วันนี้ (14 ก.ค.2566) นายบรรจง พรมจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการบริหารจัดการแหล่งซากดึกดำบรรพ์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากกองคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์และสำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 1 เข้าตรวจสอบแหล่งซากดึกดำบรรพ์หอยขมแม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง
โดยอยู่ในขั้นตอนเตรียมการขึ้นทะเบียนซากดึกดำบรรพ์ พื้นที่ 52 ไร่ โดยเป็นแหล่งที่มีความสำคัญตามประกาศหลักเกณฑ์การประกาศเป็นแหล่งซาก ดึกดำบรรพ์ที่ขึ้นทะเบียน ข้อ 1(3) เป็นแหล่งซากดึกดำบรรพ์ที่มีจำนวนของซากดึกดำบรรพ์ในมิติของความ กว้าง ยาว หรือ หนามากที่สุด เท่าที่ค้นพบในแต่ละภูมิภาคหรือในประเทศไทย
พบมีชั้นความหนา 12 เมตรกว้าง 90เมตรกินพื้นที่ 22 ไร่ในเมืองแม่เมาะ ปัจุบันกันพื้นที่ 52 ไร่
พบมีคุณค่าโดเด่นระดับโลกอายุ 13 ล้านปี
นายปรีชา สายทอง ผอ.กองคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ กรมทรัพยากรธรณี ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ว่า ความสำคัญที่ต้องประกาศคุ้มครองแหล่งซากดึกดำบรรพ์ หอยขมแม่เมาะ 13 ล้านปี ซึ่งถือว่าโดดเด่นในระดับโลก
เนื่องจากเป็นหอยน้ำจืดสกุล Bellamya sp. มีขนาดเล็กต่างกันตั้งแต่ 1-2 ซม.ใหญ่สุด 5-6 ซม.เป็นลักษณะการตายหมู่มีอายุ 13 ล้านปี มีชั้นความหนา 12 เมตร กว้าง 90 เมตรบนพื้นที่ 22 ไร่
ทั้งนี้พบว่ามีลักษณะ สะสมตัวต่อเนื่องโดยไม่มีชั้นดินแทรกสลับ ชั้นหอยขมแสดงลักษณะเป็นชั้นสลับกันระหว่างชั้นหอยที่แตกหักกับชั้นหอยที่มีรูปทรงสมบูรณ์ ชั้นหอยมีทิศทางการเอียงเทไปทางประมาณทิศตะวันออกเฉียงใต้ด้วยมุมเท 20 องศา
นายปรีชา กล่าวว่า สำหรับพื้นที่ดังกล่าว เดิมการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประ เทศไทย (กฟผ.) ขอใช้ประโยชน์พื้นที่กับกรมป่าไม้ ในการทำเหมืองลิกไนต์แม่ เมาะ จนกระทั่งพบว่ามีแหล่งหอยขมแม่เมาะอยู่ 52 ไร่ ต่อมาทาง กฟฝ.ทำเรื่องคืนพื้นที่ 52 ไร่ให้กับกรมป่าไม้ ซึ่งเพิ่งมีการกันพื้นที่ออกจากเหมืองลิกไนต์เมื่อปลายปี 2565
กรมทรัพยากรธรณี เข้าตรวจสอบแหล่งหอยแม่เมาะ 13 ล้านปี พบมีคุณค่าตามเกณฑ์แหล่งซากดึกดำบรรพ์
โดยกรมทรัพยากรธรณี เข้าไปร่วมดำเนินการ แต่ยังไม่ได้ประกาศเป็นแหล่งซากดึกดำบรรพ์ แต่ได้มีกระบวนการมาและคาดว่าปลายปีนี้จะประกาศเป็นแหล่งที่ 24 ของพื้นที่คุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ของไทย และเป็นแห่งที่ 2 ประเภทแหล่งหอยหลังจากเคยประกาศคุ้มครองที่สุสานหอยแหลมโพธิ์ จ.กระบี่
ส่วนข้อกังวลเรื่องการขุดลิกไนต์ จะกระทบกับจุดที่พบซากหรือไม่ นายปรีชา ยืนยันว่า ก่อนหน้านี้ กฟผ.ไม่ได้ประโยชน์กับแหล่งหอยขมแม่เมาะ จ.ลำปางมาตั้งแต่มีการฟ้องร้องมาตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปี 2561
สำหรับประเทศไทยมีการประกาศขึ้นทะเบียนแหล่งซากดึกดำบรรพ์ ภายใต้พ.ร.บ.คุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ.2551 เพื่อคุ้มครองพื้นที่มาแล้ว 22 แห่งครอบคลุมแหล่งซากไดโนเสาร์ในพื้นที่ จ.ขอนแก่น กาฬสินธุ์ แหล่งไม้กลายเป็นหิน จ.ตาก แหล่งแบรคิโอพอดอ่าวน้ำ จ.กระบี่ เป็นต้น และอยู่ระหว่างดำเนินการอีก 2 แห่งรวมทั้งกรณีแหล่งหอยขมแม่เมาะ 13 ล้านปี