต่เมื่อคืนว่ามีปลาตายน้ำแดง ซึ่งปลาจะตายในช่วงนี้ทุกปี ตนไม่เก็บไปกิน แต่นำปลาที่ตายทั้งหมดไปทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ไว้ใช้ในการเกษตรในสวนทุเรียนและพืชผักอื่น ๆ โดยผสมตามสูตรของตน ใช้รดพืชผัก ต้นไม้ได้ดีมาก และยังเก็บไว้ได้นานอีกด้วย

ด้านนายบุญญวัฒน์ ทองหอม ประมงอำเภอปะทิว กล่าวว่า ได้รับแจ้งจากชาวประมงว่า ปรากฎการณ์นี้เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อคืน ซึ่งชาวบ้านเรียกว่าปลาตายน้ำแดง หรือน้ำทะเลเปลี่ยนสี ทำให้เกิดปรากฏการณ์แพลงตอนบูมกระจายเป็นวงกว้าง จนออกซิเจนในน้ำมีน้อย

อีกทั้งเมื่อเกิดแพลงตอนมาก ๆ มีความหนาแน่น ก็จะเข้าไปขัดขวางการหายใจของปลาที่บริเวณเหงือกด้วย ทำให้ปลาขาดออกซิเจนแล้วพยายามดิ้นเข้าชายฝั่งและก็ตาย

นายบุญญวัฒน์กล่าวว่า ตนขอประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านที่มาเก็บปลา อย่านำไปบริโภค เพราะยังไม่ทราบว่า เป็นแพลงตอนชนิดใด จะเป็นอันตรายกับผู้บริโภคหรือไม่ ซึ่งได้ประสานให้ศูนย์วิจัยประมงชายฝั่งฯ มาเก็บน้ำและปลาตัวอย่างไปตรวจสอบแล้ว ซึ่งต้องรอผลตรวจว่าเป็นแพลงตอนชนิดไหน เพราะบางชนิดกินได้ บางชนิดกินไม่ได้ แต่ถ้านำไปทำปุ๋ยหมักไม่มีปัญหา

อ่านข่าวอื่นๆ

กรมศิลป์ฯยัน "พระปรางค์-มณฑปเอียง" วัดอรุณฯ ไม่กระทบโครงสร้าง

“ชลน่าน” มั่นใจหาตัว “ประธานสภาฯ” จบก่อนประชุมนัดแรก

นับถอยหลังค้นหาเรือดำน้ำ "ไททัน" ก่อนออกซิเจนหมดเย็นนี้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง